บทความ: พ.ร.บ. ประมงฉบับใหม่ แก้ไขวิกฤติการทำประมงไทยได้จริงหรือ

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 26, 2012 10:47 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

โสมสิริ หมัดอะดั้ม

มิถุนายน 2555

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมการประมงและประชาชนเพิ่มขึ้นมาก ทำให้มีความต้องการใช้ผลผลิตทางการประมงมากขึ้น ขณะที่พื้นที่ทำการประมงมีอยู่เท่าเดิม ส่งผลให้มีการใช้เครื่องมือทำประมงที่เป็นการทำลายพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น เรืออวนลากมีการใช้อวนตาถี่มากเกินไป สามารถจับสัตว์น้ำได้ทุกขนาด แม้ว่าจะเป็นสัตว์น้ำขนาดเล็ก หรือลูกสัตว์น้ำที่ยังโตไม่ได้ขนาด การใช้ระเบิด ยาเบื่อ หรือเครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมายอื่นๆ นอกจากนี้การปล่อยน้ำเสียลงทะเล การทำลายปะการัง หญ้าทะเลและการบุกรุกป่าชายเลน ล้วนเป็นปัจจัยในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และแหล่งอนุบาลลูกสัตว์น้ำวัยอ่อนทั้งสิ้น ส่งผลให้ปริมาณสัตว์น้ำในทะเลลดลงต่อเนื่องอย่างชัดเจนตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา โดยในช่วง 10 ปีก่อน สามารถจับสัตว์น้ำได้ประมาณ 3.0 ล้านตันต่อปี ขณะที่ในปี 2552 สามารถจับสัตว์น้ำได้เพียง 1.7 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 43.3 และในปี 2555 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรคาดว่า ผลผลิตสัตว์น้ำที่ได้จากการทำประมงทะเลจะมีเพียง 1.59 ล้านตัน เช่นเดียวกับปริมาณสัตว์น้ำนำขึ้นท่าเทียบเรือประมงขององค์การสะพานปลาก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยในปี 2545 มีปริมาณ 1.11 ล้านตัน ส่วนปี 2553 มีปริมาณ 0.51 ล้านตัน หรือลดลงร้อยละ 54.1

สถานการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อรายได้ของชาวประมงพื้นบ้านลดลง ซึ่งผลการสารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า ครัวเรือนผู้ทำประมง มีรายได้ต่ำสุดเมื่อเทียบกับครัวเรือนประเภทอื่น โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนประมาณ 13,081 บาทต่อเดือน ขณะที่มีสัดส่วนหนี้สินต่อรายได้กว่า 5 เท่าตัว พร้อมกันนี้ยังส่งผลให้ราคาสัตว์น้ำสูงขึ้นต่อเนื่องจากการแข่งขันซื้อสัตว์น้ำของโรงงาน และพ่อค้าท้องถิ่น สะท้อนจากราคาเฉลี่ยปลาทูขนาดกลางที่สูงขึ้น ขณะที่ผู้ประกอบการประมง โดยเฉพาะประมงรายใหญ่มีการปรับตัวโดยออกไปจับปลานอกน่านน้ำไทย โดยเฉพาะในแหล่งประมงของประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ เมียนมาร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย กัมพูชา แต่หลายประเทศเริ่มมีความเข้มงวดในการอนุญาต และยังเพิ่มความเข้มงวดในการปราบปรามเรือต่างชาติที่ทาผิดกฎหมาย เพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเลของประเทศตน ซึ่งจากสถิติของสมาคมประมงนอกน่านน้ำไทย คาดว่ามีเรือประมงไทยที่ลักลอบเข้าไปทำการประมงในต่างประเทศโดยผิดกฎหมายประมาณ 3,000 ลา ซึ่งอาจทำให้กระทบต่อความสัมพันธ์และความร่วมมือ ทางด้านการประมงระหว่างประเทศ

สาเหตุหนึ่งของปัญหาดังกล่าวก็คือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การประมง พ.ศ. 2490 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันอาจจะไม่เหมาะสมกับสภาวะการประมงทั้งในน่านน้ำและนอกน่านน้ำไทยในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปจึงได้มีการยกร่าง พ.ร.บ.การประมงฉบับใหม่ขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาการทำประมง และมีการจัดการทรัพยากรประมง ควบคุมการทาประมงและการผลิตให้มีประสิทธิภาพ

ตารางเปรียบเทียบสาระสำคัญระหว่าง พ.ร.บ.การประมง 2490 กับร่าง พ.ร.บ. การประมง
     พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490                               ร่าง พ.ร.บ. การประมง
1. เขตพื้นที่ทาการประมง
   ไม่มีการกำหนดเขตพื้นที่ทำการประมงที่ชัดเจน ทำให้เกิด          มีการกำหนดเขตการทำประมงเป็น 3 เขต ได้แก่ เขตประมง
   ความขัดแย้งระหว่างประมงชายฝั่งและประมงพาณิชย์             ทะเลชายฝั่ง เขตประมงนอกชายฝั่ง และเขตประมงน้ำจืด
2. การส่งเสริมและควบคุมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
ไม่มีการกำหนดไว้ชัดเจน การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ผ่านมาจึงมี       มีหลักเกณฑ์ในการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งจะทำให้
   การใช้สารเคมีค่อนข้างมากเกิดการทำลายสิ่งแวดล้อม และ        สัตว์น้ำมีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและไม่ส่งผล
   มีการบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลนเพื่อใช้เป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ        กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
3. การควบคุมสุขอนามัย
   ขาดการกำหนดมาตรฐานที่ชัดเจน ทำให้สัตว์น้ำและ              มีการจัดทำมาตรฐานด้านสุขอนามัยในการจับ การดูแลรักษา
   ผลิตภัณฑ์จากสัตว์น้ำของไทย มีปัญหาปนเปื้อนของสารพิษ           สัตว์น้ำหลังการจับ การแปรรูป การเก็บรักษา การขนส่งหรือ
   ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออก                              จะส่งผลดีในระยะยาวต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ
4. การมีส่วนร่วมของประชาชน
   ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ทำให้ไม่มีการจัดการบริหาร         เพิ่มบทบาทกรมประมงให้มีหน้าที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมและ
   การประมงในองค์รวม                                   สนับสนุนชุมชนประมงท้องถิ่นในการจัดการ บารุงรักษา การ

อนุรักษ์ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรสัตว์น้ำ ซึ่ง

จะส่งผลดีในระยะยาวต่อทรัพยากรสัตว์น้ำ 5. คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

   ไม่มี ทำให้ขาดการบริหารจัดการการประมงในภาพรวม           มีหน้าที่กำหนดนโยบายด้านการประมงในภาพรวม

ประกอบด้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

และกรรมการอื่นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง

กับการประมง รวมทั้งกำกับ ให้คำปรึกษา และให้คำแนะนา

ในการดำเนินการแก่คณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำไทย 6. บทกำหนดโทษ

   ได้กำหนดโทษทางอาญาไว้แตกต่างกันตามลักษณะของโทษ          ยังคงหลักการเดิม แต่ได้ปรับปรุงสัดส่วนในการกำหนดอัตรา
   มีทั้งการปรับ การจำ และทั้งปรับทั้งจำ                       โทษของแต่ละลักษณะให้สอดคล้องกันยิ่งขึ้น
   -โทษปรับตั้งแต่ 50 - 200,000 บาท                       - โทษปรับตั้งแต่ 5,000 — 600,000 บาท
   -โทษจำตั้งแต่ 1 เดือน — 6 ปี                            - โทษจำตั้งแต่ 1 เดือน - 6 ปี
ที่มา: กรมประมง

จึงหวังว่า ในอนาคตหาก พ.ร.บ. การประมงฉบับใหม่ มีผลบังคับใช้จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการใช้ทรัพยากรประมงระหว่างกลุ่มประมงพาณิชย์กับกลุ่มประมงพื้นบ้าน และการใช้เครื่องมือทำประมงที่ทำลายระบบนิเวศน์และสภาพแวดล้อมทางทะเล เนื่องจากมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมการทำประมงในเขตการประมงแต่ละเขตอย่างชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้มีการฟื้นฟูทรัพยากรประมงและจัดระเบียบการทำประมงให้สมดุลกับศักยภาพการผลิตตามธรรมชาติ ขยายพื้นที่อนุรักษ์เพื่อการประมงทะเลพื้นบ้าน ส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พร้อมกันนั้นได้มีการกำหนดให้มีคณะกรรมการประมงนอกน่านน้ำเพื่อบริหารจัดการการออกไปทำการประมงนอกน่านน้ำไทยมีเอกภาพ ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการล่วงละเมิดน่านน้ำของประเทศอื่น และป้องกันการหลอกลวงเกี่ยวกับสิทธิในการทำประมงนอกน่านน้า รวมทั้งมีการแสวงหาลู่ทางการทำประมงในน่านน้ำต่างประเทศ โดยที่ไม่ขัดต่อระเบียบขององค์การระหว่างประเทศและประเทศที่นำเข้าโดยการพัฒนากองเรือประมงน้ำลึกและความร่วมมือกับต่างประเทศ นอกจากนี้ทำให้มีการพัฒนาสินค้าประมงให้มีคุณภาพและปลอดภัยตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ และพัฒนากระบวนการตรวจสอบคุณภาพสัตว์น้ำตามมาตรฐานสากล รวมทั้งยังมีการกำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ซึ่งมีตัวแทนจากภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม กระทรวงแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย สมาคมนอกน้ำไทย ฯลฯ ซึ่งจะทำให้การแก้ไขปัญหาและการบริหารจัดการเป็นระบบมากขึ้น

เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะทำให้การประมงของไทยพัฒนาได้ทั้งการประมงในน่านน้ำ ประมงนอกน่านน้ำ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมที่ต่อเนื่อง มาตรฐานการผลิต การรักษาระบบนิเวศน์ประมง อีกทั้งช่วยให้การฟื้นฟูแหล่งทรัพยากรสัตว์น้ำมีความชัดเจนมากขึ้น รวมถึงความต่อเนื่องของมาตรการบริหารจัดการทรัพยากรสัตว์น้ำ ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำของไทยเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน รวมทั้งลดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบสัตว์น้ำและคุณภาพสัตว์น้ำของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ตลอดจนมีผลดีต่อการตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาของสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ เนื่องจากเรือประมงไทยทุกลำต้องมีการจดทะเบียนเรือและต้องได้รับอนุญาตการทำประมง (อาชญาบัตร) ซึ่งจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับประมงไทยในอนาคต

บทความนี้เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับความคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

          ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ