Risen Energy เปิดตัวโมดูล 600W+ กระแสไฟฟ้าสูง-แรงดันไฟฟ้าต่ำ

ข่าวทั่วไป Thursday July 30, 2020 11:15 —ข่าวประชาสัมพันธ์พีอาร์นิวส์ไวร์

Risen Energy เปิดตัวโมดูล 600W+ กระแสไฟฟ้าสูง-แรงดันไฟฟ้าต่ำ หนิงโป จีน--30 ก.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์ Risen Energy จับมือ Pvmen จัดงานสัมมนาว่าด้วยการเลือกอุปกรณ์และการออกแบบโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ครั้งที่ 5 และงานสัมมนาแนวโน้มเทคโนโลยี 210 ณ มณฑลกุ้ยโจว ระหว่างวันที่ 23-25 กรกฎาคมที่ผ่านมา และ Risen Energy ได้ประกาศเปิดตัวโมดูล 600W+ ซีรีส์ TITAN ภายในงาน ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนจากบริษัทในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ต่างเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่ง โดยมีการพูดคุยเกี่ยวกับการสนับสนุนห่วงโซ่อุตสาหกรรมเทคโนโลยี 210 และเทคโนโลยีด้านการวิจัย ในขณะที่โมดูล 600W+ ของ Risen Energy ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าสูงและแรงดันไฟฟ้าต่ำก็ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมาก งานนี้มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ยุค Grid Parity (จุดที่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์เท่ากับหรือถูกกว่าไฟฟ้าจากสายส่ง) การลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยไฟฟ้าปรับเฉลี่ย (LCOE) จึงกลายเป็นทิศทางการพัฒนาในปัจจุบัน การพัฒนาเทคโนโลยีโมดูลยังคงดำเนินไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงการพัฒนาซิลิคอนเวเฟอร์ขนาดใหญ่ 210 มม. ที่ผลักดันให้โมดูลมีกำลังการผลิตไฟฟ้ามากกว่า 500W อย่างรวดเร็ว โมดูลกำลังสูงที่มาพร้อมซิลิคอนเวเฟอร์ขนาดใหญ่กำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ ดร.เฉียง หวง รองประธานบริษัท Risen Energy กล่าวว่า “ในยุค Grid Parity การลดต้นทุน LCOE คือจุดแข็งในการแข่งขัน การที่โมดูลมีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 400W เป็น 500W และเป็น 600W สะท้อนถึงความก้าวหน้าของอุตสาหกรรม โดยยุค Grid Parity ทำให้การลดต้นทุน LCOE และค่าไฟกลายเป็นวาระใหม่ใน “แผน 5 ปี ระยะที่ 14” ของอุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์” ภายในงาน คุณหลิว หยาเฟิง กรรมการอาวุโสฝ่ายวิจัยและพัฒนาของ Risen Energy ได้เปิดตัว G6 ซึ่งเป็นโมดูลรุ่นใหม่ในซีรีส์ TITAN โดยโมดูลซีรีส์นี้ยังคงใช้เทคโนโลยีการตัดแบ่งโมดูลโดยไม่สร้างความเสียหาย แพคเกจความหนาแน่นสูง และเทคโนโลยีมัลติบัสบาร์จากโมดูลรุ่น G5 ที่เปิดตัวเมื่อเดือนธันวาคม 2562 และใช้รูปแบบการตัดแบ่งครึ่ง 6*10 ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยเพิ่มกำลังของโมดูลและลดความเสี่ยงที่จะเกิดจุดร้อน ยิ่งไปกว่านั้น คุณสมบัติแรงดันไฟฟ้าต่ำและกำลังไฟฟ้าสูงยังช่วยลดต้นทุนอุปกรณ์ประกอบระบบ (BOS) ลงได้อย่างมาก “ขนาดใหญ่ยิ่งกว่าเดิม กระแสไฟฟ้าสูงและแรงดันไฟฟ้าต่ำ” ดร.เฉียง หวง กล่าว “การลดต้นทุน LCOE คือเป้าหมายหลักที่สำคัญกว่ากำลังสูง แม้ว่าจะเผชิญความยากลำบากกว่าจะกลายเป็นกระแสหลักในตลาดก็ตาม” รูปภาพ - https://photos.prnasia.com/prnh/20200729/2870470-1 คำบรรยายภาพ - งานสัมมนาแนวโน้มเทคโนโลยี 210

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ