บทความ: การค้าชายแดน: ความสำคัญต่อเศรษฐกิจภาคใต้

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 29, 2013 13:45 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

โสมสิริ หมัดอะดั้ม

พฤศจิกายน 2556

ในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมา การเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพารายได้จากต่างประเทศผ่านช่องทางการส่งออกเป็นหลักเริ่มประสบปญหา เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐ ญี่ปุน สหภาพยุโรป จีน ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยชะลอลงมากจากอัตราขยายตัวร้อยละ 17.7 ในปี 2553 เหลือเพียงร้อยละ 5.6 ในปี 2555 แต่ในขณะที่การค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านกลับมีแนวโน้มดี และขยายตัวต่อเนื่อง โดยในช่วงปี 2553 - 2555 มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดน**(1) เพิ่มขึ้นเฉลี่ย ร้อยละ 13.0 ต่อปี

ประเทศไทยมีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ คือ มาเลเซีย เมียนมาร์ ลาว และกัมพูชา โดยมีจุดผ่านแดนเกือบ 90 แห่ง ในปี 2555 มีมูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนสูงเกิน 9 แสนล้านบาท เป็นการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนที่ติดกับมาเลเซียถึงร้อยละ 56 ของมูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนทั้งหมด โดยมีมูลค่าการค้ารวม 515,923.5 ล้านบาท เป็นมูลค่าการส่งออก 303,019.5 ล้านบาท และมูลค่าการนำเข้า 212,903.9 ล้านบาท ทั้งนี้ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนระหว่างไทยและมาเลเซีย คิดเป็นร้อยละ 43 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้

หากพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ยางพารา ซึ่งเป็นผลผลิตของภาคใต้กว่าร้อยละ 70 ของผลผลิตทั้งประเทศ เป็นสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนมากที่สุด โดยมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 45 ของมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดน หรือร้อยละ 11.7 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ โดยหากเป็นสินค้า น้ำยางข้นจะเป็นสินค้าที่ส่งออกไปมาเลเซียโดยตรง แต่ถ้าเป็นยางประเภทอื่น อาทิ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน ส่วนใหญ่ส่งออกไปประเทศที่สาม เช่น ตลาดจีน ญี่ปุน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีสินค้าไม้ยางพาราแปรรูปและสัตว์น้ำ แม้ว่าจะมีความสำคัญน้อยกว่ายางพารา แต่ไทยเป็นผู้ส่งออกไม้ยางพาราแปรรูปและสัตว์น้ำรายใหญ่ของโลก ในแต่ละปีมีมูลค่าการส่งออกผ่านด่านศุลกากรชายแดนเฉลี่ยต่อปีรวมกันประมาณ 12,000 ล้านบาท หรือเพียงร้อยละ 1 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคใต้ โดยการส่งออกไม้แปรรูปเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 29.3 ต่อปี ส่วนสัตว์น้ำลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.0 ต่อปี จากปญหาด้านผลผลิตสัตว์น้ำภายในประเทศที่ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะสัตว์น้ำที่จับจากแหล่งน้ำตามธรรมชาติ และปญหาโรคระบาดในกุ้ง ทำให้ผลผลิตเสียหายและส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจภาคใต้

จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าการผลิตของภาคใต้ส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก ดังนั้น การค้าชายแดนจึงมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของภาคใต้ และคาดว่าจะมีมูลค่าสูงขึ้น เนื่องจากมาเลเซียเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน และมีการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจและการค้าที่เสรีมากกว่าประเทศอื่น ๆ ประกอบกับมีความร่วมมือและความตกลงทางการค้าในรูปแบบต่างๆ รวมถึงประสิทธิภาพของการบริหารจัดการด่านพรมแดน (Border Administration) ของไทยและมาเลเซียที่ถูกจัดอันดับที่ไม่แตกต่างกันมากนัก (อันดับ 47 และ 39 ตามลำดับ)*(2)

จากผลของการรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทำให้บทบาทของตลาดประเทศ เพื่อนบ้านมีความสำคัญมากขึ้น เพราะข้อจำกัดทางการค้าลดลง จะมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของสินค้าและบริการไทย ดังนั้น การใช้ศักยภาพความได้เปรียบด้านภูมิศาสตร์และศักยภาพของพื้นที่ชายแดนที่เชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศของไทย จึงเป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน ซึ่งจะเห็นได้จากแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 - 2559) ได้มีการกำหนดเปาหมายมูลค่าการค้าชายแดนในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.0 ต่อปี ดังนั้น คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซียน่าจะสูงถึง 1 ล้านล้านบาท อันจะส่งผลให้เศรษฐกิจของภาคใต้เติบโตต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง

*(1) มูลค่าการค้าผ่านแดนศุลกากรชายแดน ประกอบด้วยมูลค่าการค้ากับประเทศที่มีพรมแดนติดต่อกันและมูลค่าการค้าที่ส่งไปยังประเทศปลายทางอื่น

*(2) The Open Border Index: ความสามารถการบริหารการเปิดพรมแดนของ 132 ประเทศ (จัดทำโดย World Economic Forum: WEF 2012)

ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทยสำนักงานภาคใต

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ