จร. นาทัพระดมสมองหาทางออกรัฐธรรมนูญ ม. 190 ทบทวนความพร้อมทางกฎหมายไทยรองรับ AEC

ข่าวทั่วไป Wednesday July 18, 2012 14:22 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เตรียมความพร้อมรับ AEC จัดอบรมผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูง ทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการจัดทาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ หวังสร้างความเข้าใจให้เป็นไปแนวทางเดียวกันและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เล็งผลการทางานจะคล่องตัวและสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190 และเตรียมความพร้อมด้านกฎหมายก่อนเข้าสู่ความเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558

นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ผลพวงจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 190 ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่กาหนดขั้นตอน และวิธีการจัดทาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ส่งผลให้การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รัฐฝ่ายบริหาร ขาดความคล่องตัวใน การดาเนินงาน เนื่องจากมีความตกลงระหว่างประเทศจานวนมาก ที่ต้องผ่านกระบวนการตามมาตรา 190 และเป็นการเพิ่มภาระให้กับฝ่ายบริหารและรัฐสภาโดยไม่จาเป็น

“ขั้นตอนดังกล่าวมีปัญหาในเรื่องความเหมาะสมและเรื่องเวลาในทางปฏิบัติ ยกตัวอย่างในการเจรจาระดับพหุภาคี ที่มีประเทศที่ร่วมอยู่ในการเจรจาเป็นจานวนมาก เช่น การเจรจาภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) หรือการเจรจาระดับภูมิภาค เช่น การเจรจาของอาเซียน รัฐบาลไม่สามารถกาหนดระยะเวลาดาเนินการในการเจรจาดังกล่าวไว้ล่วงหน้าได้ เพราะขึ้นกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจากคู่ภาคีอื่น หรือเป็นไปตามมติเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิก WTO 153 ประเทศ ซึ่งหากจะต้องดาเนินการตามมาตรา 190 อาจเกิดปัญหาไม่สามารถดาเนินการได้ทันต่อเหตุการณ์และทาให้เสียโอกาสโดยไม่จาเป็น” นางศรีรัตน์ กล่าว

ปัญหาในทางปฏิบัติประการสาคัญประการหนึ่งของมาตรา 190 คือ การใช้ถ้อยคาที่กว้างมาก โดยเฉพาะคาว่า “หนังสือสัญญาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจหรือสังคมของประเทศอย่างกว้างขวาง หรือมีผลผูกพันทางด้านการค้า การลงทุน หรืองบประมาณของประเทศ อย่างมีนัยสาคัญ” ซึ่งมีความหมายกว้างและไม่ชัดเจน ก่อให้เกิดปัญหาในการตีความครอบคลุมไปถึงหนังสือสัญญาหลายประเภท เมื่อมีข้อสงสัยในการตีความ หน่วยงานต่างๆ จึงต้องขอทราบความเห็นจากกระทรวงการต่างประเทศ หรือสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกือบทุกเรื่องว่ากรณีดังกล่าวเข้าข่ายตามมาตรา 190 วรรคสอง ที่ต้องขอรับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือไม่ อย่างไรก็ดี เนื่องจากทั้งสองหน่วยงานไม่ใช่หน่วยงานที่มีอานาจวินิจฉัยชี้ขาดเกี่ยวกับ มาตรา 190 เป็นผลให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งหนังสือสัญญาเกือบทุกเรื่องต่อสภา ด้วยเหตุนี้ย่อมทาให้รัฐสภาต้องรับภาระในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวมากเกินความจาเป็นและเกินกว่าเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการดาเนินการเพื่อให้มีกฎหมายว่าด้วยการกาหนดขั้นตอนและวิธีการจัดทาหนังสือสัญญาตามที่ได้กาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา ซึ่งกฎหมายฉบับนี้จะช่วยแก้ปัญหาที่ผ่านมาได้ แต่กว่าที่ร่างพระราชบัญญัติขั้นตอนและวิธีการจัดทาหนังสือสัญญา พ.ศ. .... จะแล้วเสร็จและมีผลใช้บังคับอาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง

นางศรีรัตน์ กล่าวต่อว่า กรมฯ จึงได้จัดการเสวนาโต๊ะกลมเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดาเนินการด้านเศรษฐกิจ ภายใต้มาตรา 190 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ขึ้น ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00 — 17.00 น. ณ โรงแรมอีสติน แกรนด์ กรุงเทพฯ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ระดับสูงผู้ที่ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานในฐานะกลไกของฝ่ายบริหารในการจัดทาหนังสือสัญญาระหว่างประเทศดังกล่าวให้เป็นไปแนวทางเดียวกัน และเพื่อให้หน่วยงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในทางปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดาเนินงานได้อย่างคล่องตัวและสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 190

รวมทั้งเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2558 โดยอาจต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับภายในประเทศให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ซึ่งถือเป็นปัจจัยสาคัญที่รัฐจะใช้ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ภาคเอกชน และเพิ่มแรงดึงดูดใจแก่นักลงทุน การปฏิรูป กฎระเบียบจะเป็นส่วนสาคัญในการบรรลุเป้าหมายของอาเซียน จากข้อมูลที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้รวบรวมในเบื้องต้นพบว่า ในปัจจุบัน กฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับภายในของไทยหลายฉบับยังคงขัดกับเป้าหมาย AEC 2015

“กรมฯ คาดหวังว่าการจัดอบรมครั้งนี้จะเป็นเวทีสาหรับให้ข้อมูลและสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมาย AEC และระดมสมองเพื่อประเมินและเตรียมความพร้อมทางกฎหมายของไทย ในการรองรับการเข้าสู่ AEC2015 โดยผลที่ได้จะนาไปเผยแพร่เพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่หน่วยงานภาครัฐเจ้าของกฎหมาย ภาคเอกชน ผู้บริโภคและประชาชนต่อไป” นางศรีรัตน์ กล่าวในที่สุด

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ