รายงานจากศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลียน ย้ำการควบคุมการเข้าถึงทรัพยากรด้านพันธุกรรมจะต้องได้รับการคุ้มครองอย่างเหมาะสม

ข่าวต่างประเทศ Tuesday February 15, 2005 11:15 —Asianet Press Release

กรุงเทพฯ, ไทย, 15 ก.พ.—พีอาร์นิวส์ไวร์/เอเชียเน็ท/อินโฟเควสท์
วันนี้ (15 ก.พ.) ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย ได้เผยแพร่รายงานที่ระบุว่า ข้อเสนอในการใช้วิธีการด้านสิทธิบัตรเพื่อควบคุมการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางด้านพันธุกรรมนั้น จะเป็นการบั่นทอนความพยายามในการป้องกันความหลากหลายด้านพันธุกรรมและบ่อนทำลายสุขภาพประชาชนในประเทศกำลังพัฒนา
ผลการศึกษาดังกล่าวได้มีการเผยแพร่ระหว่างการประชุมขององค์การสหประชาชาติหรือยูเอ็น เรื่องความหลากหลายทางพันธุกรรมเรื่องการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมร่วมกัน ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ โดยกลุ่มผู้เข้าร่วมประชุมได้เจรจาต่อรองเรื่องมาตรฐานนานาชาติในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรทางพันธุกรรม
เอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์ ประธานศูนย์กลางการศึกษาเอเปคของออสเตรเลียและผู้เขียนของงานการศึกษาเรื่อง การพัฒนาวิธีการเข้าถึงแหล่งทรัพยากรพันธุกรรมที่มีประสิทธิภาพ กล่าวว่า ทุกฝ่ายเห็นด้วยว่าการรักษาความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมของโลกเป็นเป้าหมายที่สำคัญ แต่หากเราเดินทางผิดก็จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่เสียหายเป็นอย่างยิ่งตามมา
อ็อกซ์เลย์ กล่าวต่อไปว่า ประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านพันธุกรรมขนาดใหญ่บางประเทศได้เสนอให้มีการใช้สิทธิบัตรกับสิ่งที่ประเทศนั้นๆพัฒนาขึ้นมาจากทรัพยากรเชิงพันธุกรรม เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการคุ้มครองความหลากหลายด้านชีวภาพ โดยแนวคิดทั่วไปของการกระทำดังกล่าวก็เพื่อขออนุมัติใช้ผลิตภัณฑ์ตามพื้นฐานของสิทธิบัตรภายหลังจากที่มีการออกสิทธิบัตรไปแล้ว
อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า บางประเทศเชื่อว่าการกระทำเช่นนี้จะช่วยควบคุมการลักลอบใช้ทรัพยากรทางด้านชีวภาพและสร้างโอกาสในการดึงรายได้จากการใช้ทรัพยากรด้านชีวภาพให้กับชุมชนพื้นเมือง โดยวิธีการที่ดีที่สุดในการรับประกันว่าผลประโยชน์จะตกอยู่ในมือของผู้คนในท้องถิ่นก็คือ การตั้งราคาที่เหมาะสมผ่านการประมูลใบอนุญาตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ เพื่อสร้างหลักประกันว่าชุมชนในระดับท้องถิ่นจะได้รับเงินจากการใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น
อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า ระบบนี้ช่วยสร้างรายได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เพื่อคุ้มครองความหลากหลายทางด้านชีวภาพ โดยแนวความคิดเรื่องการเข้มงวดในการใช้สิทธิบัตรจะทำให้การใช้สิทธิบัตรมีประสิทธิภาพน้อยลงและมีผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ตามมาด้วย นอกจากนี้ยังจะเป็นการทำลายการสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆด้านชีวภาพ ซึ่งจะทำให้ค่าธรรมเนียมลดลงด้วย
ประธานศูนย์กลางการศึกษาฯกล่าวต่อไปว่า การเข้มงวดเรื่องวิธีการใช้สิทธบัตรนั้นยังจะบ่อนทำลายบรรยากาศการลงทุนเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ บริษัทต่างๆคงจะไม่ลงทุนวิจัยและพัฒนา หากพวกเขาไม่รู้ว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆบนพื้นฐานของการใช้สิทธิบัตร ผลกระทบในกลุ่มประเทศที่มีความหลากหลายทางด้านชีวภาพอาจจะทำให้มีการลงทุนในด้านเทคโนโลยีชีวภาพน้อยลง รวมทั้งความสามารถในการผลิตในระดับชุมชนท้องถิ่นที่น้อยลง ซึ่งคงไม่มีใครต้องการให้ออกมาในรูปแบบนี้
อ็อกซ์เลย์ กล่าวว่า รายงานชิ้นนี้ได้ระบุถึงการเข้มงวดในการใช้สิทธิบัตรว่าจะกีดขวางการพัฒนาตัวยาใหม่ๆขึ้นมาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งที่การผลิตตัวยาใหม่ๆออกมาจะเป็นผลประโยชน์หลักๆของประเทศ โดยโรคที่เป็นภัยต่อมนุษยชาติอย่าง เอดส์, มาเลเรีย, วัณโรค และโรคหัวใจ ล้วนเป็นโรคที่คุกคามกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหนักหนาสาหัสยิ่งกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ก่อนที่การประชุมที่กรุงเทพฯจะเริ่มต้นขึ้นนั้น ประเทศต่างๆได้อุทิศตัวเป็นเหมือนกับประเทศที่มีความหลากหลายด้านชีวภาพที่มีแนวทางใกล้เคียงกัน (LMMCs) ได้ออกแถลงการณ์เสนอให้องค์กรในระดับนานาชาติใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประเทศ LMMCs เหล่านี้ ได้แก่ประเทศโบลิเวีย, บราซิล, จีน, โคลัมเบีย, คอสตา ริก้า, คองโก, เอกวาดอร์, อินเดีย, อินโดนีเซีย, เคนย่า, มาดากัสการ์, มาลายา, เม็กซิโก, เปรู, ฟิลิปปินส์, แอฟริกาใต้ และเวเนซูเอล่า
เกี่ยวกับเอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์
อดีตเอกอัครราชทูตอลัน อ็อกซ์เลย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการค้าเสรีที่มีชื่อเสียง เป็นอดีตประธานของคณะกรรมการจัดทำข้อตกลงด้านภาษีและการค้าที่ส่งให้กับองค์กรการค้าโลก, ประธานศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลียนที่มหาวิทยาลัยโมนาช และเป็นเจ้าของเว็บไซต์ TechCentralStation.com ในเอเชียแปซิฟิค ผลงานการเขียนของเขาเคยผ่านการตีพิมพ์มาแล้วในนสพ. เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล เอเชีย, บางกอก โพสต์ และสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ
ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย ตั้งอยู่ที่มหาวิทยาลัยโมนาช เมืองเมลเบิร์น ออสเตรเลีย ศูนย์ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายศูนย์กลางการศึกษาที่ก่อตั้งขึ้นตามมหาวิทยาลัยต่างๆและกลุ่มนักวิชาการจากประเทศสมาชิกเอเปค โดยประเทศสมาชิกเอเปคทั้ง 21 ราย ประกอบด้วย ออสเตรเลีย, จีน, แคนาดา, ประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง10 ประเทศ, ญี่ปุ่น, สหรัฐฯ, เม็กซิโก, ชิลี, เปรู และรัสเซีย
ที่มา: ศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย
ติดต่อ: อมานดา แฟรงค์ส โทร.+1-202-572-6203 หรือ แซม วัคคอพ โทร.+1-202-572-6275 สำหรับศูนย์กลางการศึกษาเอเปค ออสเตรเลีย
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท (www.asianetnews.net)--

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ