กรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรป

ข่าวทั่วไป Thursday January 24, 2013 11:09 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

๑. แนวนโยบายของรัฐบาลและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

๑.๑ แนวนโยบายของรัฐบาลชุดปัจจุบัน

เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐบาลได้แถลงนโยบายเศรษฐกิจต่อรัฐสภาว่า รัฐบาลมีนโยบายขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี โดยเร่งรัดการใช้ประโยชน์จากความตกลงที่มีผลบังคับใช้แล้ว นอกจากนี้ ภายใต้นโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ รัฐบาลยังมีนโยบายกระชับความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับประเทศ กลุ่มประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศที่มีบทบาทสาคัญของโลก เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นในประเทศไทย พร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการแข่งขันให้เศรษฐกิจไทย

การจัดทาความตกลงการค้าเสรีถือเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่สาคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ และเพิ่มโอกาสการส่งออกทั้งตลาดเดิม และการเข้าสู่ตลาดใหม่ โดยลดอุปสรรคด้านการค้า การลงทุนในตลาดคู่ค้า รวมทั้งสร้างความร่วมมือในด้านต่างๆ เพื่ออานวยความสะดวกในด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาเทคโนโลยี บุคลากรและด้านอื่นๆ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพด้านเศรษฐกิจของไทยต่อไปในระยะยาว

การจัดทาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับประเทศคู่ค้าต่างๆ รวมทั้งสหภาพยุโรปนับว่าสอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และถือเป็นการดาเนินการเชิงรุกของกระทรวงพาณิชย์เพื่อแสวงหาโอกาสในการขยายการค้า การลงทุน ตลอดจนพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ ของไทย

๑.๒ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทาความตกลงการค้าเสรี

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๙๐ วรรคสาม กาหนดให้ก่อนการดาเนินการเพื่อทาหนังสือสัญญากับนานาประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศตามวรรคสอง คณะรัฐมนตรีต้องให้ข้อมูลและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และต้องชี้แจงต่อรัฐสภาถึงการทาหนังสือสัญญานั้น นอกจากนี้ ให้คณะรัฐมนตรีเสนอกรอบการเจรจาต่อรัฐสภาเพื่อขอความเห็นชอบ

๑.๓ การเตรียมการเพื่อยกร่างกรอบการเจรจา

ในการเตรียมการเพื่อยกร่างกรอบการเจรจานั้น กระทรวงพาณิชย์ได้ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๓ และคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อรับฟังความคิดเห็นของทุกภาคส่วนในเรื่องการจัดทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปขึ้น โดยมีผู้แทนภาคประชาสังคม นักวิชาการและภาคธุรกิจ ร่วมเป็นคณะกรรมการ มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งด้านประโยชน์และข้อกังวล รวมถึงมาตรการรองรับ เพื่อนามาประกอบการพิจารณาความเป็นไปได้ รวมถึงผลดีและผลเสียในการจัดทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดาเนินการรับฟังความคิดเห็นมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมกันนี้ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ได้ดาเนินการคู่ขนานในการหารือและรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ นักวิชาการและภาคประชาสังคม รวมทั้งดาเนินการเผยแพร่ข้อมูลและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อนาผลมาประมวลจัดทาร่างกรอบการเจรจา โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้จัดตั้งคณะทางานเตรียมความพร้อมสาหรับการจัดทาเขตการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทาหน้าที่วิเคราะห์และเสนอท่าทีแนวทางการเจรจา รวมถึงจัดทากรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้มอบหมายให้มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ดาเนินการจัดทาโครงการศึกษาแนวทางการเจรจาและผลกระทบจากการจัดทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป เพื่อศึกษาวิเคราะห์และประเมินผลของการจัดทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรปที่มีต่อไทยทั้งทางด้านบวกและลบ เสนอแนะแนวทางการปรับตัวหรือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการจัดทาความตกลงการค้าเสรี ตลอดจนเสนอแนะกลยุทธ์และแนวทางในการเจรจาการจัดทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ตระหนักดีว่าการดาเนินการสาหรับการจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปจะต้องดาเนินการอย่างรอบคอบ รอบด้าน โปร่งใส และเสริมสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน เพื่อให้ไทยสามารถกาหนดแนวทางในการเจรจาที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ และสอดคล้องกับมาตรา ๑๙๐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐

๒. เหตุผลความจาเป็นของไทยในการเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป

๒.๑ เศรษฐกิจไทยผูกพันกับภาคการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ

การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอดีตที่ผ่านมา ได้ส่งผลในการยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชน กระจายความเจริญ และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยให้อยู่ในระดับที่ได้รับการยอมรับในปัจจุบัน ปัจจัยที่สาคัญยิ่งในกระบวนการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย คือ ภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งครอบคลุม การส่งออก การนาเข้า และการลงทุนจากต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าสัดส่วนการค้าสินค้าระหว่างประเทศของไทย (ไม่รวมภาคการค้าบริการ) ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สูงถึงร้อยละ ๑๒๓.๖๔ คิดเป็นสัดส่วนของการส่งออกร้อยละ ๖๕.๒๒ และสัดส่วนของการนาเข้าร้อยละ ๕๘.๔๒ ของ GDP ตามประมาณการของสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นอกจากนี้ เงินลงทุนจากต่างประเทศถือเป็นปัจจัยสาคัญยิ่งประการหนึ่งของภาคการลงทุนของไทย โดยในภาคการลงทุนทางตรง เงินลงทุนทางตรงจากต่างประเทศ มีมูลค่าเฉลี่ย ๕ ปี (ปี พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๔) ปีละ ๒๘๘ พันล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนเฉลี่ย ๕ ปี (ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ -๒๕๕๓) ร้อยละ ๑๒.๐ ของการลงทุนรวมภายในประเทศ

               โครงสร้างระบบเศรษฐกิจไทย ปี ๒๕๕๔
          ภาคเศรษฐกิจ                สัดส่วนต่อ GDP (%)
          ภาคเกษตรกรรม                     ๘.๖
          ภาคอุตสาหกรรม                    ๓๙.๐
          ภาคบริการ                        ๕๒.๔
          ภาคการค้า                      ๑๒๓.๖๔
          การส่งออก                       ๖๕.๒๒
          การนาเข้า                       ๕๘.๔๒
          ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

๒.๒ สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าและเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่สาคัญของไทย

สหภาพยุโรปเป็นกลุ่มประเทศที่สาคัญและมีบทบาทอย่างมากในประชาคมโลก และให้ความสาคัญกับการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย โดยสหภาพยุโรปได้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับอาเซียนในหลายๆ ด้านรวมทั้งการเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรี ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศหนึ่งที่สหภาพยุโรปให้ความสนใจเป็นลาดับต้นๆ ในการเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจ สาหรับไทยก็มีกลยุทธ์ที่สอดคล้องกันในการที่จะเสริมสร้างความใกล้ชิดกับสหภาพยุโรป เพื่อการเป็นหุ้นส่วนที่สาคัญของสหภาพยุโรปในภูมิภาคเอเชีย และเป็นศูนย์กลางของสหภาพยุโรปในภูมิภาค เช่น การผลิตทางอุตสาหกรรม การค้า สาธารณสุข เทคโนโลยีชีวภาพ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การวิจัยและการพัฒนา และการลงทุนของสหภาพยุโรป

ในมิติการค้า สหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าสาคัญอันดับ ๔ และเป็นตลาดส่งออกอันดับ ๓ ของไทย โดยในปี ๒๕๕๔ การค้ารวมของไทยกับสหภาพยุโรปสูงกว่า ๑.๒ ล้านล้านบาท คิดเป็นร้อยละ ๙.๓ ของการค้ารวมของไทย โดยเป็นมูลค่าการส่งออกถึง ๗.๓ แสนล้านบาท โดยประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกสินค้าไปสหภาพยุโรปสูงเป็นอันดับสองของอาเซียน (รองจากสิงคโปร์) นอกจากนี้ สหภาพยุโรปซึ่งมีประเทศสมาชิก ๒๗ ประเทศยังมีการรวมกลุ่มและขยายสมาชิกภาพไปยังประเทศยุโรปอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นโอกาสและช่องทางให้ไทยสามารถขยายการค้าได้มากยิ่งขึ้นในอนาคต

                       ความสาคัญของสหภาพยุโรปต่อการค้าไทย ปี พ.ศ. ๒๕๕๔
          ด้าน               มูลค่า (ล้านบาท)       สัดส่วน (%)          ลำดับความสาคัญของคู่ค้า
          การค้ารวม          ๑,๒๗๔,๐๐๒.๔๒          ๙.๓๑           ๔ รองจาก อาเซียน ญี่ปุ่น และจีน
          การส่งออก            ๗๒๗,๘๘๐.๙๖          ๑๐.๘๕          ๓ รองจาก อาเซียน และจีน
          การนาเข้า            ๕๔๖,๑๒๑.๔๕          ๗.๘๒           ๔ รองจาก ญี่ปุ่น อาเซียน และจีน
          ที่มา: กระทรวงพาณิชย์

ด้านการลงทุน สหภาพยุโรปเป็นผู้ลงทุนอันดับ ๒ ของไทย การลงทุนโดยตรงจากสหภาพยุโรป ในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ มีมูลค่าเท่ากับ ๑๐๐,๒๓๒ ล้านบาท อุตสาหกรรมที่สหภาพยุโรปเข้ามาลงทุนในไทย ได้แก่ เคมีภัณฑ์และกระดาษ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เหมืองแร่ และเซรามิกส์ ผลิตภัณฑ์โลหะและเครื่องจักร อุตสาหกรรมเบา สิ่งทอ การเกษตรและผลิตผลเกษตร และธุรกิจการค้าบริการ

                การลงทุนจากต่างประเทศ (พ.ศ. ๒๕๕๔)
                       หน่วย: พันล้านบาท
            ลาดับที่/ประเทศ                     มูลค่า
          1. ญี่ปุ่น                          ๒๐๙.๘๐๕
          2. สหภาพยุโรป                    ๑๐๐.๒๓๒
          3. อาเซียน                        ๘๓.๔๘๓
          ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

สหภาพยุโรปจะเป็นตลาดส่งออกสินค้าที่สาคัญของไทย ทั้งสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูปและ อุตสาหกรรม แต่สหภาพยุโรปยังมีอัตราภาษีศุลกากรสูงในสินค้าบางรายการ มีการกาหนดโควต้านาเข้า และใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสินค้าที่มีศักยภาพส่งออกที่สาคัญของไทย เช่น ข้าวและไก่ เป็นต้น ทาให้สินค้าไทยดังกล่าวไม่สามารถเข้าสู่ตลาดสหภาพยุโรปได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร

นอกจากนี้ สหภาพยุโรปมีความก้าวหน้าในด้านต่างๆ เช่น เทคโนโลยี นวัตกรรม การศึกษา ดังนั้น การเสริมสร้างความเป็นพันธมิตรกับสหภาพยุโรปในสาขาดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศไทยในระยะยาวและยั่งยืน

๒.๓ สหภาพยุโรปมีบทบาทสาคัญในระบบเศรษฐกิจโลก

สหภาพยุโรปมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับหนึ่งของโลก หรือประมาณ ๕๙๒.๖๘ ล้านล้านบาท และมีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศต่อมูลค่าการค้าโลก มากเป็นอันดับหนึ่งของโลก รวมถึงมีสัดส่วนร้อยละ ๒๙ ของผลผลิตรวมของโลก มีสัดส่วนร้อยละ ๑๗ ของการค้าสินค้าโลก มีสัดส่วนร้อยละ ๒๙ ของการค้าบริการโลก และมีสัดส่วนร้อยละ ๓๓ ของการลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้น จึงทาให้สหภาพยุโรปมีบทบาทสาคัญอย่างมากในระบบเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะในการกาหนดทิศทางการค้าโลก และการกาหนดมาตรฐานและกฎระเบียบสาหรับการค้าสินค้า บริการ และการลงทุน โดยผ่านการดาเนินการในองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ เช่น องค์การการค้าโลก องค์การมาตรฐานระหว่างประเทศ (ISO) และองค์การมาตรฐานอาหารระหว่างประเทศ (Codex Alimentarius) เป็นต้น

๓. ผลกระทบที่สาคัญหากไทยไม่ทาความตกลงการค้าเสรีไทย-สหภาพยุโรป

๓.๑ การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ จะทาให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตร่วมกัน รวมทั้งทาให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุนอย่างเสรีมากขึ้น จึงดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติย้ายฐานการลงทุนมาในอาเซียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การลงทุนเพื่อผลิตสินค้าและส่งออกไปทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้ สมาชิกอาเซียนต่างใช้กลยุทธ์เพื่อดึงดูดการลงทุนต่างประเทศดังกล่าว โดยการทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และเวียดนาม รวมถึงอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจะร่วมจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปในลาดับต่อไป ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลกระทบทางลบต่อระบบเศรษฐกิจของไทย ทาให้เกิดการย้ายฐานการลงทุนของสหภาพยุโรป ไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ทาให้ไทยสูญเสียโอกาสในการเป็นศูนย์กลาง (Hub หรือ Gateway) ในภาคอุตสาหกรรมที่สาคัญ อาทิเช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ สินค้าและบริการในอุตสาหกรรมการสื่อสารโทรคมนาคม เป็นต้น

๓.๒ นอกจากนี้ โดยที่ประเทศไทยจะถูกตัดสิทธิพิเศษทางศุลกากร (Generalized System of Preference: GSP) ของสหภาพยุโรป ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ ซึ่งจะมีผลทาให้สินค้าส่งออกของไทยจะไม่ได้รับการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีนาเข้าซึ่งเป็นแต้มต่อในการแข่งขัน ทาให้ไม่สามารถแข่งขันกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ ในตลาดสหภาพยุโรป ได้ โดยในปี พ.ศ. ๒๕๕๔ สินค้าส่งออกของไทยที่ใช้สิทธิพิเศษ GSP ของสหภาพยุโรป มีมูลค่ากว่า ๒.๙๗ แสนล้านบาท สินค้าที่สาคัญได้แก่ รถยนต์ขนส่ง เครื่องปรับอากาศ อาหารทะเลสด/แช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง ถุงมือยาง และยางรถยนต์ เป็นต้น สินค้าเหล่านี้จะไม่สามรถแข่งขันกับสินค้าจากเวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ รวมทั้งสินค้าจากประเทศอาณานิคมเดิมของสหภาพยุโรป ทั้งในแอฟริกาและแคริบเบียนที่ยังคงได้รับสิทธิพิเศษ GSP ทาให้ไทยสูญเสียตลาดส่งออกที่สาคัญ การทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป จะทาให้สินค้าส่งออกของไทยทั้งหมดหรือเกือบทั้งหมดได้รับการยกเว้นภาษีนาเข้าเป็นการถาวร ทดแทนการได้รับสิทธิพิเศษ GSP ซึ่งเป็นการให้สิทธิชั่วคราวเท่านั้น

๓.๓ ผลกระทบต่อเนื่องจากการย้ายฐานการผลิตและการลงทุนต่างชาติ คือ การไม่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อเนื่องไปยังการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนาเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

๓.๔ โดยที่ ณ ขณะนี้ สหภาพยุโรปประสบปัญหายูโรโซน ทาให้สหภาพยุโรปให้ความสาคัญกับตลาดในเอเชียและอาเซียน รวมทั้งไทยมากขึ้น จึงอาจทาให้ไทยมีอานาจในการเจรจาต่อรองมากขึ้นด้วย รวมทั้งยังเป็นโอกาสที่เหมาะสมที่การทาความตกลงการค้าเสรี จะช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคธุรกิจของไทยเข้าไปดาเนินธุรกิจการค้าและการลงทุนในสหภาพยุโรป ด้วยต้นทุนที่ต่ากว่าและราคาถูกลง

๓.๕ การเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ถือเป็นการเจรจาความตกลงการค้าเสรีในยุคใหม่ของไทย (second generation FTA) หลังจากที่ไทยได้ดาเนินนโยบายในการจัดทา ความตกลงการค้าเสรีครั้งแรกกับสมาชิกอาเซียน (AFTA) เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕ โดย Second Generation FTA จะมีมาตรฐานในการเปิดเสรีสูงขึ้นและเข้มข้นมากขึ้นกว่าความตกลงการค้าเสรีที่ไทยเคยจัดทามาในอดีต รวมถึงมีกรอบกว้างขวางครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจในหลายมิติ และมีประเด็นการเจรจาใหม่ๆ เข้ามาตามวิวัฒนาการของเศรษฐกิจโลก การไม่ทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในขณะนี้ จะทาให้ประเทศไทยขาดประสบการณ์และการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการทา ความตกลงการค้าเสรีในอนาคต อาทิเช่น ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) ซึ่งมีมาตรฐานการเจรจาที่สูงและซับซ้อน และเป็นรากฐานของการทา ความตกลงการค้าเสรีภายใต้กรอบเอเปค (APEC) ในอนาคต

๔. วัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวมกับสหภาพยุโรป

๔.๑ หลักการและวัตถุประสงค์

เพื่อรักษาโอกาสทางการแข่งขันในตลาดไม่ให้สูญเสียไปกับประเทศอื่นที่ได้รับสิทธิพิเศษจากสหภาพยุโรปและขยายโอกาสทางการตลาดเพิ่มเติมในการส่งออกสินค้าและบริการของไทย รวมทั้งโอกาสในการลงทุนดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการไทยในสหภาพยุโรป เพื่อให้ผู้บริโภคของไทยได้ใช้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รวมทั้งเพื่อรักษาและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในภาคการผลิตและบริการ ซึ่งจะทาให้ประเทศไทยมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มความสามารถของการส่งออกของไทย โดยคานึงถึงระดับการพัฒนา หลักการพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน มีภูมิคุ้มกัน และความพร้อมของกฎหมายภายในประเทศ รวมทั้งให้มีระยะเวลาในการปรับตัวและมีมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

๔.๒ เป้าหมายการเจรจา

๔.๒.๑ เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุดกับประเทศ นามาสู่การพัฒนาศักยภาพและความสามารถทางการแข่งขันของไทยในระยะยาว

๔.๒.๒ ให้ได้รับความร่วมมือในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและส่งเสริมเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมของไทย

๕. กรอบการเจรจาในแต่ละประเด็น

รัฐบาลได้วางกรอบการเจรจาในแต่ละประเด็น ดังนี้

5.1 การค้าสินค้า

5.1.1 ให้มีการลดหรือยกเลิกอากรศุลกากร ค่าธรรมเนียมอื่นใดที่เรียกเก็บจากสินค้านาเข้า โดยให้ครอบคลุมการค้าระหว่างกันให้มากที่สุด

5.1.2 เน้นให้ลดภาษีในสินค้าที่ไทยมีศักยภาพส่งออก โดยให้มีความสมดุลระหว่างสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรม

5.1.3 ให้มีการลดหรือเลิกมาตรการและอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีให้มากที่สุด

5.1.4 ให้มีระยะเวลาในการปรับตัวที่เหมาะสมแก่สินค้าที่มีความอ่อนไหว รวมทั้งมาตรการอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบจากการลดภาษี

5.1.5 ให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกันหรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่ และหากมีการปรับแก้ไขพิกัดศุลกากรตามมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อผูกพันของประเทศไทย ก็สามารถกระทาได้ หากการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่กระทบต่อผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศไทยตามข้อผูกพันที่มีอยู่เดิม

5.2 พิธีการศุลกากรและการอานวยความสะดวกทางการค้า

5.2.1 ให้มีความร่วมมือในด้านพิธีการศุลกากร เพื่อลด/ขจัดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน และไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม

5.2.2 ให้มีความร่วมมือเพื่อเพิ่มการอานวยความสะดวกทางการค้าระหว่างไทยและสหภาพยุโรป

5.3 กฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้า

5.3.1 กาหนดกฎว่าด้วยถิ่นกาเนิดสินค้าให้สอดคล้องกับโครงสร้างการผลิตให้มากที่สุด

5.3.2 กาหนดกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน มีการบังคับใช้อย่างโปร่งใส และเท่าเทียมกัน และลดความเป็นอุปสรรคทางการค้าของสินค้าไทยมากที่สุด

5.3.3 ร่วมมือจัดทาและ/หรือปรับปรุงระเบียบปฏิบัติในการรับรองถิ่นกาเนิดสินค้าให้โปร่งใส มีประสิทธิภาพ ไม่สร้างภาระต้นทุนที่ไม่เหมาะสม และอานวยความสะดวกทางการค้าให้มีประสิทธิภาพ

5.3.4 ให้ใช้พิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศตามที่คู่ภาคีตกลงกันหรือตามมาตรฐานขององค์การระหว่างประเทศที่คู่ภาคีเป็นสมาชิกอยู่ และหากมีการปรับแก้ไขพิกัดศุลกากรตามมาตรฐานดังกล่าว ซึ่งทาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในข้อผูกพันของประเทศไทย ก็สามารถกระทาได้ หากการเปลี่ยนแปลงนั้น ไม่กระทบต่อผลประโยชน์ในภาพรวมของประเทศไทยตามข้อผูกพันที่มีอยู่เดิม

5.4 มาตรการเยียวยาทางการค้า

๕.๔.๑ มาตรการปกป้อง

  • ให้มีมาตรการปกป้องสองฝ่าย ระหว่างไทยและสหภาพยุโรปเพื่อปกป้อง และ/หรือเยียวยาภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากการทะลักเข้าสู่ตลาดของสินค้านาเข้า ภายหลังจากที่ความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสหภาพยุโรปมีผลบังคับใช้

5.4.2 มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุน

  • ให้มีแนวทางการใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดและมาตรการตอบโต้การอุดหนุนที่สอดคล้องกับหลักการของความตกลงขององค์การการค้าโลก
  • ผลักดันให้มีการบรรจุประเด็นสาคัญที่ทั้งสองฝ่ายมีแนวทางร่วมกันในการเจรจารอบโดฮา

5.5 มาตรการปกป้องด้านดุลการชาระเงิน

  • ให้มีมาตรการปกป้องกรณีที่เกิดปัญหาด้านดุลการชาระเงิน

5.6 มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช

5.6.1 เน้นย้าให้การใช้มาตรการสุขอนามัยใช้ได้เฉพาะมาตรการที่สอดคล้องตาม ความตกลงขององค์การการค้าโลก

5.6.2 จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการสุขอนามัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.7 อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า

5.7.1 เน้นย้าให้การใช้มาตรการด้านอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้าใช้ได้เฉพาะมาตรการที่สอดคล้องตามความตกลงขององค์การการค้าโลก

5.7.2 จัดตั้งกลไกการหารือ รวมทั้งระบุหน่วยงานที่รับผิดชอบการติดต่อระหว่างกัน เพื่อให้สามารถจัดการกับปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้มาตรการกีดกันทางเทคนิคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5.8 การค้าบริการ

5.8.1 เปิดเสรีภาคบริการอย่างค่อยเป็นค่อยไป

5.8.2 ให้เปิดเสรีบริการในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ และมีความพร้อม รวมถึงให้มีการอานวยความสะดวกให้ผู้บริหารและบุคลากรที่มีฝีมือทุกระดับของไทยสามารถเข้าไปทางานในสหภาพยุโรปได้

5.8.3 เปิดตลาดการค้าบริการของไทยในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

5.8.4 ให้รักษาสิทธิของทางการในการใช้มาตรการที่จาเป็น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางระบบการเงิน การธนาคาร การเคลื่อนย้ายเงินทุน อัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิในการใช้มาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อดุลการชาระเงิน

5.9 การลงทุน

5.9.1 ให้มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีครอบคลุมธุรกิจที่นอกเหนือ จากภาคบริการ

5.9.2 ให้เปิดเสรีการลงทุนในสาขาที่ไทยมีศักยภาพ และมีความพร้อม รวมถึงให้มีการอานวยความสะดวกให้ผู้บริหารและบุคลากรที่มีฝีมือทุกระดับของไทยสามารถเข้าไปทางานในสหภาพยุโรปได้

5.9.3 เปิดให้มีการลงทุนในสาขาที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ

5.9.4 ให้ลดมาตรการทางกฎหมายและทางการบริหารที่เป็นอุปสรรรคต่อการลงทุนระหว่างประเทศ โดยคานึงถึงความจาเป็นในการใช้มาตรการและการกาหนดเงื่อนไขด้านการลงทุนที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ

5.9.5 เปิดโอกาสให้สามารถใช้กระบวนการอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศเป็นทางเลือกหนึ่งในการระงับข้อพิพาท และผลักดันให้มีกลไกหารือเพื่อแก้ไขปัญหาด้านการลงทุนเฉพาะเรื่อง

5.9.6 ให้รักษาสิทธิของทางการในการใช้มาตรการที่จาเป็น เพื่อรักษาเสถียรภาพทางระบบการเงิน การธนาคาร การเคลื่อนย้ายเงินทุน อัตราแลกเปลี่ยน และสิทธิในการใช้มาตรการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่อาจกระทบต่อดุลการชาระเงิน

5.10 การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ

  • ให้จัดตั้งกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องกับการตีความหรือการใช้บังคับความตกลงโดยให้มีขั้นตอนและกลไกที่ชัดเจน โปร่งใส และเป็นธรรมแก่รัฐภาคีคู่พิพาท โดยให้เป็นไปตามหลักการและกลไกการระงับข้อพิพาทที่ยอมรับโดยสากล

5.11 ทรัพย์สินทางปัญญา

5.11.1 ให้ระดับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาสอดคล้องกับระดับการคุ้มครองตามความตกลงขององค์การการค้าโลกและ/หรือความตกลงระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคี

5.11.2 ให้มีการบังคับใช้กฎหมายที่สอดคล้องกับระดับการพัฒนาของประเทศ

5.11.3 ส่งเสริมการใช้ความยืดหยุ่น ข้อยกเว้น และข้อจากัดในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสมดุลระหว่างเจ้าของสิทธิ ผู้บริโภค และสาธารณชนโดยรวม รวมถึงเปิดโอกาสให้มีการเข้าถึงยาจาป็นในราคาที่เหมาะสม(๑) และเป็นธรรม

5.11.4 ไม่ให้มีข้อจากัดใดๆ ในการใช้ความยืดหยุ่นและข้อยกเว้นภายใต้ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาขององค์การการค้าโลก (TRIPS) และปฏิญญาโดฮาว่าด้วยความตกลง TRIPs และสาธารณสุข รวมถึงมติของคณะมนตรีทั่วไปว่าด้วยการปฏิบัติตามย่อหน้าที่ ๖ ของปฏิญญา โดฮา เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม ๒๕๔๖ และพิธีสารแก้ไขความตกลง TRIPS เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘

5.11.5 ร่วมมือกันในการพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญา การส่งเสริมการสร้างสรรค์ การคุ้มครอง และการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี การคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่น และทรัพยากรชีวภาพของไทย

5.12 การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ

5.12.1 ให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการจัดซื้อโดยรัฐเกี่ยวกับโครงสร้างระบบบริหารจัดการภาครัฐ การงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

5.12.2 ส่งเสริมให้มีความโปร่งใสในกระบวนการและขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง

5.12.3 ให้มีการเจรจาในประเด็นที่เห็นว่ามีประโยชน์ต่อไทย

5.13 ความโปร่งใส

  • สนับสนุนให้มีกฎหมายและข้อบังคับภายในที่มีความโปร่งใส และมีกระบวนการในการเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวให้แก่สาธารณชนและผู้ประกอบการ และจะต้องพยายามจัดให้มีระยะเวลาตามสมควรระหว่างเวลาที่ประกาศหรือเผยแพร่กฎหมายและข้อบังคับดังกล่าวต่อสาธารณชนกับเวลาที่กฎหมายและข้อบังคับนั้นมีผลใช้บังคับ

5.14 การแข่งขัน

5.14.1 ส่งเสริมให้มีนโยบายการแข่งขันเสรีเป็นธรรมผ่านมาตรการกากับดูแลการแข่งขันที่เหมาะสมภายใต้กฎหมายและระเบียบภายในประเทศของแต่ละฝ่าย

5.14.2 ให้มีความร่วมมือทางวิชาการและการประสานงาน ระหว่างหน่วยงานกากับดูแลการแข่งขันของไทยและสหภาพยุโรป

หมายเหตุ

(๑) สอดคล้องกับนโยบายแห่งชาติด้านยา พ.ศ. ๒๕๕๔

5.15 การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน

5.15.1 ให้ใช้ระเบียบ ข้อบังคับ หรือกฎหมายภายในประเทศที่มีอยู่และเปิดโอกาสให้กาหนดมาตรฐานสิ่งแวดล้อมภายในประเทศเพิ่มเติมในอนาคต

5.15.2 ประเทศคู่ภาคีจะต้องไม่ใช้นโยบายด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม และมาตรฐานแรงงาน และการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก เป็นต้น มาเป็นเครื่องมือกีดกันทางการค้า

5.15.3 ยืนยันการปฏิบัติตามพันธกรณีหรือข้อตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่ไทยเป็นสมาชิกในปัจจุบันและอนาคต

5.15.4 ส่งเสริมให้มีความช่วยเหลือด้านการเสริมสร้างองค์ความรู้และการพัฒนาเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการสิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศโลก

5.15.5 ส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบภายในด้านแรงงานที่ใช้บังคับอยู่ของแต่ละฝ่าย

5.15.6 ส่งเสริมให้มีความร่วมมือเพื่อการพัฒนาด้านแรงงาน

5.16 ความร่วมมือ

5.16.1 ให้มีความร่วมมือทางวิชาการ และการเสริมสร้างขีดความสามารถของผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และเกษตรกร

5.16.2 ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือด้านเศรษฐกิจที่อยู่ในความสนใจของทั้งสองฝ่าย

5.17 เรื่องอื่นๆ

เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพและการอานวยความสะดวกด้านการค้า เป็นต้น

๖. การดาเนินการต่อไป

หลังจากได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา รัฐบาลจะประกาศการเจรจาจัดทาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรปตามกาหนดการที่จะหารือระหว่างกันโดยจะเจรจาภายในขอบเขตของการเจรจาในประเด็นต่างๆ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา จะมีกลไกการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และในการเจรจาจะประสานงานกับรัฐสภาอย่างใกล้ชิด จะเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชนที่สนใจได้รับทราบความคืบหน้าในระหว่างการเจรจา เมื่อการเจรจาเสร็จสิ้นแล้ว จะจัดให้มีการประเมินผลการเจรจา และในกรณีที่การปฏิบัติตามความตกลงก่อให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จะมีการดาเนินการแก้ไข หรือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบนั้นอย่างรวดเร็ว เหมาะสม และเป็นธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้การเจรจามีความรอบคอบครบถ้วน ได้ผลประโยชน์ที่สมดุลต่อเกษตรกร ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค และระบบเศรษฐกิจไทยโดยรวม

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000 โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ