แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนพฤศจิกายน 2557

ข่าวหุ้น-การเงิน Tuesday January 6, 2015 10:52 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 1/2558

ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนพฤศจิกายน 2557 โดยรวมชะลอลงจากเดือนก่อนมากกว่าที่คาดการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังฟื้นตัวช้า การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลชะลอลงจากเดือนก่อน แม้จะพยายามเบิกจ่ายเพื่อการปรับปรุงซ่อมสร้างมากขึ้น สอดคล้องกับดัชนีในภาคการผลิตลดลงทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร มีเพียงภาคการท่องเที่ยวที่ยังคงขยายตัวต่อในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวของภาคเหนือ ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจในประเทศโดยทั่วไปไม่ต่างจากเดือนก่อน ทั้งอัตราการว่างงานและอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำ สำหรับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ปรับเพิ่มขึ้น แต่สินเชื่อยังชะลอตัวต่อเนื่อง

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคเหนือมี ดังนี้

การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนยังอ่อนแอและฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด โดยดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 2.7 โดยการบริโภคสินค้าในหมวดยานยนต์ยังลดลง จากภาวะ ซบเซาของก่าลังซื้อภาคครัวเรือน ประกอบกับรายได้เกษตรกรและความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับลดลงจากเดือนก่อน ท่าให้ยังระมัดระวังในการใช้จ่าย อย่างไรก็ดี การทำงานล่วงเวลาของแรงงานนอกภาคเกษตร การจ่ายเงินโครงการช่วยเหลือให้แก่ชาวนาและการจับจ่ายใช้สอยของนักท่องเที่ยวมีส่วนช่วยสนับสนุนให้สินค้าจำเป็นต่อการอุปโภคบริโภคยังขยายตัวได้บ้าง

ด้านการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ดีขึ้น ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 ส่วนส่าคัญมาจากภาคการก่อสร้างที่ยอดขายวัสดุก่อสร้างลดลงในเดือนนี้ และผู้ประกอบการยังชะลอการลงทุนใหม่ อย่างไรก็ดี พื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลกลับมาขยายตัวอีกครั้งในส่วนของที่อยู่อาศัยและเชิงพาณิชย์ รวมถึงเงินลงทุนที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ก็เพิ่มขึ้นในหมวดบริการและ สาธารณูปโภคจากกลุ่มพลังงานทดแทน

ในส่วนของภาครัฐ รายจ่ายประจำของภาครัฐ ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 43.6 เป็นผลจากฐานสูงในปีก่อน ที่มีการโอนเงินให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาจำนวนมาก ขณะที่การเบิกจ่ายงบลงทุนขยายตัวในอัตราชะลอลงจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการเบิกจ่ายเพื่อการปรับปรุงและซ่อมสร้าง มูลค่าการส่งออก เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนเพียงร้อยละ 2.2 ตามการส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคผ่านด่านชายแดนโดยเฉพาะเมียนมาร์เป็นส่าคัญ การส่งออกในส่วนของสินค้าประเภทชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไปตลาดญี่ปุ่น จีนและยุโรป ชะลอลงเนื่องจากได้เร่งผลิตและส่งออกในเดือนก่อนแล้ว การนำเข้า ลดลงร้อยละ 4.4 ตามการลดลงของการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลาง

ภาคการผลิตลดลงทั้งสินค้าอุตสาหกรรมและสินค้าเกษตร โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 ส่วนส่าคัญมาจากอุตสาหกรรมเครื่องดื่ม วัสดุก่อสร้าง อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และการผลิตน้ำตาลจากการเลื่อนเวลาในการเปิดหีบอ้อย อย่างไรก็ดี การผลิตชิ้นส่วนเลนส์กล้องถ่ายภาพ เครื่องใช้เซรามิกบนโต๊ะอาหาร เครื่องประดับและเฟอร์นิเจอร์ยังขยายตัว

ผลผลิตสินค้าเกษตร ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.3 ตามผลผลิตข้าวและอ้อย จากผลกระทบภัยแล้ง ประกอบกับโรงงานน้ำตาลเลื่อนเวลาการเปิดหีบอ้อย ท่าให้เกษตรกรเลื่อนการตัดอ้อยเป็นเดือนถัดไปอย่างไรก็ดี ผลผลิตลำไยนอกฤดูกาล มันส่าปะหลังและปศุสัตว์โดยเฉพาะไก่พันธุ์เนื้อและไข่ไก่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคาสินค้าเกษตร แม้ปรับดีขึ้นจากเดือนก่อน แต่ยังลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.7 ตามราคาพืชสำคัญคือข้าวเปลือกเหนียวและราคาถั่วเหลือง รวมทั้งราคาปศุสัตว์ลดลงทั้งสุกร ไก่พันธุ์เนื้อและไข่ไก่ ส่งผลให้รายได้เกษตรกรลดลงร้อยละ 10.7 จากระยะเดียวกันปีก่อน

อย่างไรก็ดี ภาคการท่องเที่ยว ยังขยายตัวต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว ซึ่งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น การแข่งขันเชียงใหม่กอล์ฟคลาสสิค การจัดโรดโชว์ไปตามหัวเมืองส่าคัญในจีน โดยมีเที่ยวบินตรงและเช่าเหมาล่าเพิ่มขึ้นชัดเจน สะท้อนจากจำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยานและอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน

เสถียรภาพเศรษฐกิจภาคเหนือทั่วไปไม่แตกต่างจากเดือนก่อน อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงต่อเนื่องเหลือร้อยละ 1.2 ตามราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ลดลงตามราคาในตลาดโลก อีกทั้งราคาอาหารสดโดยเฉพาะเนื้อสัตว์ ไก่สดและผลไม้สดลดลง เนื่องจากมีปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้น ด้านอัตราการว่างงาน ยังอยู่ในระดับต่ำ ที่ร้อยละ 0.4

ภาคการเงิน เงินฝากของสาขาธนาคารพาณิชย์ ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2557 มียอดคงค้าง 590,042 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ตามเงินฝากของส่วนราชการและการระดมเงินฝากโดยออกผลิตภัณฑ์เงินฝากที่ให้ผลตอบแทนจูงใจ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 583,685 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 4.8 ชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 17 ส่วนหนึ่งเป็นการชะลอลงของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ อย่างไรก็ดี สินเชื่อธนาคารพาณิชย์มีสัญญาณดีขึ้นจากยอดความต้องการสินเชื่อของธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง โรงสีข้าวและแปรรูปเกษตรเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3

ธนาคารแห่งประเทศไทย ส่านักงานภาคเหนือ

ข้อมูลเพิ่มเติม : ส่วนเศรษฐกิจภาค

โทร. 0 5393 1164

e-mail: Kusolc@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ