รัฐมนตรีเกษตรแดนจิงโจ้ถกประเด็นการค้า กับรมว.พาณิชย์ไทย

ข่าวทั่วไป Wednesday November 21, 2012 14:30 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

รัฐมนตรีเกษตร ประมง และป่าไม้ ของออสเตรเลียเข้าเยี่ยมคารวะนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และหารือประเด็นการค้า ไทย-ออสเตรเลีย พร้อมย้ำร่วมมือกันสร้างความเข้มแข็งการค้าสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่าย

นางพิรมล เจริญเผ่า อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า นายโจ ลุดวิก รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ของออสเตรเลียได้เข้าพบนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เนื่องในโอกาสเดินทางมาเยือนไทยระหว่างวันที่ 8-9 พฤศจิกายน 2555 และได้หารือแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการค้าระหว่างไทยกับออสเตรเลีย โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้เร่งรัดให้ออสเตรเลียยกเลิกมาตรการห้ามนาเข้าสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย เนื่องจากไทยปลอดจากการระบาดของไข้หวัดนกมาตั้งแต่ปี 2551 ซึ่งเป็นผลจากการจัดระบบการควบคุมไข้หวัดนกที่ดีของไทย รวมทั้ง สหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศที่เข้มงวดเรื่องสุขอนามัยมากที่สุดประเทศหนึ่งยังให้ความเชื่อมั่นกับสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากไทย และได้ยกเลิกมาตรการห้ามนาเข้าสินค้าไก่สดแช่แข็งจากไทยแล้วตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2555 ที่ผ่านมา ส่วนออสเตรเลียก็ต้องการให้ไทยยกเลิกการจากัดปริมาณนาเข้าสินค้าอ่อนไหวของไทย เช่น เครื่องในวัว ไขมันเนย เนยแข็งสด ส้มแมนดาริน และองุ่นสด โดยออสเตรเลียอ้างว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการของไทยมีความต้องการสินค้าดังกล่าวเพิ่มขึ้น ดังนั้น ไทยควรเปิดเสรีให้มีการนาเข้าเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้น รัฐมนตรีกระทรวงเกษตร ประมง และป่าไม้ของออสเตรเลียยังได้แจ้งแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ว่า เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ที่ผ่านมา ออสเตรเลียได้จัดทาสมุดปกขาว ชื่อ Australia in the Asian Century White Paper เพื่อกาหนดนโยบายของออสเตรเลียในการดาเนินความสัมพันธ์กับเอเชียที่มีบทบาทสาคัญในเวทีโลกมากขึ้น ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยออสเตรเลียกาหนดเป้าหมายการดาเนินงานไว้ 25 ข้อ ให้มีผลสัมฤทธิ์ในปี 2568 หรืออีก 13 ปี ข้างหน้า ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้กล่าวชื่นชมสมุดปกขาวดังกล่าวของออสเตรเลียว่าเป็นยุทธศาสตร์สาคัญที่จะผลักดันออสเตรเลียให้เข้ามาเชื่อมโยงและเติบโตไปพร้อมกับเอเชียผ่านความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ระหว่างกัน และย้าว่าไทยเป็นศูนย์กลางและประตูสู่อาเซียน จึงอยากให้ออสเตรเลียให้ความสาคัญต่อไทย ซึ่งรัฐมนตรีของออสเตรเลียแจ้งว่า ออสเตรเลียให้ความสาคัญกับไทยอยู่แล้ว และยินดีที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านต่างๆ กับไทยให้มากยิ่งขึ้น

นางพิรมล ให้ข้อมูลว่า ในปี 2554 ออสเตรเลียเป็นคู่ค้า ตลาดส่งออก และแหล่งนาเข้าอันดับที่ 8 ของไทย สาหรับปี 2555 (ม.ค.-ก.ย.) ทั้งสองประเทศมีมูลค่าการค้ารวม 11,482.49 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงจากช่วงเดียวกันร้อยละ 11.07 ไทยส่งออกไปออสเตรเลียเป็นมูลค่า 7,155.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.52 ขณะที่ไทยนาเข้าจากออสเตรเลียเป็นมูลค่า 4,326.84 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 33.39 ส่งผลให้ไทยได้ดุลการค้ากับออสเตรเลียเป็นมูลค่า 2,828.82 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3,661.99 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าส่งออกสาคัญของไทยไปออสเตรเลีย ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์พลาสติก น้ามันสาเร็จรูป และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ในแง่ความสัมพันธ์ระดับสองฝ่าย ไทยและออสเตรเลียมีความตกลงการค้าเสรี (FTA) ร่วมกัน 2 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงการค้าเสรี ไทย-ออสเตรเลีย (TAFTA) และความตกลงเพื่อจัดตั้งเขตการค้าเสรี อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) โดยในช่วงครึ่งแรกของปี 2555 ไทยใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี FTA เพื่อส่งออกไปออสเตรเลียมากกว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ประมาณร้อยละ 50 (สินค้าส่งออกสาคัญได้แก่ ยานยนต์สาหรับขนส่งของที่มีน้าหนักไม่เกิน 5 ตัน ปลาทูน่าแปรรูป ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ รถยนต์ที่มีความจุกระบอกสูบ 1,500 — 3,000 ซีซี เครื่องปรับอากาศ และโพลิเอทิลีน เป็นต้น) ขณะที่มีการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี FTA เพื่อนาเข้าจากออสเตรเลียมากกว่า 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิประโยชน์ประมาณร้อยละ 30 (สินค้านาเข้าสาคัญได้แก่ แคโทด และส่วนของแคโทด ถ่านหินบิทูมินัส มอลต์ไม่ได้คั่ว แผ่นอะลูมิเนียมบางและแถบทาเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ลวดทองแดงบริสุทธิ์ มีขนาดของภาคตัดขวางส่วนที่ใหญ่ที่สุดเกิน 6 มิลลิเมตร สิ่งสกัดจากมอลต์ รวมทั้งอาหารปรุงแต่งที่ทาจากแป้ง เมล็ดหัก แป้งหยาบ และสินแร่และหัวแร่สังกะสี เป็นต้น)

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ