จีนเผยพื้นที่ป่ามากขึ้นสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่เกษตรกร

ข่าวต่างประเทศ Tuesday October 25, 2022 08:04 —Asianet Press Release

จีนเผยพื้นที่ป่ามากขึ้นสร้างรายได้เพิ่มเติมให้แก่เกษตรกร

พื้นที่กว่า 30% ของเขตฉงหมิงปกคลุมด้วยป่าไม้ โดยพื้นที่ป่าไม้ 36,000 เฮกตาร์ในเขตที่เป็นเกาะแห่งนี้ คิดเป็นสัดส่วนเกือบหนึ่งในสามของทั้งหมดในนครเซี่ยงไฮ้

ความครอบคลุมของป่าไม้ในระดับสูงมีบทบาทสำคัญต่อการทำให้อากาศบริสุทธิ์ การอนุรักษ์น้ำ และการควบคุมสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่ปลูกในป่ายังสามารถลดผลกระทบเชิงลบจากลม ความแห้งแล้ง โรค และแมลงศัตรูพืชได้

ระบบนิเวศป่าไม้ประกอบด้วยสัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงหากมีการพัฒนาอย่างสมเหตุสมผล และมีการส่งเสริม "เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรป่าไม้"

สหกรณ์ผู้ประกอบวิชาชีพผลิตสินค้าเกษตรเซี่ยงไฮ้ชงหุย (Shanghai Conghui Agricultural Products Professional Cooperative) ได้เพาะเห็ดมัตสึทาเกะในป่าในเมืองซินชุนโดยใช้ฟางข้าวและปุ๋ยอินทรีย์ คุณหยาง จี้ (Yang Ji) หัวหน้าสหกรณ์ ได้คำนวณว่าผลผลิตเห็ดที่เพาะในป่าเกือบจะเท่ากับที่เพาะในทุ่ง แต่สามารถลดต้นทุนและประหยัดทรัพยากรที่ดินได้อย่างมาก

นอกจากนี้ เขตฉงหมิงยังสำรวจการปลูกสมุนไพรจีนในป่า เช่น กล้วยไม้สกุลหวาย (dendrobium) รวมถึงดอกไม้และพืชที่ชอบร่มเงา

ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร

แม้ว่าจะมีความเชื่อกันอย่างกว้างขวางว่า ความครอบคลุมของป่าไม้ในระดับสูงสามารถช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นได้ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าไม้ผลลำต้นสูง เช่น ต้นส้มและต้นแพร์ ก็ถือเป็นทรัพยากรป่าไม้เช่นกัน โดยป่าผลไม้ของเขตฉงหมิงมีทั้งคุณค่าทางนิเวศวิทยาและทางเศรษฐกิจ

คุณกู เชา (Gu Chao) หัวหน้าของฉงหมิง ลู่หัว อกริคัลเจอรัล เทรด (Chongming Luhua Agricultural Trade Co) กล่าวว่า ราคาขายของลูกแพร์ชุยกวน (Cuiguan Pear) ที่ผลิตในเขตฉงหมิง พุ่งขึ้นกว่า 30% ในปีนี้ และขายหมดเกลี้ยงก่อนสิ้นเดือนกรกฎาคม

คุณกูเชื่อว่าลูกแพร์ของเขตฉงหมิงได้รับความนิยมเพราะคุณภาพที่เหนือกว่า อันเป็นผลมาจากการปลูกเชิงนิเวศและการเจริญเติบโตตามธรรมชาติ ขณะเดียวกัน สภาพแวดล้อมของเกาะยังเหมาะสำหรับการเจริญเติบโตของต้นแพร์ด้วย

"ต้นแพร์เติบโตได้ดี มีศัตรูพืชและโรคน้อยลง" คุณลั่ว จวิ้น (Luo Jun) นักวิจัยจากสถาบันป่าไม้และผลไม้แห่งสถาบันบัณฑิตเกษตรศาสตร์เซี่ยงไฮ้ กล่าว

คุณลั่วกล่าวเสริมว่า ลูกแพร์ชุยกวนได้รับเลือกให้เป็นลูกแพร์พันธุ์หลักที่ปลูกในเขตฉงหมิง เนื่องจากผลการวิจัยบ่งชี้ว่า ค่า pH ของดิน ระดับน้ำใต้ดิน และสภาพภูมิอากาศในเขตฉงหมิง เหมาะสมอย่างยิ่งต่อการเจริญเติบโต

พื้นที่ป่าในเขตฉงหมิงเพิ่มขึ้นพร้อมกับเงินในกระเป๋าของชาวบ้านในเขตฉงหมิง และนี่คือภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าภาคภูมิใจ

ที่มา: สำนักสารสนเทศของรัฐบาลประชาชนเขตฉงหมิงในเซี่ยงไฮ้

ลิงก์รูปภาพประกอบข่าว:

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=432152

คำบรรยายภาพ: พื้นที่กว่า 30% ของเขตฉงหมิงปกคลุมด้วยป่าไม้

ลิงก์: http://asianetnews.net/view-attachment?attach-id=432157

คำบรรยายภาพ: ลูกแพร์ของเขตฉงหมิง


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ