นางอัจนา ไวความดี ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้มในระยะต่อไป เพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
1. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากแรงขับเคลื่อนทั้งการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาคเอกชน และจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
2. จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว รวมทั้งราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 แม้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า แนวโน้มที่ตลาดแรงงานจะตึงตัวขึ้นและเศรษฐกิจที่จะขยายตัวต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะต่อไป
3. ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว นอกเหนือจากการดูแลแรงกดดันทางด้านราคาซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจแล้ว คณะกรรมการฯ เห็นความจำเป็นที่จะต้องติดตามตัวชี้ที่ส่อเค้าปัญหาทางการเงินในภาคเศรษฐกิจบางภาค และเมื่อพิจารณาแล้ว คณะกรรมการฯ มีความห่วงใยต่อการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้
4. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาความเสี่ยงปัจจุบัน ทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และปัญหาไข้หวัดนกที่กลับมาอีกครั้ง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในต่างประเทศ ราคาน้ำมัน ซึ่งอาจกระทบต่อความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
5. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าในระยะต่อไปอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมากเช่นในปัจจุบันมีความจำเป็นน้อยลง และพร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหากมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นชัดเจน หรือมีสัญญาณของปัญหาที่เกิดขึ้นต่อฐานะทางการเงินในภาคเศรษฐกิจ ที่อาจก่อตัวขึ้น แต่เพราะความไม่แน่นอนของปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีอยู่ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ในระดับร้อยละ 1.25 ต่อปี ไปอีกระยะหนึ่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม คุณผจงจิต จิตตะมัย โทร 0 2283 5621 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากแรงขับเคลื่อนทั้งการใช้จ่ายในประเทศและการส่งออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนภาคเอกชน และจากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย
2. จากการที่เศรษฐกิจขยายตัว รวมทั้งราคาน้ำมันและราคาสินค้าเกษตรที่เพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องทำให้อัตราเงินเฟ้อเร่งสูงขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนมิถุนายนอยู่ที่ระดับร้อยละ 3 แม้ว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานยังอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.5 คณะกรรมการฯ ประเมินว่า แนวโน้มที่ตลาดแรงงานจะตึงตัวขึ้นและเศรษฐกิจที่จะขยายตัวต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในระยะต่อไป
3. ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว นอกเหนือจากการดูแลแรงกดดันทางด้านราคาซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจแล้ว คณะกรรมการฯ เห็นความจำเป็นที่จะต้องติดตามตัวชี้ที่ส่อเค้าปัญหาทางการเงินในภาคเศรษฐกิจบางภาค และเมื่อพิจารณาแล้ว คณะกรรมการฯ มีความห่วงใยต่อการขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ และหนี้ภาคครัวเรือนที่เป็นอยู่ในขณะนี้
4. คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาความเสี่ยงปัจจุบัน ทั้งจากปัจจัยภายใน เช่น สถานการณ์ความไม่สงบในภาคใต้ และปัญหาไข้หวัดนกที่กลับมาอีกครั้ง ซึ่งมีผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุน รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นในต่างประเทศ ราคาน้ำมัน ซึ่งอาจกระทบต่อความไม่แน่นอนในการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะต่อไป
5. คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าในระยะต่อไปอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำมากเช่นในปัจจุบันมีความจำเป็นน้อยลง และพร้อมที่จะปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นหากมีสัญญาณว่าเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นชัดเจน หรือมีสัญญาณของปัญหาที่เกิดขึ้นต่อฐานะทางการเงินในภาคเศรษฐกิจ ที่อาจก่อตัวขึ้น แต่เพราะความไม่แน่นอนของปัจจัยเสี่ยงที่ยังมีอยู่ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 14 วัน ในระดับร้อยละ 1.25 ต่อปี ไปอีกระยะหนึ่ง
ข้อมูลเพิ่มเติม คุณผจงจิต จิตตะมัย โทร 0 2283 5621 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--