ผลงานสัมมนาเวทีสาธารณะ“ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์: เสียงจากประชาชน”

ข่าวทั่วไป Monday November 3, 2008 13:25 —กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

เมื่อวันพุธที่ 12 พฤศจิกายน 2551 กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดงานสัมมนาเวทีสาธารณะภายใต้หัวข้อ “ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์: เสียงจากประชาชน” ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพค เมืองทองธานี เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนแสดงทัศนะ รับฟังข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับตัวแทนภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน พร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกันหรือรองรับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าได้อย่างเหมาะสม อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงนโยบายการเปิดเสรีการค้าของกรมเจรจาฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อส่วนรวม

งานสัมมนาในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ \(นายไชยา สะสมทรัพย์\) เป็นประธาน โดยชี้แจงให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เห็นถึงความจำเป็นในการจัดทำความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ \(ASEAN-CER\) เพิ่มเติมจากความตกลงทวิภาคีไทย-ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด์ ซึ่งจะขยายโอกาสทางการค้าการลงทุนสำหรับไทย เนื่องจากรวมอีก 9 ประเทศในอาเซียนไว้ด้วย ข้อตกลงดังกล่าวย่อมนำไปสู่ความท้าทายในบางอุตสาหกรรมที่ไทยแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านไม่ได้ ผู้ประกอบการจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายละเอียดของความตกลงและนำไปใช้ปรับตัวให้ได้อย่างเหมาะสม

หลังจากนั้น ดร. ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์สถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง “ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์: จากแดนตะวันตกสู่โลกตะวันออก” โดยบรรยายถึงศักยภาพทางเศรษฐกิจของสองประเทศดังกล่าว ซึ่งแม้ว่าจะมีประชากรเพียงร้อยละ 0.4 ของโลก แต่กลับมีขนาดเศรษฐกิจประมาณร้อยละ 2 หรือเทียบเท่ากับอาเซียน 10 ประเทศ จุดเด่นของออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์คือการเป็นเศรษฐกิจเสรีที่มีการเปิดตลาดสูง หรือกล่าวได้ว่าสนับสนุนการเปิดเสรีการค้าทั้งในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ต่างจากประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆที่มักปกป้องภาคเกษตร ทั้งนี้ เป็นเพราะสองประเทศดังกล่าวมีขีดความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตร สินแร่ และพลังงาน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการเปิดเสรีในกรอบพหุภาคีชะงักงัน ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์จึงหันมาเจรจาในกรอบภูมิภาคและทวิภาคีกับอาเซียน โดยได้ทำความตกลงทวิภาคีไปแล้วกับหลายประเทศ เช่น ไทย สิงคโปร์ และบรูไน แต่ความตกลง ASEAN-CER จะรวม 12 ประเทศไว้ด้วยกัน อันจะเป็นบันไดขั้นสำคัญไปสู่การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก

จากนั้น ในช่วงสภากาแฟ “กรองสถานการณ์: การบ้านหลังการเจรจา” นายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ที่ปรึกษาการพาณิชย์และหัวหน้าคณะเจรจาฝ่ายไทยกล่าวว่า ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลงไทย-ออสเตรเลียและไทย-นิวซีแลนด์ค่อนข้างมาก จึงมั่นใจว่าความตกลง ASEAN-CER จะยิ่งกระตุ้นให้ผู้ผลิต โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ไทยแข่งขันได้ดี เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ พลาสติก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า ตื่นตัวในการเจาะตลาดออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ เพราะสามารถใช้กฎแหล่งกำเนิดสะสมได้ ส่วนธุรกิจที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ ซึ่งก็คือเกษตรกรโคเนื้อ-โคนม กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีกองทุนช่วยเหลือในการปรับตัวอยู่แล้ว

ในขณะเดียวกัน ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ได้กล่าวสนับสนุนว่า ความตกลง ASEAN-CER ไม่น่าจะมีผลกระทบเชิงลบ-เชิงบวกมากนัก เพราะจากการศึกษาของสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง \(สวค.\) พบว่าทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.03 เปรียบเทียบกับร้อยละ 1-2 ในกรณีของญี่ปุ่น ดร.วิศาล บุปผเวส อดีตผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจระหว่างประเทศและการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ได้กล่าวเสริมว่า เมื่อการค้าเสรีทำให้ตลาดใหญ่ขึ้น โอกาสอาจเป็นของผู้ผลิตรายใหญ่ ในขณะที่รายย่อยปรับตัวหรือยกระดับมาตรฐานสินค้าให้ตรงกับเงื่อนไขของแต่ละตลาดได้ไม่ทัน ดังนั้น การบ้านหลังการเจรจาก็คือการติดตามว่า หลังความตกลงมีผลบังคับใช้แล้ว มีผู้ใช้ประโยชน์

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เลขที่ 44/100 ถ.นนทบุรี1 ต. บางกระสอ อ. เมือง จ. นนทบุรี 11000

โทรศัพท์ (66) 2507-7444 แฟกซ์ (66) 2547-5630

-พห-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ