สถานการณ์ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปประจำสัปดาห์ที่ 18-22 ก.ย. 60 และแนวโน้มสัปดาห์ที่ 25-29 ก.ย. 60 โดยส่วนวิเคราะห์ตลาดต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 25, 2017 14:26 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--ปตท. ราคาน้ำมันเฉลี่ยรายสัปดาห์ผันผวน โดยราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (Brent) เพิ่มขึ้น 1.17 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 56.04 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบเวสท์เท็กซัสฯ (WTI) เพิ่มขึ้น 1.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 50.26 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และราคาน้ำมันดิบดูไบ (Dubai) เพิ่มขึ้น 1.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 54.31 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในส่วนของราคาน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้น 0.64เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 68.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดี ราคาน้ำมันเบนซินออกเทน 95 ลดลง 0.48 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 70.16 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก - Baker Hughes Inc. รายงานจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมัน (Rig) ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 22 ก.ย. 60 ลดลง 5 แท่นจากสัปดาห์ก่อน มาอยู่ที่ 744 แท่น ลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือน ม.ค. 60 - ผู้ค้าน้ำมันคาดการณ์ที่ประชุมของประเทศผู้ผลิตน้ำมัน มีแนวโน้มขยายกรอบเวลาข้อตกลงควบคุมการผลิตน้ำมันดิบ (เดิมจะสิ้นสุดเดือน มี.ค. 61) ออกไปอีก 3-4 เดือน และบางประเทศต้องการขยายไปถึงสิ้นปี พ.ศ. 2561 ขณะที่อิรักและเอกวาดอร์เห็นว่าควรลดปริมาณการผลิตเพิ่มเติม ประกอบกับ คณะกรรมการร่วมทางเทคนิค (Joint Technical Committee) รายงาน Compliance Rate เดือน ส.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน22% อยู่ที่ระดับ 116% - The Joint Organizations Data Initiative (JODI) รายงานซาอุดิอาระเบียส่งออกน้ำมันดิบ เดือน ก.ค. 60ลดลงจากเดือนก่อน 200,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 6.69 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันลดลงจากเดือนก่อน 60,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 10.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน - อุปสงค์น้ำมันดิบในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากโรงกลั่นบริเวณชายฝั่งสหรัฐฯ (U.S. Gulf Coast) กลับมาดำเนินการ หลังจากได้รับผลกระทบจากเฮอริเคน Harvey และ Irma ในช่วงฤดูมรสุม อาทิ โรงกลั่น Deer Park(กำลังการกลั่น 325,700 บาร์เรลต่อวัน) ที่กลับมาดำเนินการหลังจากหยุดดำเนินการไปกว่า 3 สัปดาห์ - 20 ก.ย. 60 ที่ประชุม FOMC ของสหรัฐฯ มีมติคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.00-1.25% อย่างไรก็ดี FED มีแนวโน้มพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกหนึ่งครั้งในปีนี้ อนึ่ง FED มีแผนลดการถือครองทรัพย์สินวงเงิน 4.5ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 60 ทั้งนี้การที่ FED ไม่ปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนในตลาดน้ำมัน - Commodity Futures Trading Commission (CFTC) ของสหรัฐฯ รายงานสถานะการลงทุนของสัญญาน้ำมันดิบ WTI ในตลาดซื้อขายล่วงหน้า NYMEX ที่นิวยอร์กและ ICE ที่ลอนดอนสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 19 ก.ย. 60กลุ่มผู้จัดการกองทุนปรับสถานะการซื้อสุทธิ (Net Long Positions) เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 48,946 สัญญา มาอยู่ที่ 229,932 สัญญา ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ - Energy Information Administration (EIA) คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันจากชั้นหินดินดาน (Shale Oil) ใน 7 แหล่งผลิตหลักของสหรัฐฯ เดือน ต.ค. 60 จะเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 80,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 6.09 ล้านบาร์เรลต่อวัน - EIA รายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน730,000 บาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยแหล่งผลิตที่รับผลกระทบจากเฮอริเคน Harveyกลับมาดำเนินการได้ ใกล้เคียงระดับก่อนประสบเหตุวาตภัย ที่ 9.53 ล้านบาร์เรล ต่อวัน - Reuters รายงานเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่หน่วย Coker Feed Tank ของ Coker Unit (ขนาด 100,000 บาร์เรลต่อวัน) ที่โรงกลั่น Port Arthur (กำลังการกลั่น 335,000 บาร์เรลต่อวัน) ของบริษัท Valero Energy Corp. ส่งผลให้โรงกลั่นต้องปิดดำเนินการ CDU และ และหน่วยผลิตอื่นๆ ทั้งนี้โรงกลั่นปิดดำเนินการ เพื่อป้องกันผลกระทบจากเฮอริเคน Harvey ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค. 60 และกลับมาเดินเครื่องกลั่นน้ำมันหน่วยผลิตทั้งหมดทุกหน่วยวันที่ 16-17 ก.ย. ที่ผ่านมาแต่ทว่าประสบเหตุเพลิงไหม้ - EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4.6 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 472.8 ล้านบาร์เรล แนวโน้มราคาน้ำมันดิบ ราคาน้ำมันดิบปิดตลาดปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังผลการประชุม Joint Ministerial Monitoring Committee(JMMC) ของสมาชิก OPEC และ Non-OPEC ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 22 ก.ย. 60 ที่ผ่านมา เป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะมีการพิจารณาขยายมาตรการลดปริมาณการผลิต โดยนายAlexander Novak รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานของรัสเซีย เผยว่าที่ประชุมจะตัดสินใจในเดือน ม.ค. 61เกี่ยวกับการขยายเวลาในการลดกำลังการผลิต จากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.ค. 61 อย่างไรก็ตามรัฐมนตรีจากประเทศอื่น อาทิ นาย Essam al-Marzouq รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของคูเวต และ นาย Eulogio Del Pino รัฐมนตรีว่าการกระทรวงน้ำมันของเวเนซุเอลา ซึ่งเข้าร่วมประชุมคาดว่าจะตัดสินใจเกี่ยวกับมาตรการขยายเวลา หรือลดกำลังการผลิตเพิ่มเติมเร็วกว่านั้น โดยอาจจะตัดสินใจในการประชุมวันที่ 30 พ.ย.60 นอกจากนี้นาย Essam al-Marzouq ยังกล่าวว่าการลดอุปทานอย่างต่อเนื่องจะช่วยลดปริมาณน้ำมันดิบสำรองของโลก และมองว่าตลาดกำลังอยู่ระหว่างการปรับสมดุลใหม่ นอกจากนี้ที่ประชุมจะยังคงจับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ และจะทบทวนปริมาณการส่งออกของประเทศในกลุ่ม ประกอบกับจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันในสหรัฐฯ ที่ลดลงต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 3 อาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ เริ่มชะลอตัว ซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันในระยะต่อไป อย่างไรก็ตามจากคาดการณ์ของ EIA ในระยะสั้น ที่คาดว่าปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในเดือน ต.ค. 60 จะเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 6.09 ล้านบาร์เรลต่อวัน อาจส่งผลให้ราคาน้ำมันไม่ขยับเพิ่มขึ้นมากนักจากระดับปัจจุบัน ให้จับตาอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ไตรมาสที่ 2/60 ของสหรัฐฯ ที่จะประกาศในวันที่ 28 ก.ย. 60 ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 54.5-58.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล และน้ำมันดิบ NYMEX WTI อยู่ในกรอบ 49.0-52.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ราคาน้ำมันดิบ Dubai จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 53.0-56.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันเบนซิน ราคาเฉลี่ยน้ำมันเบนซินปรับลดลง จากสำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics -NBS) รายงานปริมาณการผลิตเดือน ส.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.3% อยู่ที่ 91.63 ล้านบาร์เรล และ EIAรายงานอุปสงค์น้ำมันเบนซินของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 15 ก.ย. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 178,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 9.44 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประกอบกับ Pemex บริษัทน้ำมันแห่งชาติของเม็กซิโกแถลงว่าเหตุแผ่นดินไหวมิได้ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงกลั่นมีเพียงเล็กน้อย และมีการเก็บสำรองในคลังเพียงพอ ด้านปริมาณสำรองน้ำมัน International Enterprise Singapore(IES) รายงานปริมาณสำรอง Light Distillates เชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ก.ย. 60 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 270,000 บาร์เรล มาอยู่ที่ 11.55 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 2 สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม EIA รายงานอัตราการกลั่นบริเวณ Gulf Coast ของสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 อยู่ที่เพียง 73.0% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 92.2% จากผลกระทบของพายุ Harvey และ ING ประเมินว่าผลกระทบจากการที่โรงกลั่นน้ำมันบริเวณ Gulf Coast ของสหรัฐฯ หยุดดำเนินการทำให้สหรัฐฯ นำเข้าน้ำมันเบนซิน จากยุโรปเพิ่มขึ้น เห็นได้จากจำนวนเที่ยวเรือส่งมอบน้ำมันสำเร็จรูป (ส่วนใหญ่เป็น น้ำมันเบนซิน และส่วนผสม) สิ้นสุดวันส่งมอบที่23 ก.ย. 60 มีถึง 66 ลำ เทียบกับเดือนก่อนหน้าเพียง 40 ลำ ประกอบกับ EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันเบนซินเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 2.1 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่216.2 ล้านบาร์เรล ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันเบนซิน จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 68.5-72.0 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล สถานการณ์ราคาน้ำมันดีเซล ราคาเฉลี่ยน้ำมันดีเซลปรับเพิ่มขึ้นจาก Bureau of Energy ของไต้หวันรายงานอุปสงค์น้ำมันดีเซลเดือน ก.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 9.1 % อยู่ที่ 112,000 บาร์เรลต่อวัน และ บริษัทเดินเรือ Maersk เห็นว่าการใช้ น้ำมันดีเซล 0.5 %S ในการเดินเรือตามข้อบังคับของ IMO คุ้มค่ากว่าการใช้น้ำมันเตาควบคู่กับ Scrubber(ระบบจับกำมะถันจากการเผาไหม้บริเวณปล่องควันของเรือ) ซึ่งมีต้นทุนติดตั้งประมาณ 5-10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อลำ และค่า Operation อีก 400,000 เหรียญสหรัฐฯ ต่อลำต่อปี ประกอบกับบริษัท West Pacific Petrochemical Corp. (Wepec) ของจีน รายงานแผนการลดปริมาณการส่งออกน้ำมันดีเซล ในเดือน ก.ย. 60ลดลงจากเดือนก่อน 1.95 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 450,000 บาร์เรล เนื่องจากได้รับการจัดสรรโควต้าการส่งออกอยู่ในระดับต่ำ อีกทั้ง IES รายงานปริมาณสำรอง Middle Distillates เชิงพาณิชย์ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 20 ก.ย. 60ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 1.60 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 11.16 ล้านบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 9 สัปดาห์ และ EIAรายงานปริมาณสำรอง Distillates เชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 15 ก.ย. 60 ลดลงจากสัปดาห์ก่อน 5.7 ล้านบาร์เรล มาอยู่ที่ 138.9 ล้านบาร์เรล ลดลงมากกว่าที่ผลสำรวจนักวิเคราะห์โดย Reuters คาดการณ์กว่า 3 เท่า และเป็นการลดลงมากที่สุดในรอบเกือบ 6 ปี อย่างไรก็ตาม National Bureau of Statistics(NBS) ของจีนรายงานปริมาณการผลิตน้ำมันดีเซล เดือน ส.ค. 60 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.8% อยู่ที่ 110.9 ล้านบาร์เรล ทางด้านเทคนิคในสัปดาห์นี้คาดว่าราคาน้ำมันดีเซล จะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 66.0-69.5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ