สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนตุลาคม ปี 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday December 2, 2014 11:06 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 22/2557

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนตุลาคม 2557 เศรษฐกิจโดยรวมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน ตามการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ขณะเดียวกันมีแรงกระตุ้นจากการเร่งเบิกจ่ายของภาครัฐ ส่งผลให้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนกลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อน ส่วนการลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแอด้านธนาคารพาณิชย์ทั้งเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง สาหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อชะลอลงตามราคาอาหารสดและพลังงานเป็นสำคัญ

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ มีดังนี้

เศรษฐกิจโดยรวมปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน โดยดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนขยายตัวร้อยละ 0.3 ตามการผลิตอาหารทะเลกระป๋องและอาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูปเพิ่มขึ้นจากวัตถุดิบทูน่าและกุ้งขาวมีปริมาณเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาสินค้าอยู่ในระดับต่ำตามต้นทุนวัตถุดิบส่งผลให้คู่ค้ามีคาสั่งซื้อเพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตยางพาราเพื่อการส่งออกลดลงในผลิตภัณฑ์ทุกประเภท โดยเฉพาะการชะลอซื้อของตลาดหลักจีน เนื่องจากฐานสูงจากมาตรการยกเว้นเงินสงเคราะห์ยางในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีก่อนทาให้จีนเร่งซื้อ อย่างไรก็ดีความต้องการไม้ยางพาราในจีนยังคงขยายตัว แต่ลดลงในตลาดตะวันออกกลางและอินโดนีเซีย ส่งผลให้การผลิตไม้ยางขยายตัวเพียงเล็กน้อยด้านการผลิตถุงมือยางเพื่อส่งออกลดลงในตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและตะวันออกกลาง ส่วนการผลิตน้ามันปาล์มดิบลดลงตามปริมาณวัตถุดิบ

การท่องเที่ยวขยายตัวจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน โดยมีจำนวนนักท่องเที่ยว 604,410 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.4 จากนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและจีนเป็นสำคัญ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกที่มีเทศกาลกินเจ 2 ครั้ง และเทศกาลฮารีรายอ นอกจากนี้อยู่ในช่วงการได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมวีซ่าของนักท่องเที่ยวจีน ประกอบกับฐานต่ำที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนจีนอยู่ระหว่างการเริ่มประกาศใช้กฎคุมเข้มทัวร์ศูนย์เหรียญ ส่งผลให้การท่องเที่ยวฝั่งอันดามันและภาคใต้ตอนล่างขยายตัวขณะที่ฝั่งอ่าวไทยลดลง

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นหลังจากอ่อนแรงลงในเดือนก่อน โดยขยายตัวจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.3 จากภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามรายได้จากภาคเกษตรยังอยู่ในระดับต่ำทำให้ครัวเรือนระมัดระวังการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้จ่ายในหมวดยานยนต์ยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.3 สอดคล้องกับสินเชื่อภาคธุรกิจที่ยังชะลอลง อย่างไรก็ตามการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่ท่องเที่ยวยังขยายตัวดี

ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเมื่อปรับปัจจัยฤดูกาลแล้วเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน โดยเฉพาะผลผลิตกุ้งขาวเริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 13.4 ตามผลผลิตยาง ปาล์มน้ำมันและกุ้งขาว ส่วนดัชนีราคาสินค้าเกษตรลดลงร้อยละ 29.4 ตามราคายางที่ยังลดลงต่อเนื่องจากความต้องการใช้ยางโลกที่ชะลอตัว ประกอบกับแรงกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ลดลงขณะเดียวกันราคากุ้งขาวลดลงเป็นผลจากฐานสูงในปีก่อนและประเทศคู่แข่งมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 38.9

มูลค่าการส่งออกและนำเข้าลดลงจากเดือนก่อนและเดือนเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.6 ตามมูลค่าการส่งออกยางและไม้ยางแปรรูปที่ลดลง ขณะที่มูลค่าการส่งออกอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำและถุงมือยางเพิ่มขึ้น ส่วนมูลค่าการนำเข้าลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 13.1 ตามการนำเข้าเครื่องจักรอุปกรณ์ อุปกรณ์ก่อสร้างและน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลง

การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 38.6 โดยเพิ่มขึ้นทั้งรายจ่ายประจาและรายจ่ายลงทุน เป็นผลจากมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ และรายได้จากการจัดเก็บภาษีอากรเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 ตามการจัดเก็บภาษีที่ปรับตัวดีขึ้นทุกประเภท โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยรวม อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.03 ปรับดีขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 1.32 ในเดือนก่อน สอดคล้องกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.77 ชะลอลงต่อเนื่อง ตามราคาอาหารสดและราคาน้ามันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศที่ปรับลดลงตามราคาตลาดโลกเป็นสำคัญ

ณ สิ้นเดือนกันยายน 2557 เงินฝากและเงินให้สินเชื่อของสาขาธนาคารพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 2.2 และ 2.8 ตามลำดับเป็นอัตราที่ชะลอลงต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำทำให้ผู้ออมเงินนำเงินไปลงทุนในทางเลือกอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ส่วนสินเชื่อชะลอลงทั้งสินเชื่อธุรกิจและสินเชื่ออุปโภคบริโภค

ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทรศัพท์ 0 7427 2000 ต่อ 4716

E-mail : Arunyas@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ