รายงานของ UOB, PwC, SFA เผยบริษัทฟินเทคในสิงคโปร์ดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมากที่สุดในอาเซียน

ข่าวทั่วไป Thursday November 14, 2019 14:30 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

สิงคโปร์--14 พ.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังเป็นฐานที่มั่นของบริษัทฟินเทคที่ต้องการขยายธุรกิจทั่วอาเซียน จากรายงาน "FinTech in ASEAN: From Start-up to Scale-up" ที่เผยแพร่โดยธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ หรือธนาคารยูโอบี (UOB), ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส (PwC) และสมาคมฟินเทคสิงคโปร์ (SFA) ระบุว่า บริษัทเทคโนโลยีทางการเงิน (ฟินเทค) ในสิงคโปร์ยังคงดึงดูดเงินทุนจากทั่วโลกมากที่สุดในบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน โดยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 51) รายงานชิ้นนี้ยังระบุด้วยว่าสิงคโปร์เป็นฐานที่มั่นอันดับหนึ่งในภูมิภาคสำหรับบรรดาบริษัทฟินเทค โดยเป็นที่ตั้งของบริษัทฟินเทคร้อยละ 45 จากทั้งหมดในอาเซียน รับชมข่าวในรูปแบบมัลติมีเดียได้ที่ https://www.prnasia.com/mnr/uob2_201911.shtml จากการที่รัฐบาลสิงคโปร์ส่งเสริมนวัตกรรมฟินเทคในภาคส่วนต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ เงินทุนสำหรับบริษัทฟินเทคในสิงคโปร์จึงมีการกระจายอย่างทั่วถึง โดยมีนวัตกรรมการประกันภัย การชำระเงิน และการเงินส่วนบุคคลเป็นภาคส่วนที่ได้รับเงินทุนมากที่สุด รายงานระบุว่า เงินทุนที่กระจายอย่างทั่วถึงนี้ยังสะท้อนถึงภูมิทัศน์ด้านฟินเทคในสิงคโปร์ที่เติบโตได้อย่างรวดเร็วกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ที่อุตสาหกรรมฟินเทคยังคงใหม่และเน้นไปที่นวัตกรรมการชำระเงินเป็นส่วนใหญ่ คุณเจเน็ต ยัง หัวหน้าฝ่าย Group Channels and Digitalisation ของธนาคารยูโอบี กล่าวว่า "สิงคโปร์มีกฎเกณฑ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เอื้ออำนวย ทั้งยังได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุน และมีอุตสาหรรมฟินเทคที่เติบโตอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เป็นฐานที่มั่นที่น่าดึงดูดใจสำหรับบริษัทที่ต้องการคว้าโอกาสจากศักยภาพการเติบโตในอาเซียน และด้วยเหตุนี้ บริษัทจำนวนมากในสิงคโปร์จึงพัฒนาจากการระดมทุนขั้นต้นไปสู่ขั้นปลาย" "อย่างไรก็ดี การขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคที่มีความหลากหลายที่สุดแห่งหนึ่งในโลกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพื่อเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จ บริษัทฟินเทคต้องแสวงหาพันธมิตรที่สามารถมอบประสบการณ์ ข้อมูลเชิงลึก และสร้างคอนเนคชัน เพื่อรับมือกับกฎเกณฑ์และภูมิทัศน์การดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศในอาเซียน" ความแข็งแกร่งทางการเงิน การนำเสนอคุณค่า และบุคลากรมากความสามารถ คือกุญแจสู่ความสำเร็จในอาเซียน ลูกค้าหลักของบริษัทฟินเทคคือธุรกิจต่าง ๆ (ร้อยละ 79) และในจำนวนนี้ สถาบันการเงินคิดเป็นสัดส่วนครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 50) ของลูกค้าหลักทั้งหมด ตามมาด้วยองค์กร (ร้อยละ 17) และ SME (ร้อยละ 12) ส่วนที่เหลือคือผู้บริโภคและบริษัทสตาร์ทอัพ (ร้อยละ 21) เนื่องจากสถาบันการเงินและองค์กรเกือบทั้งหมดมักมีขั้นตอนการอนุมัติหลายขั้นตอน บริษัทฟินเทคจึงต้องเตรียมตัวเตรียมใจว่าการทำข้อตกลงและการได้ลูกค้ากลุ่มนี้อาจต้องใช้เวลานานกว่าปกติ ดังนั้น บริษัทฟินเทคที่นำเสนอโซลูชันแบบ B2B ต้องมั่นใจว่ามีสายป่านยาวพอที่จะแบกรับค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงาน รายงานยังพบว่า บริษัทฟินเทคในอาเซียนมีมุมมองบวกเกี่ยวกับการระดมทุนในปัจจุบันและอนาคต โดยเกือบครึ่งหนึ่งเชื่อมั่นว่าสามารถระดมทุนได้มากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐในการระดมทุนรอบต่อไป คุณหว่อง ว่านอี้ หัวหน้าฝ่ายฟินเทคของ PwC Singapore กล่าวว่า "มุมมองบวกดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจ เมื่อพิจารณาจากอนาคตที่สดใสของภูมิภาคอาเซียนและการที่อุตสาหกรรมการเงินมีอิสระมากขึ้นเพราะเทคโนโลยีธนาคารดิจิทัล นอกจากนี้ ความแพร่หลายของโทรศัพท์มือถือและศักยภาพของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ยังทำให้บริษัทฟินเทคเป็นกลไกหลักในการพัฒนาบริการทางการเงินในอาเซียน ด้วยการมอบประสบการณ์ที่ง่ายขึ้น เร็วขึ้น และสะดวกสบายขึ้น อุตสาหกรรมฟินเทคมีความสามารถในการแข่งขันสูง ดังนั้น บริษัทฟินเทคก็ต้องมีเป้าหมายและนำเสนอคุณค่าให้แก่ลูกค้าอย่างชัดเจน รวมถึงขยายธุรกิจในจังหวะที่เหมาะสมและสมเหตุสมผล" การสรรหาบุคลากรมากความสามารถยังคงเป็นเรื่องท้าทาย ขณะที่บริษัทฟินเทคร้อยละ 58 ระบุว่าปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคของการขยายธุรกิจในภูมิภาค คุณเชีย ฮก ไหล ประธานของ SFA กล่าวว่า "บริษัทฟินเทคต้องพิจารณาว่ามีบุคลากรที่เชี่ยวชาญและมีคุณสมบัติเหมาะสมในที่ที่จะขยายธุรกิจหรือไม่ การสรรหาบุคลากรมากความสามารถต้องอาศัยเวลา บริษัทฟินเทคจึงต้องวางแผนล่วงหน้าเมื่อจะขยายธุรกิจและทีมงานในตลาดใหม่ วิธีหนึ่งที่แนะนำคือ การจ้างบุคลากรมากความสามารถล่วงหน้าอย่างน้อย 6 เดือนก่อนขยายธุรกิจในตลาดใหม่" สามารถดาวน์โหลดรายงาน "FinTech in ASEAN: From Start-up to Scale-up" ได้ที่ uob.com/fintech2019 เกี่ยวกับ ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ ธนาคารยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ จำกัด (ยูโอบี) คือธนาคารชั้นนำในเอเชียที่มีเครือข่ายสำนักงานกว่า 500 แห่ง ใน 19 ประเทศและเขตปกครอง ทั้งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป และอเมริกาเหนือ โดยนับตั้งแต่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ. 2478 ยูโอบีได้สร้างการเติบโตจากภายในองค์กรเองและผ่านการเข้าซื้อกิจการเชิงกลยุทธ์มาอย่างต่อเนื่อง ยูโอบีได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในธนาคารชั้นของโลก โดยได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือที่ Aa1 โดยมูดี้ส์ และระดับ AA- โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และฟิทช์ เรทติ้งส์ สำหรับในเอเชีย ยูโอบีดำเนินกิจการผ่านสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์ และสำนักงานสาขาในจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ไทย และเวียดนาม ตลอดจนสาขาธนาคารและสำนักงานตัวแทนทั่วภูมิภาค ตลอดระยะเวลากว่า 8 ทศวรรษที่ผ่านมา พนักงานของยูโอบีจากรุ่นสู่รุ่นต่างมุ่งมั่นทำงานด้วยจิตวิญญาณของความเป็นผู้ประกอบการ โดยให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าในระยะยาวและยึดมั่นต่อพันธกิจในการทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อลูกค้าและเพื่อนร่วมงานของเรา เราเชื่อในการเป็นผู้ให้บริการทางการเงินที่มีความรับผิดชอบ และมุ่งมั่นที่จะพลิกชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชนที่เราดำเนินกิจการอยู่ทุกแห่ง ควบคู่ไปกับการทุ่มเทช่วยเหลือลูกค้าให้สามารถบริหารการเงินของตนเองอย่างชาญฉลาดและผลักดันให้ธุรกิจเติบโต ตลอดจนยึดมั่นในการสนับสนุนการพัฒนาสังคม โดยเฉพาะในด้านศิลปะ เยาวชน และการศึกษา เกี่ยวกับ PwC PwC มุ่งมั่นสร้างความไว้วางใจในสังคมและแก้ปัญหาที่สำคัญ เราคือเครือข่ายบริษัทที่ดำเนินธุรกิจใน 157 ประเทศ และมีบุคลากรกว่า 276,000 คนที่ทุ่มเทให้บริการด้านการประกันภัย การให้คำปรึกษา และภาษี สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมและแสดงความคิดเห็นได้ที่ www.pwc.com/sg PwC หมายถึงเครือข่ายบริษัท PwC และ/หรือ บริษัทสมาชิกหนึ่งบริษัทหรือหลายบริษัท โดยแต่ละบริษัทเป็นนิติบุคคลที่แยกกันชัดเจน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.pwc.com/structure เกี่ยวกับสมาคมฟินเทคสิงคโปร์ สมาคมฟินเทคสิงคโปร์ (SFA) เป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรที่ดำเนินงานข้ามอุตสาหกรรม โดยมีจุดมุ่งหมายในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคในสิงคโปร์ ตลอดจนประสานความร่วมมือระหว่างทุกฝ่ายในระบบนิเวศฟินเทคสิงคโปร์ SFA มีสมาชิกกว่า 350 ราย และเป็นตัวแทนของทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมฟินเทค ตั้งแต่บริษัทนวัตกรรมขั้นต้นไปจนถึงสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินรายใหญ่ นอกจากนี้ SFA ยังสร้างความร่วมมือกับสถาบันและสมาคมต่าง ๆ ทั้งในสิงคโปร์และทั่วโลก เพื่อดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมฟินเทค โดย SFA ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MoU) มากกว่า 50 ฉบับ และเป็นองค์กร U Associate แห่งแรกที่เข้าร่วมเป็นสมาชิก National Trades Union Congress (NTUC) นอกจากนี้ SFA ได้ริเริ่มโครงการ FinTech Talent (FT) ในปี 2560 โดยให้การฝึกอบรมด้านฟินเทคแก่ผู้ประกอบวิชาชีพกว่า 300 ราย ทั้งในเรื่องของบล็อกเชนและคริปโต ความมั่นคงทางไซเบอร์ และกฎเกณฑ์ต่าง ๆ วิดีโอ - https://cdn4.prnasia.com/002071/mnr/201911/uob2/video.mp4 คำบรรยายวิดีโอ - รายงาน "FinTech in ASEAN: From Start-up to Scale-up" โดย UOB, PwC และ SFA รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20191112/2638576-1 คำบรรยายภาพ - เปิดตัว 2019 FinTech Whitepaper ของ UOB, PwC และ SFA โลโก้ - https://photos.prnasia.com/prnh/20181018/2271919-1LOGO

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ