สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมกราคม ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday March 4, 2014 10:17 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 6/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมกราคม 2557 หดตัวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งการผลิตภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันราคายางซึ่งเป็นสินค้าเกษตรสาคัญของภาคใต้ยังคงลดลงต่อเนื่องทาให้รายได้เกษตรกรลดลง นอกจากนี้การท่องเที่ยวได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาและตามการประกาศเตือนนักท่องเที่ยวของหลายประเทศจากเหตุการณ์ชุมนุมทางการเมืองที่ทาให้มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคชะลอลงต่อเนื่อง และการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัว ส่วนอัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มตามราคาอาหารสดและพลังงาน

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 12.9 จากการลดลงทั้งผลผลิตและราคา โดยดัชนีผลผลิตภาคเกษตรลดลงร้อยละ 10.3 จากผลผลิตกุ้งขาวที่ลดลงเนื่องจากอยู่ในระหว่างลงกุ้งรอบใหม่หลังจากประสบปัญหาโรคระบาดช่วงก่อนหน้า และผลผลิตปาล์มน้ามันลดลงตามฤดูกาล หลังจากให้ผลผลิตมากในปีก่อนส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 2.9 ตามราคายางพาราที่ยังได้รับแรงกดดันจากสต็อกอยู่ในระดับสูง และความต้องการจากจีนลดลง

ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 6.8 ตามการผลิตยาง หลังจากเร่งผลิตมากในเดือนก่อนเพื่อส่งออกก่อนสิ้นสุดมาตรการยกเว้นการเก็บเงินสงเคราะห์ (cess) และคาสั่งซื้อจากจีนที่ลดลงในช่วงเทศกาลตรุษจีนที่มีวันหยุดติดต่อกันหลายวัน ขณะเดียวกันการผลิตอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปและการผลิตน้ามันปาล์มดิบลดลงตามปริมาณวัตถุดิบ ส่วนการผลิตไม้ยางพาราและถุงมือยางชะลอลง

สอดคล้องกับมูลค่าการส่งออกที่ลดลงร้อยละ 9.1 อย่างไรก็ดีมูลค่าการส่งออกอาหารบรรจุกระป๋องเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 51.9 จากคาสั่งซื้อที่เริ่มกลับเข้ามาของตลาดตะวันออกกลางหลังจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางเริ่มคลี่คลาย และราคาวัตถุดิบทูน่าอยู่ในระดับต่าจูงใจผู้นาเข้ามีแรงซื้อเพิ่มขึ้น

ขณะเดียวกันการท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 3.1 หลังจากที่เร่งตัวในช่วงก่อนหน้า เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การชุมนุมทางการเมืองทาให้มีการประกาศ พรก.ฉุกเฉิน และเหตุการณ์ระเบิดในพื้นที่ชายแดนจังหวัดสงขลาเมื่อเดือนก่อน ส่งผลต่อความเชื่อมั่น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจังหวัดสงขลาลดลงถึงร้อยละ 23.1 ส่วนนักท่องเที่ยวฝั่งอันดามันชะลอลง

จากการที่รายได้เกษตรกร การท่องเที่ยวและการส่งออกลดลง ส่งผลกระทบต่อกาลังซื้อของประชาชน รวมทั้งสถานการณ์การเมืองที่ยังมีความไม่แน่นอน ทาให้มีการระมัดระวังการใช้จ่าย โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเพียงร้อยละ 0.4 ชะลอลงต่อเนื่อง ตามการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์และภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ลดลง

ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงต่อเนื่องร้อยละ 11.8 โดยเครื่องชี้สาคัญลดลงทุกหมวด ทั้งการก่อสร้าง การจาหน่ายปูนซีเมนต์ มูลค่าการนาเข้าสินค้าทุน และการจดทะเบียนรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลเนื่องจากยังไม่มีปัจจัยสนับสนุน โดยการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการสร้างตามยอดจองในปีก่อน ประกอบกับผู้ประกอบการรอประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมืองที่ยังไม่ชัดเจน

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการลดลงร้อยละ 5.8 ตามการลดลงของรายจ่ายประจา เป็นสาคัญ และรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรลดลงร้อยละ 6.8 ตามภาษีสรรพากรที่จัดเก็บได้ลดลงทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจัดเก็บได้ลดลง ซึ่งเป็นผลจากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2556 ลดลง ทาให้ผู้มีเงินได้เสียภาษีในอัตราน้อยลงขณะที่จัดเก็บภาษีสรรพสามิตได้เพิ่มขึ้นจากภาษีน้ามันและภาษีเครื่องดื่ม

สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราเงินเฟ้อขยับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 2.15 ตามราคาอาหารสดและพลังงาน เนื่องจากความต้องการเพิ่มขึ้นในช่วงเทศกาลตรุษจีน และราคาน้ามันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นตามราคาตลาดโลก สาหรับการจ้างงานชะลอลง โดยอัตราการว่างงานสูงขึ้นจากร้อยละ 0.70 ในเดือนก่อนเป็นร้อยละ 1.11 ในเดือนนี้ จากการจ้างงานในภาคการผลิต ก่อสร้าง การค้าและบริการ ลดลงเป็นสาคัญ ส่วนจานวนแรงงานที่เข้าสู่การประกันตนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ชะลอจากร้อยละ 3.1 ในเดือนก่อน

เงินให้สินเชื่อ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2556 ขยายตัวร้อยละ 16.6 ชะลอตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภค จากการชะลอตัวของสินเชื่อเช่าซื้อรถ เป็นสาคัญ ส่วนเงินฝากขยายตัวร้อยละ 4.1 เป็นผลจากการโอนเงินงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ