ผลการศึกษาเผยการใช้ยา “ปราซูเกรล” ช่วยลดอาการหัวใจวายที่เกิดขึ้นครั้งแรกหรือเกิดซ้ำทั้งแบบฉับพลันและระหว่างการรักษาในระยะยาว เมื่อเทียบกับการใช้ยา “คลอปิโดเกรล”

ข่าวต่างประเทศ Wednesday September 3, 2008 14:44 —Asianet Press Release

มิวนิค--3 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์
ข้อมูลจากการทดลอง TRITON-TIMI 38 เผยให้เห็นว่า ยาปราซูเกรลช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจวายทั้งที่เกิดขึ้นครั้งแรกหรือเกิด
ซ้ำ เมื่อเทียบกับการใช้ยาคลอปิโดเกรล (7.4% ต่อ 9.7%, p
การศึกษาดังกล่าวเป็นการประเมินประสิทธิภาพของยาปราซูเกรลในการป้องกันการเกิดอาการหัวใจวายทั้งที่เกิดขึ้นครั้งแรกหรือเกิดซ้ำ
ทั้งในแบบที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันหรือระหว่างการรักษาในระยะยาว (15 เดือนขึ้นไป) ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เคยผ่านขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจรวมทั้งหมด 13,608 ราย ทั้งนี้ จากนิยามของ ESC Universal Definition of Myocardial Infarction ระบุว่า การเกิดอาการหัวใจวายทั้งที่เกิดขึ้นครั้งแรกหรือเกิดซ้ำ หมายถึงการเกิดหัวใจวายโดยฉับพลัน (Type 1) หรือระหว่างขั้นตอนการรักษา (Type 4 หรือ 5)(1) ซึ่งผลการศึกษาพบว่า ยาปราซูเกรลช่วยลดการเกิดอาการหัวใจวายแบบฉับพลัน (Type1) ได้ถึง 29% เมื่อเทียบกับการใช้ยาคลอปิโดเกรล (2.5% ต่อ 3.4%, p=0.0015)
และลดการเกิดอาการหัวใจวายซ้ำระหว่างขั้นตอนการรักษา (Type 4 หรือ 5) ได้ถึง 24% เมื่อเทียบกับยาคลอปิโดเกรล (4.9% ต่อ 6.4%, p=0.0002)
การใช้ยาปราซูเกรลในระยะยาวหรือตั้งแต่ 30 วันไปจนถึง 15 เดือน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจวายได้ 23% เมื่อเทียบกับการใช้ยาคลอปิโดเกรล (2.9% ต่อ 3.7%, p=0.01) นอกจากนั้นยาปราซูเกรลยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจวายขั้นรุนแรงในอนาคต
(STEMI) ได้ถึง 50% เมื่อเทียบกับการใช้ยาคลอปิโดเกรล (p=0.0001)
ผลการทดลอง TRITON-TIMI 38 ซึ่งก่อนหน้านี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแพทย์นิวอิงแลนด์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2007 (Vol. 357, No. 20)
ได้มีการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาปราซูเกรลกับยาคลอปิโดเกรลในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งผลปรากฎว่า
ยาปราซูเกรลสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดอุดตันแบบไม่ถึงชีวิต ได้ราว 19% แต่อาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกอย่างหนักมากขึ้นเมื่อเทียบกับยาคลอปิโดเกรล (2.4% ต่อ 1.8%)(2)
หัวใจวาย เป็นอาการหนึ่งซึ่งเด่นชัดที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โดยในแต่ละปีมีผู้คนกว่า 7.2 ล้านคนทั่วโลกที่ต้องเสียชีวิตจากโรคนี้(3)
และในแต่ละปีเฉพาะที่สหรัฐอเมริกาจะมีผู้ป่วยเกิดอาการหัวใจวายกว่า 920,000 ราย โดยเกิดอาการครั้งแรก 600,000 ราย และเกิดอาการซ้ำราว 320,000 ราย(4)
“ผลการศึกษา TRITON-TIMI 38 เผยว่า การใช้ยาปราซูเกรลช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการหัวใจวายทุกประเภท ระยะเวลา และความรุนแรง เมื่อเทียบกับการใช้ยาคลอปิโดเกรล” รศ.ดร.เดวิด มอร์โรว จากวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด และเป็นสมาชิกกลุ่มวิจัยลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด แห่งโรงพยาบาลบริกแฮม แอนด์ วีเมน กรุงบอสตัน ประเทศสหรัฐเมริกา กล่าว
เกี่ยวกับ การทดลอง TRITON-TIMI 38
TRITON-TIMI 38 เป็นการทดลองทางคลีนิคเฟส 3 แบบสุ่มและไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทั้งกับแพทย์และผู้ถูกทดลอง โดยมีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาปราซูเกรลกับยาคลอปิโดเกรล ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่เคยผ่านขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ ทั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้มีผู้ป่วยเข้าร่วมทั้งหมด 13,608 คน ในศูนย์การทดลอง 707 แห่ง ใน 30 ประเทศทั่วโลก
วัตุประสงค์หลักของการทดลองคือ การเปรียบเทียบผลของการใช้ยาปราซูเกรลกับยาคลอปิโดเกรลที่มีต่ออัตราการเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ, ภาวะหัวใจวายและหลอดเลือดอุดตันแบบไม่ถึงชีวิต ในช่วงระยะเวลาอย่างน้อย 12 เดือนหลังผู้ป่วยผ่านขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจ
โดยผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการทดลองจะถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มด้วยการสุ่ม กลุ่มหนึ่งได้รับยาปราซูเกรล 60 มก. ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับยาคลอปิโดเกรล 300 มก. หนึ่งครั้งระหว่างการทดลองสุ่ม และอีกครั้ง 1 ชั่วโมงหลังสิ้นสุดขั้นตอนการขยายหลอดเลือดหัวใจ ต่อด้วยการรับยาปราซูเกรล 10 มก.
หรือยาคลอปิโดเกรล 75 มก. ทุกวันระหว่างการพักฟื้น นอกจากนั้นผู้ป่วยทุกคนจะได้รับยาแอสไพรินในระดับต่ำทุกวันด้วย
เกี่ยวกับ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลัน
โรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันมีต้นตอมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการหัวใจวายและเจ็บหน้าอก โดยในสหรัฐอเมริกามีผู้ที่ต้องทนทุกข์ทรมานจากโรคดังกล่าวกว่า 1.4 ล้านคนต่อปี(5) และในสหภาพยุโรปมีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้กว่า 741,000 ต่อปี(6) โดยอาการหนึ่งซึ่งเด่นชัดที่สุดของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออาการหัวใจวาย ซึ่งเกิดจากการที่มีคอเลสเตอรัลและไขมันอุดตันเส้นเลือดมากเกินไปจนเลือดไม่สามารถไหลเข้าสู่หัวใจได้ และในบางกรณีตัวเลือดเองก็เกิดการจับตัวเป็นก้อนจนอุดตันเส้นเลือดทำให้เลือดไม่สามารถผ่านเข้าสู่หัวใจได้ ส่งผลให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบเฉียบพลันในที่สุด(7) ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนมากต้องได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจด้วย
เกี่ยวกับ ปราซูเกรล
บริษัท ไดอิจิ ซังเกียว จำกัด (TSE: 4568) และ อีไล ลิลลี่ แอนด์ คอมพานี (NYSE: LLY) ได้ร่วมกันพัฒนาปราซูเกรล ซึ่งเป็นยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือดแบบรับประทานที่คิคค้นโดยไดอิจิ ซังเกียว และหุ้นส่วนญี่ปุ่นอย่าง อูเบะ อินดัสทรี จำกัด สำหรับรักษาผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันและรุนแรงที่ได้รับการรักษาด้วยPCI ปราซูเกรลออกฤทธิ์ยับยั้งการสะสมของเกล็ดเลือดโดยการหยุดเซลล์ตัวรับของสารประกอบที่มีพลังงานสูง (adenosine diphosphate - ADP) บนผิวของเกล็ดเลือด ตัวละลายลิ่มเลือดป้องกันเกล็ดเลือดจากการเกาะกลุ่ม หรือการติดกัน ที่สามารถช่วยลดการอุดตันในหลอดเลือด และอาจนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจหรือเส้นเลือดสมองอุดตันได้
เกี่ยวกับ ไดอิจิ ซังเกียว
บริษัท ไดอิจิ ซังเกียว จำกัด ก่อตั้งในปี 2005 จากการควบรวมของบริษัทยาเก่าแก่ของญี่ปุ่นสองแห่ง กำเนิดเป็นองค์กรชั้นนำที่พัฒนายาใหม่ๆ
อย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั่วโลก บริษัทให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาด้านโรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็ง กระบวนการเผาผลาญอาหาร และโรคติดเชื้อ เพื่อเป็นรากฐานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต่อไป
เกี่ยวกับ อีไล ลิลลี่ แอนด์ คอมพานี
ลิลลี่ เป็นบรรษัทชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม และกำลังพัฒนาประวัติผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์เป็นครั้งแรกในประเภทนั้นๆ และดีที่สุดในประเภทนั้นๆ
ด้วยการปรับใช้ผลการวิจัยล่าสุดจากห้องทดลองทั่วโลกของบริษัทและจากองค์กรทางการแพทย์ที่มีความร่วมมือระหว่างกัน ลิลลี่ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองอินเดียนาโปลิส มลรัฐอินเดียน่า ลิลลี่หาคำตอบให้กับความต้องการทางการแพทย์ที่เร่งด่วนที่สุดในโลก ผ่านทางเวชภัณฑ์และข้อมูล
ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ประกอบด้วยข้อความเชิงคาดการณ์ล่วงหน้าถึงความเป็นไปได้ของปราซูเกรลที่กำลังอยู่ในระหว่างการทดลอง (CS-747, LY640315) และสะท้อนถึงความเชื่อในปัจจุบันของไดอิจิ ซังเกียว และลิลลี่ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับยาที่อยู่ในระหว่างการพัฒนาทั่วไป จึงย่อมมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนในกระบวนการพัฒนาและการตรวจสอบทางกฏหมายเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการรับประกันว่ายาที่อยู่ในระหว่างการทดลองจะสามารถจำหน่ายได้ สำหรับความเสี่ยงและความไม่แน่นอนอื่นๆ สามารถดูได้จากเอกสารที่ลิลลี่ยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลัก
ทรัพย์ของสหรัฐอเมริกา และเอกสารที่ไดอิจิ ซังเกียว ยื่นต่อตลาดหลักทรัพย์โตเกียว ไดอิจิ ซังเกียว และลิลลี่
ไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการปรับปรุงคำแถลงการณ์เกี่ยวกับอนาคตเหล่านี้
Plavix(R)/Iscover(R) เป็นเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของ ซาโนฟิ อาว็องทิส
1. Type 1: อาการหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันจากหลอดเลือดหัวใจอุดตันType 2:
อาการหัวใจขาดเลือดขั้นที่สองอันเป็นผลมาจากการที่หัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้นหรือหัวใจสูบฉีดเลือดได้น้อยลง
Type 4/Type 5:
อาการหัวใจขาดเลือดหลังการผ่าตัดขยายหลอดเลือดหัวใจ/การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
Thygesen K et al. Universal Definition of Myocardial Infarction.
EHJ(2007);28:2525-2538 http://www.escardio.org/guidelines-surveys/esc-
guidelines/GuidelinesDocuments/guidelines-universal-MI-FT.pdf. Accessed August
13, 2008.
2. Wiviott, S, Braunwald, E, et al. Prasugrel versus Clopidogrel
in
Patients with Acute Coronary Syndromes. New England Journal of Medicine.
November 2007;357:2001-15.
3. World Health Organization. The Atlas of Heart Disease and
Stroke -
Deaths from Coronary Heart Disease.
http://www.who.int/cardiovascular_diseases/en/cvd_atlas_14_deathHD.pdf.
Accessed August 13, 2008.
4 .American Heart Association. Heart Disease and Stroke
Statistics - 2008
Update.
http://www.americanheart.org/downloadable/heart/1200082005246HS_Stats%202008.f
inal.pdf. Accessed August 13, 2008.
5 .American Heart Association. Heart Disease and Stroke
Statistics - 2008
Update.
http://www.americanheart.org/downloadable/heart/1200082005246HS_Stats%202008.f
inal.pdf. Accessed August 13, 2008.
6. British Heart Foundation Health Promotion Research Group.
European
Cardiovascular Disease Statistics 2008,
http://www.ehnheart.org/files/statistics%202008%20web-161229A.pdf, Accessed
August 13, 2008.
7. WebMD Medical Reference in Collaboration with the Cleveland
Clinic.
Heart Disease: Coronary Artery Disease. http://www.webmd.com/heart-
disease/guide/heart-disease-coronary-artery-disease. Accessed August 13, 2008.
(โลโก้: http://www.newscom.com/cgi-bin/prnh/20061120/DSLLOGO )
แหล่งข่าว: อีไล ลิลลี่ แอนด์ คอมพานี
ติดต่อ: อีไล ลิลลี่ แอนด์ คอมพานี
แคโรล โคปแลนด์
โทรศัพท์: +1-317-277-3661
มือถือ: +1-317-610-6196
แทมมี่ ฮัลล์ (สหรัฐอเมริกา)
โทรศัพท์: +1-317-651-9116
มือถือ: +1-317-614-5132
ไดอิจิ ซังเกียว (สหรัฐอเมริกา)
คิม วิกซ์
โทรศัพท์: +1-973-695-8338
มือถือ: +1-908-656-5447
ไดอิจิ ซังเกียว (โตเกียว)
ชิเกมิจิ คอนโดะ
โทร: 81-3-6225-1126
ภาพข่าว: นิวส์คอม:
http://www.newscom.com/cgi-bin/prnh/20061120/DSLLOGO
พีอาร์เอ็น: photodesk@prnewswire.com
--เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ