งานวิจัยชิ้นใหม่ระบุว่า 87% ของบริษัทในเอเชียแปซิฟิก เชื่อว่าอินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (IoT) มีความสำคัญต่ออนาคตของธุรกิจ

ข่าวเทคโนโลยี Friday January 19, 2018 11:36 —ThaiPR.net

กรุงเทพฯ--19 ม.ค.--คอร์ แอนด์ พีค โดยบริษัททั่วทั้งภูมิภาคกำลังจะปรับใช้ IoT ในฐานะเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีความสำคัญอย่างมาก อินเทอร์เน็ตในทุกสรรพสิ่ง (Internet of Things: IoT) ได้รับการยอมรับว่าเป็นเทคโนโลยีพื้นฐานสำหรับนวัตกรรมด้านปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์ และสิ่งก้าวหน้าล้ำสมัยอื่นๆ เป็นจำนวนมาก แต่สำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจแล้ว (ผู้บริหารที่ประกาศใช้ IoT ในบริษัทของตน)ในบางครั้งอาจรู้สึกว่าเป็นไปไม่ได้เลยที่จะแยกข้อเท็จจริงออกจากโฆษณาเกินจริง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความยุ่งยากมากยิ่งขึ้นเมื่อต้องพิจารณาขั้นตอนปฏิบัติที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นใช้งาน IoT ในธุรกิจของตน และเพื่อให้เข้าใจถึงสถานะปัจจุบันของ IoT ได้ดียิ่งขึ้น Forbes Insightsจึงได้ร่วมมือกับบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา จัดทำการสำรวจผู้บริหารระดับสูงกว่า 500 คนทั่วโลก โดยแบ่งเป็น 220 คนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผู้เป็นผู้นำในการปรับใช้โครงการ IoT ภายในบริษัท โดยงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ มีชื่อว่า "The Internet of Things: From Theory to Reality – How Companies Are Leveraging IoT to Move Their Businesses Forward"ภายใต้การสนับสนุนหลักของบริษัท ฮิตาชิ แวนทาราโดยเน้นย้ำการค้นพบสำคัญที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้และเล็งเห็นถึงประเด็นคำถามดังต่อไปนี้คือ - IoT ยังคงเป็นแค่ความต้องการหรือถูกนำมาใช้งานจริงในองค์กรแล้ว - บริษัทต่างๆ กำลังใช้ IoT ในลักษณะใด - การใช้งาน IoT ในช่วงแรกนี้มีลักษณะอย่างไร - บริษัทต่างๆ ที่ใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้ มีความก้าวหน้ามากขึ้นหรือไม่ - จากการนำไปใช้งานจริง ผู้ใช้ได้รับประโยชน์อย่างไรบ้าง - ขั้นตอนปฏิบัติการเริ่มนำ IoT เข้ามาใช้งานในบริษัทมีอะไรบ้าง บรูซ โรเจอร์ส ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารข้อมูลเชิงลึกของ Forbes Media กล่าวว่า"เห็นได้ชัดว่าบรรดาผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมองเห็นคุณค่าของการใช้งานIoT อย่างมากและกว่า 70% ระบุว่าพวกเขาเห็น IoT เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจของตน โดย IoT จะสร้างความแตกต่างด้านการแข่งขัน และจะส่งผลต่ออุตสาหกรรมต่างๆ อย่างมาก" โดยผลการวิจัยที่สำคัญสำหรับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีดังนี้ : IoT ส่งผลต่อธุรกิจ:70% ของบริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เชื่อว่า IoT มีความสำคัญอย่างมากต่อธุรกิจปัจจุบัน และกว่า87% เชื่อว่า IoT จะมีความสำคัญต่ออนาคตของธุรกิจด้วย IoT เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีเกิดใหม่ที่มีความสำคัญมากที่สุด:จากเทคโนโลยีเกิดขึ้นใหม่ทั้งหมด ผู้บริหารในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเชื่อว่า IoT, ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และหุ่นยนต์ (Robotics) จะเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกกำลังจะปรับใช้ IoT: 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่า บริษัทของพวกเขาได้ดำเนินโครงการนำร่อง IoT แล้ว และกว่า11% ระบุว่าโครงการ IoT ได้กลายเป็นส่วนสนับสนุนที่สำคัญต่อธุรกิจของพวกเขาแล้ว การใช้โซลูชัน IoT อาจเป็นเรื่องที่ท้าทาย: บริษัทต่างๆ ระบุว่าเมื่อปรับใช้งานIoT แล้ว พบว่ามีความท้าทายดังนี้ - การรักษา IoT ให้ปลอดภัย (31%) - ความร่วมมือระหว่างแผนก (31%) - ความพร้อมของพนักงานที่มีความรู้ ความเข้าใจ (31%) - ความสามารถที่ไม่เพียงพอในการนำเสนอผลตอบแทนจากการลงทุนที่น่าสนใจ (30%) - การผสานรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน (28%) แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการใช้โซลูชัน IoT:เมื่อตรวจสอบบริษัทที่ดำเนินโครงการ IoT แล้วพบว่ามีแนวทางปฏิบัติบางอย่างที่สามารถยึดเพื่อก้าวสู่ความสำเร็จนั่นคือ - แนวทาง IoT มักได้รับการสนับสนุนจาก CTO (40%) และ CIO (32%) - 42% รวมถึงผู้จำหน่ายภายนอกในทีมวางแผนของ IoT - 82% ใช้แพลตฟอร์มของบุคคลที่สามเป็นพื้นฐานสำหรับการใช้งาน IoT ของตน บริษัทต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกได้มองเห็นประโยชน์ที่ได้รับจาก IoT กันแล้ว: 76% กำลังใช้โครงการ IoT เพื่อสร้างรายได้ ขณะที่ 60% เห็นด้วยว่าโครงการ IoT กำลังสร้างข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจของตน ด้วยเหตุนี้ 88% จึงคาดว่าจะมองเห็นการเพิ่มขึ้นของงบประมาณ IoT ในปีงบประมาณที่กำลังจะมาถึงนี้ "จากผลการสำรวจของ Forbes Insightsแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลกระทบที่ IoT มีต่อธุรกิจทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยธุรกิจส่วนใหญ่มองว่า IoT เป็นสิ่งสำคัญต่อความสำเร็จในอนาคตของพวกเขาและ สิ่งที่องค์กรธุรกิจทั่วโลกมีเหมือนกันก็คือความปลอดภัยสำหรับโครงการ IOT ของตนในระยะเริ่มแรก และพันธมิตรด้านนวัตกรรมที่น่าเชื่อถือเพื่อช่วยให้พวกเขาบรรลุผลลัพธ์ทางธุรกิจได้ตามต้องการ" แดเนียล ชอง รองประธานอาวุโสประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา กล่าว เกี่ยวกับงานวิจัยนี้ ข้อมูลของงานวิจัยนี้ได้มาจากการสำรวจของ Forbes Insights ในปี 2560 ที่ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารจำนวน 502 คนที่มีหน้าที่รับผิดชอบหรือคุ้นเคยกับกิจกรรม IoT ภายในบริษัทของตน โดยผู้ตอบแบบสำรวจอาศัยอยู่ในยุโรป อเมริกา และเอเชียแปซิฟิก และเป็นตัวแทนของกลุ่มอุตสาหกรรมที่หลากหลายในสัดส่วนที่ไม่เกิน 25% ทั้งนี้ ผู้ตอบแบบสอบถามทุกคนเป็นผู้บริหารตั้งแต่ระดับผู้อำนวยการขึ้นไปและมาจากบริษัทที่มีจำนวนพนักงานมากกว่า500 คน นอกจากนี้ Forbes Insights ยังได้ทำการสัมภาษณ์ผู้บริหารระดับอาวุโสหลายรายเพื่อเพิ่มความสมบูรณ์ให้กับงานวิจัยในครั้งนี้ด้วย เกี่ยวกับ Forbes Insights Forbes Insights คือการวิจัยเชิงกลยุทธ์และแนวปฏิบัติด้านความเป็นผู้นำทางความคิดของ Forbes Media ซึ่งเป็นบริษัทด้านการสร้างแบรนด์และเทคโนโลยีระดับโลกที่มีแพลตฟอร์มมากมายและสามารถเข้าถึงผู้มีอำนาจในการตัดสินใจทางธุรกิจได้เกือบ 94 ล้านคนทั่วโลกในแต่ละเดือน โดยเมื่อใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลที่เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้บริหารระดับอาวุโสในชุมชน Forbes แล้วจะทำให้ Forbes Insights สามารถดำเนินการวิจัยในหัวข้อที่หลากหลายเพื่อกำหนดตำแหน่งของผู้นำทางความคิดและกระตุ้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ สำหรับการนำเสนอผลการวิจัยมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งในรูปแบบดิจิทัล สิ่งพิมพ์ และการไลฟ์ รวมถึงการเผยแพร่ผ่านแพลตฟอร์มสื่อและโซเชียลของ'Forbes'ด้วย เกี่ยวกับบริษัท ฮิตาชิ แวนทารา บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา เป็นบริษัทในเครือของบริษัท ฮิตาชิ จำกัด ได้รับการจัดตั้งเพื่อช่วยผู้นำองค์กรในการดึงคุณค่าที่มีอยู่ในข้อมูลของตนมาใช้ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างชาญฉลาดและบรรลุผลที่มีความสำคัญต่อธุรกิจและสังคมได้อย่างเห็นผล เราผสานรวมเทคโนโลยี ทรัพย์สินทางปัญญา และความรู้ทางอุตสาหกรรมเพื่อนำเสนอโซลูชันการจัดการข้อมูลที่ช่วยให้องค์กรต่าง ๆ สามารถปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าให้ดียิ่งขึ้น สร้างรายได้ใหม่ ๆ และลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจให้น้อยลง ทั้งนี้ บริษัท ฮิตาชิ แวนทารา จะช่วยยกระดับความได้เปรียบด้านนวัตกรรมของคุณด้วยการรวมเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีการดำเนินงานปฏิบัติงาน (OT) และความเชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีเข้าไว้ด้วยกัน เราจะทำงานร่วมกับทุกองค์กรเพื่อผลักดันข้อมูลให้กลายเป็นผลลัพธ์ที่มีความหมายอันยิ่งใหญ่ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม โปรดดูที่เว็บไซต์ www.HitachiVantara.com

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ