แถลงข่าวเศรษฐกิจและการเงินเดือนตุลาคม ปี 2558

ข่าวหุ้น-การเงิน Monday November 30, 2015 10:27 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ฉบับที่ 56/2558

ในเดือนตุลาคม 2558 เศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปโดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ทำได้ดีต่อเนื่อง การบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัวจากการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าจำเป็นและบริการและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มีสัญญาณปรับดีขึ้นตามจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดีการส่งออกสินค้าที่ยังคงหดตัวต่อเนื่องตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอาเซียนส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับอัตราการใช้กำลังการผลิตที่อยู่ต่ำกว่าระดับปกติในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจอัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงจากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้นและผลของฐานราคาน้ำมันสูงที่ทยอยลดลงอัตราการว่างงานทรงตัวโดยมีแรงงานย้ายกลับเข้าสู่ภาคเกษตรเพื่อการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่องจากการนำเข้าที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุล แม้ในเดือนนี้มีการไหลเข้าสุทธิของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ของนักลงทุนต่างชาติเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือนหลังธนาคารกลางสหรัฐฯ มีท่าทีเลื่อนเวลาการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปชั่วคราว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจไทยมีดังนี้

การใช้จ่ายภาครัฐทำได้ดีต่อเนื่องทั้งการเบิกจ่ายงบประจำและงบลงทุนโดยการเบิกจ่ายลงทุน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นโครงการขนาดเล็กด้านคมนาคมและชลประทาน ประกอบกับมีการเร่งเบิกจ่ายเพื่อปรับปรุงอาคารและสิ่งปลูกสร้างของมหาวิทยาลัยในช่วงต้นปีงบประมาณ ด้านรายได้รัฐบาลหดตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนตามรายได้ที่มิใช่ภาษีเนื่องจากรัฐวิสาหกิจได้เร่งนำส่งรายได้ไปแล้วในเดือนก่อน ขณะที่รายได้ภาษีขยายตัวบ้าง สะท้อนถึงเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ มาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่ทยอยออกมาตั้งแต่ช่วงเดือนกันยายนมีส่วนทำให้ความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจในอนาคตของผู้บริโภคและ ภาคธุรกิจปรับดีขึ้น

เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนปรับดีขึ้นในหมวดสินค้าไม่คงทนกลุ่มสินค้าจำเป็นและหมวดบริการ อาทิ การสื่อสารและขนส่งโดยปัจจัยสนับสนุนมาจาก 1) กำลังซื้อนอกภาคเกษตรที่ปรับดีขึ้นบ้าง ส่วนหนึ่งเพราะราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่าต่อเนื่อง และ 2) ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่กระเตื้องขึ้น อย่างไรก็ดี การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทน อาทิ รถยนต์ แม้ปรับดีขึ้นบ้างเพราะผู้บริโภคบางส่วนตัดสินใจซื้อก่อนการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตรถยนต์บางรุ่นในช่วงต้นปีหน้าแต่โดยรวมยังอยู่ในระดับต่ำสอดคล้องกับรายได้ของครัวเรือน ภาคเกษตรที่ตกต่ำและภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่ยังสูงรวมทั้งความระมัดระวังของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคครัวเรือนหลังสัดส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา

ภาคการท่องเที่ยวมีสัญญาณปรับดีขึ้น สะท้อนจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่ขยายตัวจากเดือนก่อนในอัตราร้อยละ 3.7 หลังจากหดตัวติดต่อกันสองเดือนเพราะเหตุการณ์ระเบิดในกรุงเทพฯ โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเป็นหลัก อย่างไรก็ดีจำนวนนักท่องเที่ยวจากหลายประเทศสำคัญยังคงปรับลดลงจากเดือนก่อน อาทิ มาเลเซีย และรัสเซีย

มูลค่าการส่งออกสินค้าหดตัวร้อยละ 8.0 จากระยะเดียวกันปีก่อนเพราะ 1) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนและอาเซียนซึ่งเป็นคู่ค้าสาคัญ 2) ราคาส่งออกสินค้าหลายชนิดอยู่ในระดับต่ากว่าปีที่แล้วตามทิศทางราคาน้ำมันโลก และ 3) ผลของฐานสูงในช่วงปลายปีก่อนที่มีการเร่งส่งออกสินค้าที่ใกล้จะหมดสิทธิประโยชน์ GSP ทั้งนี้ แม้การส่งออกสินค้าส่วนใหญ่หดตัว แต่สินค้าบางหมวดสามารถขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง อาทิรถยนต์โดยเฉพาะรถยนต์เชิงพาณิชย์ที่เพิ่งมีการปรับเปลี่ยนรุ่น รวมทั้งชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และเลนส์เพื่อนำไปประกอบเป็นโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตรุ่นใหม่ในจีน

อุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่เข้มแข็งและการส่งออกที่อยู่ในระดับต่าส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ในขณะเดียวกันเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากธุรกิจมีกาลังการผลิตเพียงพอรองรับความต้องการสินค้าทั้งในและต่างประเทศที่ยังมีไม่มากนัก โดยในเดือนนี้อัตราการใช้กาลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอยู่ที่ร้อยละ 60.4 การนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์เพื่อลงทุนขยายกาลังการผลิตจึงยังอยู่ในระดับต่า ขณะที่การลงทุนก่อสร้างค่อนข้างทรงตัวสอดคล้องกับภาวะอสังหาริมทรัพย์

มูลค่าการนำเข้าสินค้าหดตัวร้อยละ 21.3 จากระยะเดียวกันปีก่อน โดยเป็นการหดตัวต่อเนื่องในเกือบทุกหมวด ทั้งการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคและวัตถุดิบ (ไม่รวมน้ำมัน) ที่หดตัวสอดคล้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ดีนักโดยเฉพาะในภาคการผลิตอุตสาหกรรม ส่วนการนาเข้าน้ามันดิบที่หดตัวสูงเป็นผลจากราคาน้ามันในตลาดโลกที่ลดลงเป็นหลัก อย่างไรก็ดี การนาเข้าสินค้าทุนขยายตัวได้ตามการนาเข้าเครื่องบินขณะที่การนาเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ยังคงหดตัว สอดคล้องกับภาวะการลงทุนในประเทศ

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงจากเดือนก่อนมาอยู่ที่ร้อยละ -0.77 จากราคาอาหารสดที่เพิ่มขึ้นและผลของฐานราคาน้ำมันสูงที่ทยอยลดลง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวจากเดือนก่อนที่ร้อยละ 0.95 ตามอุปสงค์ในประเทศที่ฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป สำหรับอัตราว่างงานใกล้เคียงกับเดือนก่อน โดยแรงงานทยอยย้ายกลับเข้าสู่ภาคเกษตรตามการเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ด้านดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูงที่ 5.2 พันล้านดอลลาร์ สรอ. เพราะการนำเข้าสินค้าที่อยู่ในระดับต่ำเป็นสำคัญ ขณะที่ดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายขาดดุลจากการชำระคืนเงินกู้ต่างประเทศของสถาบันรับฝากเงิน และการออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศของนักลงทุนไทย อย่างไรก็ดีในเดือนนี้มีการไหลกลับเข้ามาของเงินลงทุนในหลักทรัพย์ไทยของนักลงทุนต่างชาติ หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ มีท่าทีเลื่อนช่วงเวลาของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไปชั่วคราว

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ข้อมูลเพิ่มเติม: ทีมเศรษฐกิจมหภาค

โทร. 0 2283 5647, 0 2283 5648

e-mail: MPGMacroEconomics@bot.or.th

ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ