เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก เผยปัญหาการหลั่งเร็วส่งผลกระทบต่อสังคม ในการประชุมบุรุษเวชศาสตร์สากลครั้งที่ 10

ข่าวต่างประเทศ Thursday March 7, 2013 16:14 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สิงคโปร์--7 มี.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ ความพยายามในการศึกษาที่จะช่วยขจัดความน่าอับอายของปัญหาหนึ่งซึ่งพบมากที่สุดในเพศชายและส่งผลกระทบต่อคู่รัก เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก (http://www.menariniapac.com/) ซึ่งอยู่ในเครือบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ชั้นนำของโลก เมนารินี กรุ๊ป ได้เข้าร่วมการประชุมบุรุษเวชศาสตร์สากล (International Congress of Andrology: ICA) ประจำปีนี้ ซึ่งจัดขึ้นที่เมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของหนึ่งในปัญหาเพศชายที่พบบ่อยที่สุด นั่นคือการหลั่งเร็ว ซึ่งเป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อผู้ชาย 30% ทั่วโลก[1] และ 31% ในเอเชียแปซิฟิก[2] เวทีนี้เปิดโอกาสให้บริษัทได้ให้ความรู้กับชุมชนเกี่ยวกับอาการหลั่งเร็ว รวมถึงผลกระทบที่มีต่อความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รัก นายจอห์น เอ. แกรห์ม (Mr. John A. Graham) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก กล่าวถึงการเข้าร่วมการประชุมว่า “มีผู้ชายเกือบ 1 ใน 3 ที่ต้องทนทุกข์กับอาการหลั่งเร็ว[2] แต่หลายคนกลับไม่เคยรู้ว่าอาการนี้สามารถรักษาให้หายได้ การหลั่งเร็วส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตของผู้ชายและความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รัก[3] เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก มุ่งมั่นที่จะขจัดความน่าอับอายของการหลั่งเร็ว เพื่อให้ผู้ชายที่มีปัญหาและคู่รักรู้ว่าพวกเขาไม่ได้ต่อสู้อย่างโดดเดี่ยว” เขากล่าวเสริมว่า “ธีมของการประชุม ICA ปีนี้คือ บุรุษเวชศาสตร์และสุขภาพผู้ชายทั่วโลก: ความท้าทายในปัจจุบันสำหรับคนรุ่นใหม่ในอนาคต ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญและนักวิจัยมากมายหลายประเทศเข้าร่วมงาน ส่งผลให้ ICA เป็นเวทีหนึ่งที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับเมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก ในการแสดงความมุ่งมั่นที่จะริเริ่มและเปิดฉากการเดินทางในโลกของสุขภาพผู้ชาย” การหลั่งเร็วสร้างความเครียดให้กับผู้ชายและคู่รัก ผลการศึกษาในผู้ชาย 5,000 คนซึ่งเผยแพร่เมื่อปีพ.ศ.2555 ในวารสาร Journal of Sexual Medicine ระบุว่า 31% ของผู้ชายในเอเชียแปซิฟิกได้รับผลกระทบจากการหลั่งเร็ว[2] ผู้ชายกลุ่มนี้ได้รับการวินิจฉัยโดยใช้ชุดคำถามวินิจฉัยการหลั่งเร็ว (PEDT) ซึ่งเป็นการวัดทางจิตวิทยาด้วย 5 คำถาม[4] และในทางตรงกันข้าม จากการวินิจฉัยด้วยชุดคำถาม Sexual Health Inventory for Men (SHIM)[2] พบว่ามีผู้ชาย 5% ที่มีอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งเป็นปัญหาเพศชายอีกแบบหนึ่ง ซึ่งอวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวจนเสร็จสิ้นการมีเพศสัมพันธ์ได้ การศึกษายังพบว่า ผู้ชายที่มีอาการหลั่งเร็วและคู่รักมีคุณภาพชีวิตและความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ในฐานะคู่รักลดลง โดยผู้ชาย 32% กังวลมากหรือมากที่สุดว่าการหลั่งเร็วจะทำให้คู่รักไม่ได้รับความพึงพอใจทางเพศ[2] ขณะเดียวกันผู้ชายที่มีอาการหลั่งเร็วจะรู้สึกหงุดหงิดมากที่ไม่สามารถควบคุมการหลั่งได้ โดย 62% ค่อนข้างไม่พอใจหรือไม่พอใจมาก[2] ดร.คริส จี. แมคมาฮอน (Dr. Chris G. McMahon) แพทย์ด้านสุขอนามัยทางเพศและสมาชิก Chapter of Sexual Medicine ของ Royal Australian College of Physician ซึ่งร่วมบรรยายในการประชุมครั้งนี้ กล่าวว่า “การหลั่งเร็วส่งผลกระทบต่อผู้ชายและคู่รักในระดับบุคคลและระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นี่ไม่ใช่แค่ปัญหาเรื่องความมั่นใจในตัวเองเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบถึงความพึงพอใจในการมีเพศสัมพันธ์ของคู่รักและถึงขั้นส่งผลต่อคุณภาพชีวิต อันที่จริงแล้วการหลั่งเร็วรักษาได้ แต่ผู้ป่วยต้องเปิดใจกับแพทย์และแพทย์ต้องตระหนักว่าอาการหลั่งเร็วมักถูกตรวจพบและวินิจฉัยได้น้อยกว่าความเป็นจริง” ดร.แมคมาฮอนกล่าวว่า “ผมรู้สึกดีใจที่เมนารินีมาร่วมงาน ICA เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับอาการหลั่งเร็วที่มักถูกมองข้ามและส่งผลกระทบต่อผู้ชายจำนวนมาก” เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับอาการหลั่งเร็วและปัญหาสุขภาพผู้ชาย เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก จะเดินหน้าให้ความรู้เรื่องนี้ผ่านโครงการสำหรับแพทย์และผู้บริโภคหลายโครงการทั่วเอเชียแปซิฟิก เกี่ยวกับ เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก (อดีตคือบริษัท อินวิดา กรุ๊ป) เมนารินี เอเชีย-แปซิฟิก ซึ่งอยู่ในเครือบริษัท เมนารินี กรุ๊ป ในอิตาลี คือบริษัทชีวเภสัชภัณฑ์ระดับแนวหน้าที่มุ่งมั่นนำเสนอผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพสำหรับผู้บริโภคทั่วภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกโดยดำเนินธุรกิจอย่างถูกหลักจริยธรรม บริษัทมีผู้เชี่ยวชาญกว่า 3,300 คนในตลาดใหญ่ 13 แห่ง ที่คอยให้บริการครบวงจรในห่วงโซ่คุณค่าทางการค้า ตั้งแต่การขอใบอนุญาต การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ไปจนถึงการบริหารวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังนำเสนอประสบการณ์เหนือระดับให้แก่พันธมิตรที่ต้องการรุกเข้าสู่ตลาดเอเชียแปซิฟิกที่กำลังเติบโต กรุณาดูข้อมูลเพิ่มเติมที่ www.menariniapac.com อ้างอิง [1] European Association of Urology. Guidelines on male sexual dysfunction: erectile dysfunction and premature ejaculation. 2012; available at: http://www.uroweb.org/guidelines/online-guidelines/ Last access December 13th, 2012. [2] McMahon CG, Lee G, Park JK, Adaikan PG. Premature ejaculation and erectile dysfunction prevalence and attitudes in the Asia-Pacific region. J Sex Med. 2012;9:424-65. [3] Rosen RC, Althof S. Impact of premature ejaculation: The psychological, quality of life, and sexual relationship consequences. J Sex Med. 2008;5:1296-1307. [4] Symonds T, Perelman MA, Althof S, Giuliano F, Martin M, May K, et al. Development and validation of a premature ejaculation diagnostic tool. Eur Urol. 2007;52(2):565-573.
แท็ก เอเชีย  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ