สวิฟเผยระบบชำระเงินบนมือถือของบริษัทได้รับการรับรองมาตรฐาน EMV ระดับ 2

ข่าวต่างประเทศ Wednesday October 10, 2012 09:48 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สิงคโปร์--10 ต.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์ / อินโฟเควสท์ ระบบชำระเงินบนมือถือจะเปลี่ยนกลยุทธ์การชำระเงินบนมือถือของธนาคารในอนาคต สวิฟ (Swiff) ผู้นำระดับโลกที่ริเริ่มระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านการค้าบนมือถือ (m-Commerce) ประกาศว่า ระบบชำระเงินผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย (mPOS) ของบริษัท ได้รับการรับรองมาตรฐาน EMV ระดับ 2 ซึ่งเป็น “มาตรฐานทองคำ” สำหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้านการชำระเงินผ่านบัตร จากนี้ไปธนาคารต่างๆและผู้ขายที่เป็นลูกค้าของธนาคารจะสามารถนำเสนอประสบการณ์การค้ารูปแบบใหม่ ด้วยระบบชำระเงินที่ปลอดภัยและพร้อมใช้ตลอดเวลา ระบบชำระเงินที่ได้มาตรฐาน EMV หรือที่รู้จักทั่วไปว่ามาตรฐาน chip & pin จะมีความปลอดภัยสูงขึ้น และสามารถแก้ปัญหาด้านการตรวจสอบและป้องกันการฉ้อโกงซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายกังวล ผู้ขายที่ใช้อุปกรณ์และระบบแบบชิปที่ได้มาตรฐาน EMV จะเสียค่าธรรมเนียม interchange fee ในการทำธุรกรรมถูกกว่า ผู้ที่ดูแลการทดสอบและดำเนินการรับรองมาตรฐาน EMV คือบริษัท EMVCo ซึ่งมีเจ้าของร่วมกันคือวีซ่า, มาสเตอร์การ์ด, อเมริกัน เอ็กซ์เพรส และเจซีบี ทั้งนี้ นอกเหนือจากมาตรฐาน EMV แล้ว ระบบของสวิฟยังได้รับการรับรองมาตรฐาน PCI DSS ระดับ 1 ซึ่งเป็นมาตรฐานสูงสุดสำหรับระบบรักษาความปลอดภัยด้านการชำระเงิน ซึ่งรับรองโดยสภามาตรฐานความปลอดภัยอุตสาหกรรมบัตรชำระเงิน (Payment Card Industry Security Standards Council) “เราสร้างสวิฟจากศูนย์จนสู่จุดสูงสุดอย่างทุกวันนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนในการยกระดับธนาคารและผู้ขายที่เป็นลูกค้าของธนาคารให้เป็นหัวใจสำคัญของการปฏิวัติระบบรักษาความปลอดภัยทางด้านการค้าบนมือถือ” เจอโรม เคล (Jerome Cle) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้งเอสซีซีพี กรุ๊ป (SCCP Group) กล่าว “เรากำลังมุ่งสู่โลกที่ปราศจากเงินสด และระบบรักษาความปลอดภัยก็เป็นหัวใจสำคัญของนวัตกรรมการชำระเงินทั้งหมด เราจึงรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเทคโนโลยีชำระเงินบนมือถือที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน EMV ระดับ 2” เอริค โฮสต์-โรเนส (Erik Host-Roness) รองประธานบริหารเอสซีซีพี กรุ๊ป กล่าวถึงผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นกับสวิฟว่า “หลังประกาศว่าเราได้รับการรับรองมาตรฐาน EMV ระบบของสวิฟก็เป็นที่ต้องการอย่างมากในหมู่ธนาคารในเอเชียและที่อื่นๆ เนื่องจากธนาคารตระหนักดีว่าระบบการชำระเงินที่ดีขึ้นจะทำให้ลูกค้าภักดีกับธนาคารมากขึ้นและจะช่วยเพิ่มรายได้ด้วย บัดนี้ลูกค้าและผู้ขายจากทุกที่สามารถใช้ระบบชำระเงินรูปแบบใหม่ที่มีความปลอดภัยสูงและมีต้นทุนต่ำในการชำระเงินและรับเงินได้อย่างมั่นใจ” หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย และฟิลิปปินส์ ต่างยอมรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตและเดบิตแบบชิปแล้ว “ในฐานะบริษัทระดับโลกซึ่งเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการชำระเงินและมุ่งมั่นนำเสนอบริการเงินตราดิจิตอล (digital currency) ที่รวดเร็ว ปลอดภัย และเชื่อถือได้ให้แก่ลูกค้า วีซ่าจึงสนับสนุนเทคโนโลยีที่ช่วยให้การชำระเงินแบบไม่ต้องใช้เงินสดเป็นที่ยอมรับมากขึ้น และสนับสนุนมาตรฐานความปลอดภัยที่ช่วยให้การชำระเงินมีความปลอดภัยเสมอ” เหว่ย-ฮัน คิม (Wei-Han Kim) ประธานฝ่ายการยอมรับการชำระเงินประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ บริษัท วีซ่า อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าว “และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้รับการรับรองจาก EMVCo ซึ่งจะช่วยให้การชำระเงินด้วยบัตรในภูมิภาคมีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยควบคุมการฉ้อโกงให้อยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ต่อไป” สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.goswiff.com เกี่ยวกับ เอสซีซีพี เพย์เมนท์ เซอร์วิสเซส โฮลดิงส์ (SCCP Payment Services Holdings) เอสซีซีพี เพย์เมนท์ เซอร์วิสเซส โฮลดิงส์ คือผู้นำระดับโลกที่ริเริ่มเทคโนโลยีความปลอดภัยทางการค้าบนมือถือ (m-Commerce) บริษัทก่อตั้งขึ้นในปี 2553 และนำระบบการรักษาความปลอดภัยในการชำระเงินแบบครบวงจรมาให้บริการแก่ผู้ออกบัตรและร้านค้าทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีการชำระเงินและการพิสูจน์ตัวตนที่เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของบริษัท ผู้ขายที่เป็นลูกค้าของสถาบันการเงินต่างๆจึงสามารถใช้ระบบการชำระเงินได้แบบเบ็ดเสร็จในหนึ่งเดียว ทั้งนี้ บริษัทมีสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ และพร้อมนำเสนอโซลูชั่นด้านการค้าบนมือถือให้แก่ลูกค้าทั้งในเอเชียแปซิฟิก แอฟริกา ยุโรป และอเมริกาเหนือ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเอสซีซีพีได้ที่ www.sccpgroup.com ข้อมูลติดต่อสำหรับสื่อมวลชน หลิว เจียหมิน (Liu Jiamin) / แอนดรูว์ หว่อง (Andrew Wong) ICON International Communications อีเมล: sccp@iconinternational.com.sg โทร: +65 6220 2623
แท็ก Commerce  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ