สถานการณ์หลังอุบัติภัยแผ่นดินไหวกับผลกระทบต่อตลาดอาหารในญี่ปุ่นสานักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

ข่าวทั่วไป Friday April 1, 2011 14:17 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

จากอุบัติภัยแผ่นดินไหวระดับ 9.0 ตามด้วยคลื่นซึนามิ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นอกจากบ้านเรือนชุมชน โรงกลั่นน้ามัน 6 แห่ง และเส้นทางคมนาคมในพื้นที่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ใกล้ศูนย์กลางแผ่นดินไหวได้รับความเสียหาย ระบบการขนส่งทางานได้ไม่เต็มที่ ระบบสาธารณูปโภคในบางพื้นที่รวมทั้งจังหวัดใกล้เคียง และเขตรอบนอกโตเกียวถูกตัด กอรปกับความตื่นตระหนกของผู้คนในเขตคันโต ทาให้น้าดื่ม และอาหารโดยเฉพาะอาหารพร้อมรับประทาน อาหารกึ่งสาเร็จรูป ที่เตรียมรับประทานได้สะดวก ในพื้นที่อุบัติภัย โตเกียว และจังหวัดใกล้เคียงจาหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว รวมทั้งน้ามันเชื้อเพลิงที่มีจากัดส่งผลต่อระบบ logistics สาหรับอาหาร และสิ่งของจาเป็นต่อชีวิตประจาวันขัดข้องไปด้วย

และต่อมาเมื่อเกิดปัญหาในระบบหล่อเย็นของเตาปฎิกรณ์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ หมายเลข 1 ที่จังหวัด Fukushima ซึ่งสร้างความหวาดระแวงในการแพร่กระจายกัมมันตภาพรังสีในอากาศ จนเมื่อ 4-5 วันหลังซึนามิ ทางการญี่ปุ่นต้องอพยพคนอออกจากพื้นที่ใกล้เคียงโรงไฟฟ้า และหลายประเทศแนะนาให้คนของชาติตนออกจากพื้นที่ใกล้เคียงรวมทั้งโตเกียว

1 สัปดาห์กว่าๆ หลังภัยพิบัติ ญี่ปุ่นประสบอีกปัญหาสาคัญที่สร้างความวิตกในวงกว้าง คือ เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2554 ได้มีการตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในน้านมที่ผลิตจากจังหวัด Fukushima และผักโขมจาก Fukushima และพื้นที่ใกล้เคียง

แม้ผักและนมที่ตรวจพบสารปนเปื้อน จะพบในพื้นที่ใกล้เคียงกับโรงไฟฟ้า และรัฐบาลประกาศผลการตรวจสอบว่า ปริมาณกัมมันตภาพรังสีที่ปนเปื้อนจะอยู่ในอาหารเพียงบางตัวอย่างที่ตรวจสอบ โดยอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ แต่เพื่อคลายความกังวล และลดความหวาดระแวงของผู้บริโภค ทางการญี่ปุ่น สั่งห้ามนาน้านมดิบจากจังหวัด Fukushima และ ผักโขม จากจังหวัด Fukushima, Ibaraki, Tochigi และ Gunma ออกจาหน่ายในตลาด ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม 2554 ซึ่งส่งผลให้ปริมาณผักโขมที่ส่งเข้าตลาดค้าส่งผักผลไม้ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น คือ ตลาด Ota ของ Tokyo Metropolitan Central Wholesale Market ลดลงเหลือประมาณครึ่งหนึ่งจากปริมาณเมื่อสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผลผลิตผักโขมจาก 4 จังหวัดข้างต้นมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของผักชนิดนี้ในตลาดกลางของโตเกียว

ล่าสุดเมื่อวันพุธที่ 23 มีนาคม กระทรวงสาธารณสุขญี่ปุ่น ได้ประกาศเตือนไม่ให้บริโภค ผัก 11 ชนิดที่ปลูกในจังหวัด Fukushima ซึ่งตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีระดับเกินกว่าที่กฎหมายกาหนด ได้แก่ ผักโขม บรอคคอลี ผักกวางตุ้ง “komatsuna” กะหล่าปลี ดอกกะหล่า และกะหล่าปลีพันธุ์ท้องถิ่นชนิดต่างๆ เป็นต้น

นอกเหนือจากการติดตามการปนเปื้อนในอาหารโดยตรงแล้ว หลังจากที่ตรวจพบสารกัมมันตภาพรังสีสูงกว่าระดับที่กาหนด ในทะเลบริเวณใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ใน Fukushima กระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จะทาการวิเคราะห์น้าทะเลในบริเวณ 30 กิโลเมตรรอบเขตโรงไฟฟ้าดังกล่าว และแม้ว่าน้าทะเลจะที่มีระดับสารกัมมันตภาพรังสีเข้มข้นเกินกว่าระดับปกติ จะไม่ส่งผลกระทบต่อร่างกายมนุษย์โดยทันที ทางการญี่ปุ่นประกาศว่าจะศึกษารายละเอียดความเป็นไปได้ในการส่งผลต่อผลิตภัณฑ์ประมงในอนาคตต่อไป

วิกฤตการณ์สืบเนื่องจากแผ่นดินไหวรุนแรงในญี่ปุ่นครั้งนี้ ส่งผลต่อปริมาณการผลิตอาหารในญี่ปุ่น ทั้งโดยตรง คือ เรือและอุปกรณ์ประมงในพื้นที่อุบัติภัยได้รับความเสียหาย เกิดการปนเปื้อนในอาหารที่ผลิตในพื้นที่ รวมทั้งเกิดผลกระทบที่สืบเนื่อง เช่น โรงงานแปรรูปอาหารในจังหวัดอื่นที่มีมาตรการตัดกระแสไฟฟ้าในบางเวลา เพื่อการประหยัดพลังงาน เช่น โรงงานผลิตไส้กรอก และอาหารแปรรูปในจังหวัดชิบะ ที่ต้องหยุดทางานและล้างเครื่องจักรผลิตอาหารก่อนเวลาไฟฟ้าดับ ส่งผลให้ปริมาณการผลิตลดลง นอกจากนี้ สารกัมมันตภาพรังสี cesium ที่มี half-life นานกว่า Iodine-131 มาก ได้ก่อให้เกิดความกังวลต่อการบริโภคอาหารทะเล

ทั้งนี้ จังหวัดใกล้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีปัญหา ต่างเป็นแหล่งผลิตอาหารสาคัญของประเทศ ได้แก่ ข้าว ผัก ผลไม้ สินค้าประมง รวมทั้งเนื้อสัตว์ โดยอัตราพึ่งพาตนเองด้านอาหารเมื่อปี 2550 ของจังหวัด Iwate, Fukushima, Miyagi, Tochigi และ Ibaraki อยู่ในระดับร้อยละ 70-104 ขณะที่อัตราเฉลี่ยทั้งประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ร้อยละ 41 โดยอาหารที่ญี่ปุ่นพึ่งพาตนเองในอัตราสูงสุด คือ ข้าวเกือบร้อยละ 100 อาหารชนิดอื่นๆ เช่น ผักสด ร้อยละ 79 ปลาและสัตว์ทะเลมีเปลือกร้อยละ 62 ผลไม้ร้อยละ 37 ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ร้อยละ 17 ข้าวสาลีร้อยละ 14 เป็นต้น

ผลกระทบจาก เหตุการณ์แผ่นดินไหว ในระยะสั้นที่หลายพื้นที่ยังต้องใช้มาตรการประหยัดพลังงาน การใช้ชีวิตประจาวันยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติอย่างเต็มที่ อาหารปรุงสาเร็จ หรือเตรียมรับประทานสะดวกจึงจาหน่ายได้ดี ขณะที่ความหวาดระแวงสารกัมมันตภาพรังสี ทาให้ผู้บริโภคญี่ปุ่น พิถีพิถันในการเลือกซื้อสินค้าอาหารมากขึ้น เช่น ความต้องการผักชนิดรับประทานใบ ปลาและอาหารทะเลสดมีปริมาณลดลง ผู้ซื้อพิจารณาแหล่งผลิตของอาหารพิถีพิถันกว่าเดิม ซึ่งปกติอาหารเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอาหารสดที่วางจาหน่าย หากผลิตในญี่ปุ่นจะระบุจังหวัด และ/หรือเมืองที่ผลิต ส่วนสินค้านาเข้าจะระบุประเทศผู้ผลิต

การนาเข้าอาหารของญี่ปุ่นและโอกาส

ในปี 2553 ญี่ปุ่นนาเข้าอาหารจากทั่วโลกมูลค่า 51,327 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สหรัฐอมริกาเป็นแหล่งนาเข้าอาหารสาคัญอันดับ 1 มูลค่าถึง 12,070 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นร้อยละ 23.5 ของมูลค่าที่ญี่ปุ่นนาเข้าจากทุกแหล่ง จีนมีสัดส่วนร้อยละ 14.2 ส่วนไทยมีสัดสัดส่วนร้อยละ 6.6 มูลค่าสินค้าอาหารจากไทยมีมูลค่า 3,383 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าอาหารสาคัญที่ญี่ปุ่นนาเข้า ได้แก่ อาหารทะเลสดและแช่แข็ง ปี 2553 นาเข้ามูลค่า 11,659 ล้านเหรียญฯ แหล่งนาเข้าสาคัญ คือ สหรัฐฯ รัสเซีย จีน และชิลี มีสัดส่วนมูลค่าประเทศละประมาณร้อยละ 10 อาหารทะเลจากไทยมูลค่า 692 ล้านเหรียญฯ คิดเป็นสัดส่วนมูลค่าร้อยละ 5.9

ญี่ปุ่นนาเข้าเนื้อสัตว์มูลค่า 8,549 ล้านเหรียญฯ นาเข้าจาก สหรัฐฯ ออสเตรเลีย แคนาดา และบราซิล รวม 4 ประเทศ ประมาณ 3 ใน 4 ของมูลค่า สินค้าจากไทยมีน้อยมาก ส่วนเนื้อสัตว์ ปลาแปรรูป ปี 2553 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นนาเข้ามูลค่า 5,263 ล้านเรียญฯ จีนเป็นแหล่งนาเข้าสาคัญ เกือบครึ่งของมูลค่า ไทยเป็นแหล่งนาเข้าอันดับ 2 มีมูลค่า 1,522 ล้านเหรียญฯ สัดส่วนมูลค่าร้อยละ 28.9

สาหรับผักนั้น ญี่ปุ่นนาเข้าผักมูลค่า 2,140 ล้านเหรียญฯ โดยที่สามารถปลูกผักสดสาหรับบริโภคในประเทศได้ในสัดส่วนสูงกว่าอาหารอื่นหลายประเภท ผักที่นาเข้ากว่าร้อยละ 40 ของมูลค่า เป็นผักแช่แข็งและตากแห้ง แหล่งนาเข้าผักที่สาคัญ คือ จีน ครองสัดส่วนมูลค่ากว่าครึ่ง ปี 2553 ผักจากไทยมีมูลค่า 108 ล้านเหรียญฯ สัดส่วนมูลค่าร้อยละ 5.1 ผักจากไทยประมาณ 2 ใน 3 เป็นผักแช่แข็ง ผักสดจากไทย ได้แก่ หน่อไม้ผรั่ง ข้าวโพด ถั่ว เป็นต้น

ปัญหาสินค้าอาหารบางประเภทขาดตลาดเกิดขึ้นระยะสั้นเท่านั้น ขณะนี้ การจัดส่งสินค้าคลี่คลายลง ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลี่ยมมีมากขึ้น ในส่วนของความหวาดระแวงเรื่องการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในอาหารนั้น ทางการญี่ปุ่นยังคงรักษามาตรฐานในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภค นอกจากนี้ มีจานวนผู้ผลิตอาหารในญี่ปุ่นมากขึ้นจากปกติที่ยื่นขอรับการตรวจสอบทั้งอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต และวัตถุดิบ เพื่อให้ผู้ค้าปลีก ผู้ส่งออก และลูกค้ามั่นใจในความปลอดภัยในผลิตภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม คาดว่าความต้องการอาหารแช่เย็น แช่แข็งนาเข้า โดยเฉพาะอาหารทะเล และอาหารแปรรูป มีโอกาสขยายตัวเพิ่มขึ้นภายในระยะไม่เกิน 6 เดือน ก่อนเข้าสู่ภาวะปกติในระยะต่อไป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ