อลงกรณ์โรดโชว์เอเชียใต้ ดันการค้าเสรีบิมสเทค เสริมความร่วมมือภาคเอกชน

ข่าวทั่วไป Friday December 31, 2010 15:38 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

‘พาณิชย์’ นำทีมภาครัฐและเอกชน เยือนประเทศบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกาเพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการส่งเสริมความร่วมมือด้านต่างๆ ระหว่างไทยกับเอเชียใต้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น สร้างโอกาสให้นักธุรกิจไทยขยายการค้า และการลงทุน สู่เอเชียใต้ พร้อมผลักดันการเจรจาการค้าเสรีในกลุ่มบิมสเทคให้บรรลุผลสำเร็จภายในการประชุมระดับเจ้าหน้าที่ ที่จะมีขึ้นในเดือนมกราคม 2554

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ตนจะเป็นหัวหน้าคณะนำผู้แทนภาครัฐ ภาคเอกชน และตัวแทนสมาคม เดินทางเยือนประเทศบังกลาเทศ อินเดีย และศรีลังกา ในระหว่างวันที่ 19-23 ธันวาคม ศกนี้ ซึ่งจะได้พบหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ (นาย Muhammad Faruk Khan) และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและพาณิชย์ศรีลังกา (นาย Jayaratne Herath) เพื่อขอให้สนับสนุนการการเจรจา BIMSTEC FTA ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยเฉพาะเรื่องการสรุปผลการจัดทำความตกลงการค้าสินค้า ที่จะระบุแนวทาง และระยะเวลาการเปิดเสรีสินค้าระหว่างกัน

นอกจากนี้ ตามที่ได้มีโอกาสเดินทางไปอินเดียครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม ที่ผ่านมา ได้มีโอกาสหารือกับรัฐมนตรีกระทรวงการขนส่งทางถนนและทางหลวงอินเดีย (นาย Kamal Nath) โดยทั้งไทยและอินเดียเห็นพ้องกันว่าควรจะส่งเสริมโอกาสให้นักธุรกิจไทยได้มีโอกาสเข้าไปร่วมประมูลงานก่อสร้างในอินเดียให้มากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันอินเดียมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในประเทศจำนวนมาก เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากร และการขยายตัวของเมืองธุรกิจในรัฐต่างๆ โดยเฉพาะถนน ทางด่วน ดังนั้น เพื่อต่อยอดการดำเนินการเรื่องดังกล่าว จึงจะเชิญนักธุรกิจสาขาก่อสร้างของอินเดียมาหารือด้วย และจะได้เข้าพบกับรัฐมนตรีช่วยกระทรวงการขนส่งทางถนนและทางหลวงอินเดีย (นาย Ratanjit P.N. Singh) พร้อมผลักดัน ระบบโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระบบการค้า การขนส่งระหว่างไทยกับกลุ่มบิมสเทค หรือประเทศในอ่าวเบงกอล เพื่อรองรับการค้าที่จะขยายตัวเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งผลักดันการพัฒนาทางหลวงเส้นสำคัญในอินเดีย เพื่อเชื่อมระบบคมนาคมระหว่างอินเดีย-บังกลาเทศ-พม่า และไทย

นายอลงกรณ์ กล่าวต่อว่า อินเดียเป็นประเทศขนาดใหญ่ มีพื้นที่มากกว่าประเทศไทยถึง 6 เท่า แต่ก็มีพื้นที่บางส่วนของอินเดียที่เรียกว่าภาคตะวันออกฉียงเหนือ (North Eastern Region: NER) ที่มีระยะทางไม่ห่างไกลจากประเทศไทยมากนัก มีเพียงประเทศพม่าคั่นกลาง และเป็นภูมิภาคที่มีความน่าสนใจตรงที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ แต่การพัฒนาของเศรษฐกิจในภูมิภาคยังไม่เติบโตเท่าที่ควร และยังมีความต้องการพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอีกมาก รัฐบาลอินเดียจึงได้ตั้งกระทรวงการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Ministry of Development of North Eastern Region) ขึ้น เพื่อดูแลการพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่บริเวณนี้โดยเฉพาะ และได้ชักจูงให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนด้วยการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนอย่างเต็มที่ ดังนั้น จึงนับเป็นโอกาสอันดีที่ไทยจะขยายการลงทุนสู่ภูมิภาค NER โดยเฉพาะสาขาที่ไทยมีศักยภาพ ทั้งก่อสร้าง ท่องเที่ยว พลังงาน และอาหารแปรรูป เป็นต้น และการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับภูมิภาค NER ซึ่งมีชายแดนติดต่อพม่า และบังกลาเทศ จะส่งผลต่อการเสริมสร้างการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอินเดีย พม่าบังกลาเทศ และไทย ซึ่งเป็นประตูไปสู่ตลาดใหม่ที่สำคัญของไทย ที่มีประชากรนับพันล้านคน ซึ่งจะได้หารือแนวทางเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้า การลงทุนระหว่างไทยกับ NER กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย (นาย Bijoy Krishna Handique) ด้วย

“ความร่วมมือระหว่างภาครัฐแล้ว ภาคเอกชนนับว่ามีส่วนสำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ยังขาดข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของตลาดแต่ละประเทศ กฎระเบียบ ข้อบังคับ รวมถึงสิทธิประโยชน์ที่จะส่งเสริมการค้า และการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งกิจกรรมระหว่างภาคเอกชนไทย และเอกชนในประเทศเอเชียใต้ ยังนับว่ามีน้อยมาก โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนของคณะผู้แทนภาคธุรกิจ ที่จะเปิดโอกาสให้นักธุรกิจได้ทำความรู้จัก คุ้นเคยกัน ไทยจึงจะเสนอให้มีการจัดประชุม Business Summit Forum ระหว่างไทยกับประเทศต่างๆ ขึ้นที่ประเทศไทย และจะขอให้ภาคเอกชนทั้ง สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมบังกลาเทศ—ไทย สภาธุรกิจศรีลังกา-ไทย รวมทั้งภาคเอกชนไทย ให้การสนับสนุนจัดกิจกรรมดังกล่าว เพื่อเปิดโอกาสให้นักธุรกิจได้รับทราบถึงศักภาพของแต่ละประเทศ และแลกเปลี่ยนข้อมูล ข้อคิดเห็นทางการค้า และ การลงทุนระหว่าง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ