ดร.ลาฟเฟอร์เปิดตัวหนังสือคู่มือภาษียาสูบระหว่างประเทศ ช่วยรัฐบาลจัดทำโรดแมปในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษี

ข่าวต่างประเทศ Thursday July 17, 2014 17:04 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

ลอนดอน--17 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ - ชี้ “ไม่มียาสารพัดโรค” นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังตอกย้ำถึงเหตุผลที่ว่า ทำไมประเทศต่างๆจำเป็นต้องรักษาอำนาจทางการคลังเมื่อกำหนดอัตราภาษีสรรพสามิต เนื่องจากภาษีสรรพสามิตมีความสำคัญมากยิ่งขึ้นทั่วโลก ดร.อาร์เธอร์ ลาฟเฟอร์ จึงได้เปิดตัวหนังสือคู่มือภาษียาสูบระหว่างประเทศ พร้อมกับชี้ว่า “ไม่มียาสารพัดโรค” สำหรับนโยบายภาษียาสูบ และนำเสนอตัวอย่างของรัฐบาลที่มีผลการดำเนินงานที่ดีและกรณีศึกษาเพื่อพิจารณาเรื่องการเพิ่มรายได้จากภาษีสรรพสามิตบุหรี่ “ภาษียาสูบเป็นปัจจัยที่สำคัญในฐานะแหล่งรายได้ที่สำคัญจากภาษีของประเทศส่วนใหญ่ทั่วโลก” ลาฟเฟอร์กล่าวในงานแถลงข่าวการเปิดตัวหนังสือของตนเองในชื่อ Handbook of Tobacco Taxation – Theory and Practice “รัฐบาลได้มีการเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตจากยาสูบเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์ด้านการคลังและสาธารณสุข เนื่องจากเป้าหมายในการลดการสูบบุหรี่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะมองข้ามได้เช่นกัน หนังสือเล่มนี้จึงเป็นคู่มือสำหรับทุกคนที่สนใจเรื่องการกำหนดนโยบายภาษียาสูบ เนื่องจากคู่มือได้พุ่งเป้าไปที่การใช้ภาษีในการแก้ปัญหาการบริโภคยาสูบ” ลาฟเฟอร์พบว่า โครงสร้างภาษีและภาวะเศรษฐกิจที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทำให้การใช้ระดับหรือระบบภาษีในแบบที่ครอบคลุมทั้งหมดเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แทนที่จะใช้วิธีดังกล่าว รัฐบาลควรจะปรับแก้ไขวิธีจัดเก็บภาษีบุหรี่ตามความเหมาะสม โดยนำปัจจัยต่างๆเข้ามาร่วมพิจารณาด้วย “เป็นเรื่องสำคัญมากที่ต้องคิดให้รอบคอบเกี่ยวกับการเพิ่มแรงกดดันในระดับนานาชาติเพื่อให้เกิดโครงสร้างและระดับภาษียาสูบที่ครอบคลุมสำหรับทุกประเทศทั่วโลก” ลาฟเฟอร์กล่าวเสริม “กฎระเบียบและภาษีเกี่ยวกับบุหรี่เป็นเรื่องซับซ้อนที่ต้องพิจารณาปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ และประชากรศาสตร์ ก่อนที่จะมีการตัดสินใจในเรื่องโครงสร้างภาษีและระดับ และเช่นกัน เรื่องนี้เข้าทำนองที่ว่า”ไม่มียาสารพัดโรค” กราฟเส้นโค้งลาฟเฟอร์แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างอัตราภาษีและรายได้จากภาษี หากมีการปรับขึ้นภาษีบุหรี่ รายได้ของรัฐบาลจะเพิ่มขึ้นในเกือบทันที แต่อย่างไรก็ดี มีตัวอย่างของประเทศที่อัตราภาษีได้เข้าสู่ช่วงของกราฟที่เรียกว่า “ช่วงต้องห้าม” มากขึ้น ซึ่งรวมถึงสหราชอาณาจักรและไอร์แลนด์ “เมื่อมีการกำหนดระดับของภาษีนั้น การขึ้นภาษีอย่างมากอาจจะฉุดรั้งผลผลิต” ลาฟเฟอร์กล่าว “เมื่อใดที่ระดับภาษีเข้าสู่ช่วงต้องห้ามตามเส้นโค้งของลาฟเลอร์ (Laffer Curve) รายได้จากภาษีจะลดลง หากผู้บริโภคหันไปบริโภคบุหรี่ที่เก็บภาษีน้อยกว่าหรือในตลาดมืด การปรับขึ้นภาษีก็อาจจะไม่สามารถลดปริมาณการสูบบุหรี่ลงก็เป็นได้” หนังสือคู่มือของลาฟเฟอร์แนะนำให้รัฐบาลจัดทำระบบภาษีบนพื้นฐานของหลักการ 4 ข้อ ดังต่อไปนี้: 1. แยกประเภทผลิตภัณฑ์ให้ชัดเจน – ดังนั้นรายได้จะไม่สูญเสียไปกับผลิตภัณฑ์ที่ตกอยู่ในช่องโหว่ โดยกำหนดคำนิยามประเภทผลิตภัณฑ์บุหรี่ที่เหมาะสมเมื่อมีการแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลเกี่ยวกับประเภทของผลิตภัณฑ์ 2. โครงสร้างภาษีที่แข็งแกร่ง – โครงสร้างภาษีสรรพสามิตจะต้องส่งเสริมเสถียรภาพด้านการจัดเก็บภาษีและรับประกันว่า การปรับขึ้นภาษีหมายถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้จากภาษีของรัฐบาลให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ 3. ระดับภาษีที่ถูกต้อง – เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้บริโภคหันไปใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีราคาถูกกว่าในตลาดมืดภายหลังจากที่มีการปรับขึ้นภาษี, สร้างความเชื่อมั่นว่า ระดับภาษีที่ถูกต้องจะสามารถนำไปใช้ได้กับทุกประเภท 4. ระบบการจัดเก็บภาษีที่มีประสิทธิภาพ – เพื่อลดภาระด้านการบริหารเกี่ยวกับผู้เสียภาษีและผู้เก็บภาษี และรับประกันประสิทธิภาพการชำระค่าภาษีบุหรี่โดยผู้ผลิตและผู้นำเข้าทุกราย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ