สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ ปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Monday February 6, 2012 13:46 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 4/2555

นายพฤทธิพงศ์ ศรีมาจันทร์ ผู้อานวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สานักงานภาคใต้ แถลงว่า ปี 2554 นับเป็นปีทองของภาคใต้ที่เศรษฐกิจขยายตัวดีทั้งการผลิตภาคเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามการเพิ่มขึ้นของผลผลิตปาล์มน้ามันและยางพารา ขณะเดียวกันราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นทุกชนิด ทาให้รายได้ในภาคเกษตรเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง นอกจากนี้ สาขาเศรษฐกิจอื่น ๆ ทั้งการท่องเที่ยว การส่งออก และอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวในเกณฑ์ดีเช่นเดียวกัน ส่งผลให้เงินฝากและสินเชื่อ ตลอดจนการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามไปด้วย แม้ว่าในช่วงปลายปีจะได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในภาคกลางทาให้การขนส่งสินค้าไม่สะดวกก็ตาม ส่วนเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเป็นสาคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ภาคการผลิต เพิ่มขึ้นทั้งผลผลิตพืชผลเกษตรและผลผลิตอุตสาหกรรม โดยในปีนี้ดัชนีผลผลิตพืชผลเกษตรเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 9.2 หลังจากที่ในปีก่อนผลผลิตลดลงจากภัยแล้งและอุทกภัย โดยเฉพาะปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 32.1 เนื่องจากการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ามันในช่วงก่อนหน้าให้ผลผลิตเต็มที่ สัดส่วนต้นปาล์มพันธุ์ดีเพิ่มขึ้น และในปีนี้สภาพอากาศเอื้ออานวย ส่วนผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ตามการผลิตน้ามันปาล์มที่เพิ่มขึ้นจากปริมาณวัตถุดิบปาล์มน้ามันที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้การผลิตยางพาราแปรรูป และไม้ยางพาราแปรรูปเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ผลจากจีนยังมีความต้องการซื้ออย่างต่อเนื่อง

จากการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรมขยายตัวส่งผลให้การส่งออกขยายตัว โดยมีมูลค่า 20,664.6 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 38.2 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาเป็นสาคัญ ทั้งนี้ สินค้าส่งออกที่สาคัญส่วนใหญ่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะมูลค่าการส่งออกยางพารา ไม้ยางพาราแปรรูป อาหารทะเลกระป๋อง และถุงมือยาง ส่วนการนาเข้ามีมูลค่า 11,988.6 ล้านดอลลาร์สรอ. เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 49.7 ตามมูลค่าการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เป็นสาคัญ

ภาคการท่องเที่ยว จานวนนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาภาคใต้สูงเป็นประวัติการณ์ โดยขยายตัวทั้งในภาคใต้ฝั่งอันดามัน ภาคใต้ชายแดน และภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย ผลจากนักท่องเที่ยวมีความมั่นใจในความปลอดภัย การส่งเสริมการท่องเที่ยวของภาครัฐและเอกชน การเพิ่มเที่ยวบินในประเทศและต่างประเทศ ประกอบกับเศรษฐกิจเอเชียขยายตัวดี ส่งผลให้นักท่องเที่ยวแถบเอเชีย โดยเฉพาะมาเลเซีย และจีน เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น โดยในปี 2554 นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ จานวน 5.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 20.1

การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัว เนื่องจากรายได้ในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การส่งออก และการท่องเที่ยวอยู่ในเกณฑ์ดี จะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยังขยายตัว แม้ว่าในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ซึ่งเกิดสถานการณ์อุทกภัยในภาคกลางทาให้สินค้าอุปโภคบริโภคมีไม่เพียงพอจากการขนส่งสินค้าไม่สะดวกก็ตาม ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 และการนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูง ร้อยละ 97.5 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการนาเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในแท่นขุดเจาะน้ามัน นอกจากนี้ ทุนจดทะเบียนนิติบุคคลรายใหม่เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

เงินฝากและสินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคใต้ขยายตัวต่อเนื่อง โดยเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวร้อยละ 11.9 และ 16.0 ตามลาดับ เป็นการเพิ่มขึ้นจากการขยายฐานเงินฝากเพื่อรองรับการขยายตัวของสินเชื่อที่เพิ่มขึ้นทั้งสินเชื่อธุรกิจและการบริโภคส่วนบุคคล

ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 4.22 สูงขึ้นจากร้อยละ 3.63 ในปีก่อน ตามราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารสาเร็จรูป ผักและผลไม้ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้า ส่วนราคาหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นตามราคาน้ามันเชื้อเพลิงเป็นสาคัญ

แนวโน้มเศรษฐกิจภาคใต้ปี 2555 คาดว่าจะยังคงขยายตัว จากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ยังดีและความต้องการสินค้าจากประเทศในเอเชียที่ยังมีต่อเนื่อง ทาให้ราคาสินค้าเกษตรยังคงอยู่ในระดับสูง รวมถึงมาตรการภาครัฐที่จะส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัวจากการไปทาตลาดใหม่ และมีเที่ยวบินตรงจากต่างประเทศมายังแหล่งท่องเที่ยวสาคัญโดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต อย่างไรก็ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สภาพอากาศที่แปรปรวน และผลกระทบของอุทกภัยในภาคกลาง ซึ่งทาให้ขาดแคลนสินค้าบางประเภท เช่น รถยนต์ในช่วงต้นปี อาจทาให้เศรษฐกิจชะลอลงจากปี 2554 ส่วนเงินเฟ้อคาดว่าจะยังอยู่ในระดับสูงจากการปรับค่าจ้างแรงงานตามอัตราค่าจ้างขั้นต่า ซึ่งจะมีผลต่อเนื่องต่อต้นทุนของผู้ประกอบการ และส่งผ่านมายังราคาสินค้าผู้บริโภค รวมทั้งมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายและสนับสนุนรายได้ของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้มีความต้องการมากขึ้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร.0-7427-2000 ต่อ 4713 e-mail : somtawis@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ