ผลวิจัยล่าสุดเผยยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

ข่าวต่างประเทศ Wednesday September 16, 2009 09:00 —Asianet Press Release

อิสตันบูล--16 ก.ย.--พีอาร์นิวส์ไวร์ — เอเชียเน็ท / อินโฟเควสท์ ผลวิจัยล่าสุดเผยยาต้านอาการซึมเศร้า Valdoxan(R)/Thymanax(R) (agomelatine) มีประสิทธิภาพสูงกว่ายาต้านอาการซึมเศร้ากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitor (SSRI) (fluoxetine) และยากลุ่ม serotonin noradrenalin reuptake inhibitor (SNRI) เมื่อใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคซึมเศร้าอย่างรุนแรง[1] โดยข้อมูลดังกล่าวจะได้รับการนำเสนอในวันนี้ที่การประชุมวิชาการระดับนานาชาติ (Servier Satellite Symposium) ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งของการประชุมระดับนานาชาติโดยผู้เชี่ยวชาญการใช้ยาและเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับผลของยาต่อโรคจิตและประสาทแห่งยุโรปครั้งที่ 22 (22nd European College of Neuropsychopharmacology หรือ ECNP) ข้อมูลใหม่ที่ได้ช่วยสนับสนุนผลทดสอบในผู้ป่วยกว่า 6,000 คนและผลตอบรับเบื้องต้นจากนานาประเทศ ที่ยืนยันว่ายา Valdoxan(R) ซึ่งเป็นยาต้านอาการซึมเศร้าแบบ melatonergic ตัวแรก มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในทุกขั้นตอนเมื่อเทียบกับยาต้านโรคซึมเศร้าทั่วไป ซึ่งประสิทธิภาพในการรักษาและการต้านทานโรคนี่เองที่ส่งผลให้ยา Valdoxan(R) เป็นทางเลือกแรกสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า ไม่ว่าจะมีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหนก็ตาม “ผลวิจัยล่าสุดบวกกับหลักฐานที่มีอยู่แล้วแสดงให้เห็นว่ายา Valdoxan(R) เป็นทางเลือกใหม่ที่ดีกว่าสำหรับการรักษาโรคซึมเศร้า แม้จะอยู่ในขั้นรุนแรงแล้วก็ตาม” ศจ.ซิดนีย์ เคนเนดี หัวหน้าจิตแพทย์จากเครือข่ายสุขภาพและผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยา มหาวิทยาลัยโทรอนโต แคนาดา กล่าว “แม้ปัจจุบันจะมียาต้านโรคซึมเศร้ามากมาย แต่ยาเหล่านั้นก็ไม่สามารถจัดการกับโรคซึมเศร้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่ยา Valdoxan(R) สามารถจัดการกับโรคซึมเศร้าได้อย่าง ชะงัด ซึ่งจะสร้างอนาคตที่สดใสให้กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าต่อไป” ข้อมูลใหม่[1] การวิจัยครั้งนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่สูงกว่าของยาต้านอาการซึมเศร้า agomelatine เมื่อเทียบกับยาต้านกลุ่ม SSRI fluoxetine โดยเป็นการทดสอบแบบสุ่มระดับนานาชาติในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอาการรุนแรง 515 คน ซึ่งทั้งผู้ทดสอบและผู้ถูกทดสอบไม่รู้ว่าใครได้รับยาอะไร นอกจากนั้นยังต้องมีการวัดระดับความรุนแรงของอาการซึมเศร้าด้วยมาตรฐาน 2 อย่าง ได้แก่ HAM-D17 และ CGI-Severity of Illness สำหรับผู้ป่วยที่เข้าร่วมการทดลองครั้งนี้เป็นผู้ที่มีคะแนนทดสอบ HAM-D17 เท่ากับหรือสูงกว่า 25 คะแนน และมีคะแนนทดสอบ CGI-Severity of Illness เท่ากับหรือสูงกว่า 4 คะแนน จากนั้นผู้ป่วยจะถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มหนึ่งจะได้รับยา agomelatine 25 มิลลิกรัม / 50 มิลลิกรัม ส่วนอีกกลุ่มได้รับยา fluoxetine 20 มิลลิกรัม / 40 มิลลิกรัม เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ (อาจมีการปรับขนาดยาให้สูงขึ้นหลังผ่านไปแล้ว 2 หรือ 4 สัปดาห์ตามลำดับ) ผลทดสอบปรากฎว่ายาต้านอาการซึมเศร้า agomelatine มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายา fluoxetine (P=0.024) อย่างมาก โดยผู้ป่วยที่ใช้ยา agomelatine มีคะแนน baseline หลังการทดสอบ HAM-D17 ลดลงเหลือเพียง 1.49 คะแนน โดยผู้ป่วยที่ได้รับยา agomelatine ที่มีคะแนน HAM-D17 ลดลง (ลดลงจากคะแนน baseline ก่อนการทดสอบเท่ากับหรือมากกว่า 50%) มีมากถึง 71.7% เทียบกับ 63.8% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา fluoxetine (P=0.060) นอกจากนั้นผู้ป่วยที่ได้รับยา agomelatine ที่มีคะแนน CGI-Severity of Illness ลดลง (คะแนน CGI = 1 หรือ 2 คะแนน; P=0.023) ยังมีมากถึง 77.7% เทียบกับ 68.8% ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา fluoxetine สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าแล้ว ยาต้านอาการซึมเศร้า Valdoxan(R) ที่มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาต้านทั่วไป จะช่วยให้พวกเขามีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งจะส่งผลให้พวกเขามีชีวิตการทำงาน ชีวิตครอบครัว และชีวิตทางสังคมที่ดีขึ้นอย่างมาก โครงการพัฒนาระดับนานาชาติสำหรับยา Valdoxan(R) การทดสอบหลายต่อหลายครั้งในโครงการพัฒนาระดับนานาชาติได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เหนือกว่าของยา Valdoxan(R) ในการรักษาผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เมื่อเทียบกับยา placebo (ยาที่มีผลทางจิตใจแต่ไม่มีฤทธิ์ในการรักษา), ยากลุ่ม SSRI และ SNRI โดยผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า: - ยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการต้านอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าทั้งหมด ไม่ว่าจะมีความรุนแรงของอาการมากน้อยแค่ไหนก็ตาม[1] - ยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพสูงกว่าในการต้านอาการซึมเศร้าในทุกขั้นตอนของการรักษา โดยผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นมากตั้งแต่ใช้ยาสัปดาห์แรก จากการยืนยันของแพทย์และตัวผู้ป่วยเอง[2] [3] - ยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพและสามารถลด อาการหลักทุกอาการของโรคซึมเศร้า ได้แก่ ลดอารมณ์เศร้า ลดอาการกระวนกระวาย ลดความรู้สึกผิดและโทษตัวเอง ลดอาการความคิดและการเคลื่อนไหวเชื่องช้า ลดอาการนอนไม่หลับ และอาการเพลียในช่วงกลางวัน และยาสามารถช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายได้อย่างเต็มที่[4] - ยา Valdoxan(R) ช่วยลดโอกาสที่ผู้ป่วยจะกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าซ้ำได้ในระยะยาว[3] - ยา Valdoxan(R) ไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของฮอร์โมนเพศ และไม่มีผลรบกวนสมรรถนะทางเพศ และผู้ป่วยยอมรับยาได้ดีมาก ดังนั้นจึงเป็นที่พึงพอใจของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า[5] - ยา Valdoxan(R) รับประทานได้อย่างง่ายดายและสะดวก เพียงทานยาขนาด 25 มิลลิกรัมวันละ 1 เม็ดก่อนนอน โดยผู้ป่วยจะไม่กลับมามีอาการอีกเมื่อสิ้นสุดการรักษา[6] Valdoxan(R): เป็นนวัตกรรมและความก้าวหน้าใหม่ที่ดีในการรักษาโรคซึมเศร้าโดยเฉพาะเหมาะมากกับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่พบได้ทั่วๆไป และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตแบบปกติได้ดีในการดำเนินชีวิตประจำวัน ยา Valdoxan(R) เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความก้าวหน้าในการวิจัยด้านเภสัชวิทยาของศูนย์วิจัยทั่วโลก และเป็นยาต้านอาการซึมเศร้าตัวแรกที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนตัวรับ MT1 และ MT2 melatonergic receptors agonist และตัวต้าน 5-HT2C antagonist ซึ่งทำให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าสามารถปรับรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันที่ยุ่งเหยิงแบบฝังรากลึกให้ดีขึ้นได้[7] “ยา Valdoxan(R) มีประสิทธิภาพบรรเทาอาการซึมเศร้าได้อย่างรวดเร็ว และยังช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงด้วย” ศจ.ดร.ฟิลิป กอร์วู้ด จากแผนกจิตเวช โรงพยาบาลเซนต์ แอน ในปารีส ฝรั่งเศส กล่าว “ยา Valdoxan(R) มีกลไกการทำงานแตกต่างจากยาต้านอาการซึมเศร้าโดยทั่วไปอย่างยากลุ่ม SSRI และ SNRI เนื่องจากยา Valdoxan(R) ขจัดอาการซึมเศร้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพโดยไม่ส่งผลกระทบต่อระดับสารเซโรโทนินในสมองของผู้ป่วย” ทั้งนี้ ยา Valdoxan(R) คิดค้นและพัฒนาโดยเซอร์เวียร์ บริษัทวิจัยและพัฒนายาชั้นนำของฝรั่งเศส และยา ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในสหภาพยุโรปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปัจจุบันยาตัวนี้มีวางจำหน่ายในหลายประเทศทั่วโลก แถลงการณ์ที่มีขึ้นในภายหลังไม่ได้อ้างถึงกับความคิดเห็นของที่ประชุม ECNP ตามข้อตกลงที่ 25.5 ของที่ประชุม ECNP และแนวทางด้านนโยบายของบริษัทอุตสาหกรรมวิจัยแลพัฒนายา (ตุลาคม พ.ศ. 2551) การสัมมนาและประชุมวิชาการระดับนานาชาติของเซอร์เวียร์ เป็นกิจกรรมหนึ่งของการประชุมนานาชาติที่เกี่ยวกับผลของยาต่อโรคจิตและประสาทแห่งยุโรปครั้งที่ 22 (22nd European College of Europsychopharmacology หรือ ECNP) ได้รับการสนับสนุนงบประมาณโดยเฉพาะด้านการศึกษาจากเซอร์เวียร์ หมายเหตุถึงบรรณาธิการ โรคซึมเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นอาการบกพร่องทางจิตที่พบได้บ่อย โดยมีผู้ป่วยกว่า 121 ล้านคนทั่วโลก ถึงกระนั้นก็ยังป็นโรคที่ไม่ค่อยได้รับการวินิจฉัยหรือรักษามากเท่าที่ควร[8] ปัจจุบันในยุโรปมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามากถึง 60 ล้านคน และราว 33.4 ล้านคนจากทั้งหมดเป็นโรคซึมเศร้าขั้นรุนแรง[9] โดยองค์การอนามัยโลกรายงานว่าโรคซึมเศร้าเป็นสาเหตุหลักอันดับ 4 ที่ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้ไร้สมรรถภาพ และคาดว่าภายในปี พ.ศ.2563 จะแซงขึ้นมาเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหัวใจเท่านั้น สำหรับผู้ป่วยหลายคน โรคซึมเศร้าเป็นโรคเรื้อรังและกำเริบใหม่ได้ โดยเกือบ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยโรคซึมเศร้ายังคงมีอาการซึมเศร้าหลังเวลาผ่านไป 1 ปี และกว่า 10% ยังมีอาการซึมเศร้าแม้เวลาจะผ่านไปแล้วถึง 5 ปี นอกจากนั้นกว่า 50% ของผู้ป่วยที่มีอาการดีขึ้นแล้วก็กลับมามีอาการซึมเศร้าอีก[10] Monica Gounaropoulos, Tonic Life Communications (tel +44 20 7798 9910) monica.g@toniclc.com or Claire Mosley, Tonic Life Communications (tel +44 20 7798 9926) claire.mosley@toniclc.com อ้างอิง 1. Hale A, Corral R, Mencacci O, Saiz Ruiz J, Gentil V. Superior efficacy of agomelatine vs fluoxetine in severe MDD patients: a randomised, double-blind study 2. Kasper S, Laigle L, Bayle F. Eur Neuropsychopharmacol. 2008;18(suppl4):S336.Abstract P2c022. 3. Goodwin G, Rouillon F, Emsley R. Eur Neuropsychopharmacol. 2008;18(suppl4):S338. Abstract P2c025. 4. Lemoine P, Guilleminault C, Alvarez E. J Clin Psychiatry. 2007;68:1723-1732. 5. Kennedy SH, Rizvi S, Fulton K, Rasmussen J. J Clin Psychopharmacol. 2008;28:329-333. 6. Montgomery SA, Kennedy SH, Burrows GD, Lejoyeux M, Hindmarch I. Int Clin Psychopharmacol. 2004;19:271-280 7. Leproult R, Van Ondergergen A, L'Hermite-Baleriaux M, Van Cautert E, Copinschi G. Clin Endocrinol. 2005;63:298-304. 8. http://www.who.int/mental_health/management/depression/definition/en/ (accessed 20 July 2009) 9. WHO Europe, Mental health in the WHO European Region Fact sheet EURO/03/03, 8 September 2003 10. Prevalence, burden and diagnosis - Chapter One, Page One, 5 April 2007 แหล่งข่าว: เซอร์เวียร์ --เผยแพร่โดย เอเชียเน็ท ( www.asianetnews.net ) --

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ