ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 51 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง วันที่ 5-10 กันยายน 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Friday September 13, 2019 13:50 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

I. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ครั้งที่ 51

1. ภาพรวมเศรษฐกิจ

2. การเจริญเติบโตของอาเซียนในปี 2018 คงที่ที่ร้อยละ 5.2 โดยปี 2019 และ 2020 คาดว่าจะขยายตัวปานกลางที่ร้อยละ 4.8 และ 4.9 ตามลำดับ

3. การค้าภายในอาเซียนกันเอง คิดเป็น 23% ของการค้าทั้งหมดของอาเซียนคู่ค้าสำคัญ คือ จีน สหภาพยุโรป และสหรัฐอเมริกา

4. การลงทุนภายในอาเซียนกันเอง คิดเป็น 15.9% ของการลงทุนทั้งหมดในอาเซียน ผู้ลงทุนสำคัญ คือ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน

5. ประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนร่วมดำเนินการให้สำเร็จในปีนี้ (Priority Economic Deliverables)

6. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามประเด็นด้านเศรษฐกิจที่ไทยในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้อาเซียนร่วมดำเนินการให้สำเร็จในปีนี้ ภายใต้แนวคิด “ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน” ซึ่งมีทั้งหมด 13 ประเด็น

7. ยินดีกับ 3 ประเด็นที่ทำสำเร็จไปแล้วได้แก่

8. การพัฒนากลไกการระดมทุนสำหรับโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน

9. การจัดทำแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืนของตลาดทุนอาเซียน

10. การจัดทำความบันทึกความเข้าใจระหว่างศูนย์พลังงานอาเซียน และมหาวิทยาลัย/หรือสถาบันวิจัยในอาเซียน เพื่อสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์เครือข่ายวิจัยและพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพและพลังงานชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน

11. ในการประชุมครั้งนี้ รัฐมนตรีเศรษฐกิจฯ ให้การรับรองความสำเร็จเพิ่มเติมอีก 4 ประเด็น คือ

12. ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมของอาเซียนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0

13. แผนการดำเนินงานตามกรอบการบูรณาการด้านดิจิทัลของอาเซียน (DIFAP) 2019-2025

14. แนวทางการพัฒนาแรงงานมีทักษะ/ผู้ประกอบวิชาชีพเพื่อรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

15. การส่งเสริมการใช้ดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการรายย่อยอาเซียน

16. รับทราบความคืบหน้าประเด็นอื่นๆ ที่เหลืออีก 6 ประเด็น ที่สำคัญ คือ เรื่องระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) ซึ่งประเทศสมาชิก 7 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ไทย เวียดนาม บรูไน และกัมพูชา) ได้ร่วมแลกเปลี่ยนเอกสารในรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Form D) ผ่านระบบแล้ว ส่วนอีก 3 ประเทศ (ฟิลิปปินส์ เมียนมา และสปป.ลาว) คาดว่าจะเข้าร่วมได้ภายในปีนี้

17. การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4

18. ทุกประเทศเห็นถึงความสำคัญของการเตรียมรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 (4IR) โดยมอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำยุทธศาสตร์ในภาพรวมของอาเซียนในเรื่อง 4IR ที่ครอบคลุมการดำเนินงานและข้อริเริ่มต่างๆ ที่มีในทั้ง 3 เสาประชาคมอาเซียน (เสาเศรษฐกิจ เสาการเมือง และเสาสังคม)

1. การค้าสินค้าและการอำนวยความสะดวกทางการค้า

2. รับทราบความคืบหน้าในการลดภาษีภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ซึ่งในปี 2019 สมาชิกอาเซียน 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ได้ยกเลิกอากรนำเข้าแล้ว 99.3% และประเทศ CLMV (กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม) ได้ยกเลิกอากรนำเข้าแล้ว 98.6%

3. เห็นชอบการปรับปรุงข้อบทเกี่ยวกับระเบียบวิธีปฏิบัติของความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน เพื่อรองรับระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียน และหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของอาเซียน เพื่อให้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเองของอาเซียนสามารถใช้งานได้จริงในเดือนมีนาคม 2020

4. เห็นชอบให้ทบทวนขอบเขตการดำเนินงานของความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน ให้ทันสมัย ลดอุปสรรคทางการค้า และขยายการค้าและการลงทุนของอาเซียน

5. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการเรื่องการอำนวยความสะดวกทางการค้าอาเซียน 2 เรื่อง ได้แก่ การลดต้นทุนธุรกรรมการค้าในอาเซียนลงร้อยละ 10 ภายในปี 2020 และเพิ่มการค้าภายในอาเซียนระหว่างปี 2017 และ 2025

6. มาตรฐานและการรับรอง

7. ยินดีที่ทราบว่าอาเซียนสามารถสรุปการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบมาตรฐาน (MRA) ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ ได้แล้ว โดยคาดว่าอาเซียนจะลงนามข้อตกลงร่วมกันได้ภายในปี 2019

8. การปฏิรูปWTO

9. เห็นถึงความเร่งด่วนของการปฏิรูประบบและการดำเนินการของ WTO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะกลไกการระงับข้อพิพาทเพื่อให้ระบบและกลไกต่างๆ ของ WTO สามารถดำเนินการต่อไปได้และสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมการค้าโลกในปัจจุบัน

10. การหารือกับภาคเอกชนอาเซียน

11. ยินดีที่ภาคธุรกิจของอาเซียนมีการดำเนินโครงการที่ช่วยสนับสนุนการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะของทรัพยากรมนุษย์ผ่านการดำเนินโครงการ AHEAD ซึ่งเป็นโครงการที่ภาคเอกชนไทยในฐานะประธานสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียนในปีนี้ผลักดัน

12. สนับสนุนข้อเสนอแนะเรื่องการเชื่อมโยงการค้าดิจิทัล ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ

II. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกภูมิภาค

1. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-จีน ครั้งที่ 18

2. ยินดีที่ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันต่อพิธีสารยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน ครบแล้ว และเริ่มบังคับใช้กฎเฉพาะรายสินค้าฉบับใหม่แล้ว เมื่อเดือนสิงหาคม 2019

3. ยินดีที่อาเซียนและจีนตกลงเริ่มการหารือเปิดตลาดสินค้าเพิ่มเติม และการหารือการเปิดเสรีและปกป้องการลงทุนในปีหน้า และจะพิจารณาความร่วมมือสาขาอื่นๆ เพื่อยกระดับความร่วมมือภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน-จีน ต่อไป

4. ยินดีกับความพยายามอย่างต่อเนื่องของทั้งสองฝ่ายในการเชื่อมโยงข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง กับ แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน

5. ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 25

6. เร่งรัดประเทศสมาชิกให้สัตยาบันพิธีสารฉบับที่หนึ่ง เพื่อแก้ไขความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้ลงนามเมื่อต้นปี 2019 เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ความตกลงโดยเร็ว

7. ยินดีกับข้อเสนอของญี่ปุ่นเรื่องเวทีหารือด้านการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 เพื่อเตรียมความพร้อมของอาเซียนในการพัฒนาขีดความสามารถในยุค4IRให้สามารถได้รับประโยชน์สูงสุดจากเศรษฐกิจดิจิทัลและส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีในการประกอบธุรกิจ

8. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-เกาหลี ครั้งที่ 16

9. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินการตามความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี และหวังว่าทั้งสองฝ่ายจะสามารถสรุปผลการเจรจาเปิดเสรีสินค้าอ่อนไหวเพิ่มเติมได้

10. รับทราบความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ TASK ที่สนับสนุนโดยเกาหลี และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีส่วนร่วมเพิ่มมากขึ้น

11. ยินดีกับข้อเสนอการวิจัยร่วมในเรื่องความร่วมมือด้านมาตรฐานสำหรับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 การจัดตั้งศูนย์วิจัยร่วมด้านมาตรฐานอาเซียน-เกาหลี และข้อเสนอของเกาหลีในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมอาเซียน-เกาหลีและความร่วมมือระหว่างอาเซียนและเกาหลี เพื่อที่จะสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน

12. ยินดีที่ปีนี้ครบรอบความสัมพันธ์อาเซียน-เกาหลี 30 ปี ซึ่งจะมีการฉลองและจะมีการประชุมผู้นำอาเซียน-เกาหลี ในวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2019 ณ เมืองปูซาน สาธารณรัฐเกาหลี

13. ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22

14. ติดตามความคืบหน้าโครงการความร่วมมือภายใต้แผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกรอบอาเซียนบวกสามปี 2019 – 2020 โดยมีกิจกรรมสำคัญที่อาเซียนและกลุ่มประเทศอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้) ร่วมกันผลักดัน อาทิ การติดตามความคืบหน้าสถานะโครงการวิจัยร่วมเพื่อปรับปรุงความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานระหว่างอาเซียนกับประเทศบวกสาม ซึ่งเป็นการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงความเชื่อมโยงด้านห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนบวกสาม โดยคาดว่าผลการศึกษาดังกล่าวจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุน และยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศสมาชิกในภูมิภาค

15. ติดตามความคืบหน้าการจัดงานสัมมนา “ASEAN Plus ThreeAnti-CounterfeitGoods” โดยไทยและประเทศบวกสาม เป็นเจ้าภาพร่วม กระทรวงพาณิชย์เห็นว่างานสัมมนาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์กับผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทย ซึ่งจะเป็นเวทีแลกเปลี่ยนข้อมูลและแนวทางปฏิบัติของประเทศสมาชิกอาเซียน เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน การป้องปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา

16. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ฮ่องกง ครั้งที่ 3

17. ยินดีกับการมีผลใช้บังคับของความตกลงการค้าเสรีอาเซียน -ฮ่องกง และความตกลงด้านการลงทุนอาเซียน -ฮ่องกง เมื่อเดือนมิถุนายน 2019 ที่ผ่านมา

18. รับทราบความคืบหน้าในการจัดตั้งกลไกในการดำเนินการตามแผนงานด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการโดยฮ่องกงจะให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการและให้เงินสนับสนุนจำนวน 25 ล้านเหรียญฮ่องกง (ประมาณ 3.2 ล้านเหรียญสหรัฐ) ภายในระยะเวลา 5 ปี (ปีละ 5 ล้าน) หลังจากความตกลงมีผลใช้บังคับแก่อาเซียนใน 5 สาขา ได้แก่ 1) บริการวิชาชีพ 2) พิธีการศุลกากร 3) การอำนวยความสะดวกทางการค้า/โลจิสติกส์ 4) SMEs และ 5) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

19. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 16

20. ยินดีที่อาเซียนและอินเดียได้ให้สัตยาบันความตกลงการค้าบริการ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย ครบแล้วในปี 2018

21. เห็นพ้องที่จะริเริ่มการทบทวนความตกลงการค้าสินค้า เพื่อทำให้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดียง่ายและสะดวกต่อการดำเนินธุรกิจได้มากยิ่งขึ้น และจัดตั้งคณะกรรมการร่วม เพื่อกำกับดูแลการทบทวนดังกล่าว

7. การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 24

  • เห็นชอบแผนการเจรจาเพื่อยกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ในประเด็น อาทิ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ พิธีการศุลกากร บริการทางการเงินและโทรคมนาคม
  • ตกลงต่ออายุโครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจจนถึงปี 2021 เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการดำเนินการและยกระดับความตกลงฯ โดยที่ผ่านมาโครงการความร่วมมือฯ ได้พัฒนาการดำเนินการของประเทศสมาชิกในด้านต่างๆ อาทิ การพัฒนากฎหมายการแข่งขันทางการค้า การตรวจสอบและวินิจฉัยโรคพืชและศัตรูพืช และการตรวจสอบสิทธิบัตรทางทรัพย์สินทางปัญญา
  • หารือวาระพิเศษกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ถึงความร่วมมือ เพื่อผลักดันประเด็นสำคัญภายใต้การปฏิรูป WTO อาทิ การแต่งตั้งสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ในตำแหน่งที่ว่างอยู่ โดยมีถ้อยแถลงร่วมกันเพื่อส่งสัญญาณไปยังประเทศสมาชิก WTO ถึงความสำคัญของระบบการค้าพหุภาคีและการปรับปรุงกลไกการทำงานของ WTO ให้สอดคล้องกับรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
  • การประชุมรัฐมนตรี RCEP
  • เห็นร่วมกันว่าการเจรจามาถึงจุดสำคัญและพร้อมสนับสนุนการเจรจาในทุกๆด้านเพื่อให้สรุปการเจรจาให้ได้ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการค้าและการลงทุนในภูมิภาค โดยมอบหมายให้คณะเจรจาในระดับเจ้าหน้าที่จะพบกันที่ดานัง ในวันที่ 19-27 กันยายนนี้ สรุปการเจรจาให้ได้ทั้งหมด เพื่อให้ผู้นำ RCEP ประกาศการเจรจาได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้
  • การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-สหรัฐอเมริกา
  • ยินดีกับความคืบหน้าภายใต้แผนงานความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนและสหรัฐฯ และความช่วยเหลือทางเทคนิคของสหรัฐฯ อาทิ การสนับสนุนให้สมาชิกอาเซียนสามารถเชื่อมโยงการใช้ระบบ ASEAN Single Window ให้ครบ 10 ประเทศ ได้อย่างสมบูรณ์ภายในปีนี้การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการด้านการค้าดิจิทัล การจัดหารือประเด็นแรงงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้ความตกลงการค้าเสรี การให้นักศึกษาได้ฝึกงานในบริษัทของสหรัฐฯ ที่ตั้งอยู่ในอาเซียน
  • หารือการเตรียมการเยือนสหรัฐฯ ของรัฐมนตรีเศรษฐกิจและรัฐมนตรีโทรคมนาคมของอาเซียน ในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ เพื่อหารือนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลร่วมกับภาครัฐและเอกชนของสหรัฐฯ
  • การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ครั้งที่ 8
  • รับทราบสรุปผลการหารือความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงอาเซียน-แคนาดา และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่อาวุโสหารือถึงการดำเนินการขั้นต่อไปและรายงานข้อเสนอแนะต่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา ต่อไป
  • ขอให้มีการจัดประชุมหารือด้านนโยบายในประเด็นต่างๆอย่างต่อเนื่อง ในหัวข้อที่จะเสริมสร้างศักยภาพและความร่วมมือในประเด็นใหม่ๆ ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี
  • การประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน–รัสเซียครั้งที่ 8
  • รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามแผนงานด้านการค้าและการลงทุนอาเซียน-รัสเซีย ภายหลังปี 2017 ในหลายสาขา อาทิ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารคมนาคม พลังงาน การเกษตร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมืองอัจฉริยะ การบริการทางการเงิน การท่องเที่ยว การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็ก และขนาดย่อม และการเสริมสร้างศักยภาพทางเศรษฐกิจของสตรี
  • รับรองแผนงานความร่วมมือระหว่างอาเซียน และ EEC เพื่อให้เป็นแผนในการปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและคณะกรรมาธิการความร่วมมือทางเศรษฐกิจภูมิภาคยูเรเซีย ที่ลงนามไปเมื่อปลายปี 2018

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์

10 กันยายน 2562

ที่มา: กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ