ภาวะเศรษฐกิจการเงินภาคเหนือเดือนกุมภาพันธ์ 2551 โดยรวมขยายตัวในเกณฑ์ดี โดยด้านอุปสงค์ การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนเร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนตามกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกของธุรกิจเป็นสำคัญ การลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นโดยเฉพาะในเมืองหลัก ด้านอุปทาน ผลผลิตพืชหลักเพิ่มขึ้นแต่ราคาผลผลิตลดลงจากราคาอ้อยเป็นสำคัญ ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง สำหรับการผลิตอุตสาหกรรมยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่วนภาคบริการชะลอลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาล ดัชนีราคาผู้บริโภคเร่งตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน จากสินค้าในหมวดอาหารและพลังงาน ทางด้านเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวต่อเนื่องจากเดือนก่อน
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยที่ราคาพืชผลที่สำคัญในปีก่อนสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ได้แก่อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และกระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลผลิตของหอมแดงและหอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้นเช่นกันเป็นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชหลักลดลงร้อยละ 5.8 ถึงแม้ราคามันสำปะหลังสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.0 ตามอุปสงค์ของทั้งในและต่างประเทศ และราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 21.0 ตามความต้องการส่งออก แต่ที่สำคัญราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 4.6 เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นและค่าความหวานเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อน กระเทียมแห้งและหอมหัวใหญ่มีราคาลดลงร้อยละ 43.7 และร้อยละ 73.7 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เดือนก่อน ตามการผลิตที่ขยายตัวเกือบทุกหมวดอุตสาหกรรม(ยกเว้นหมวดเครื่องดื่มและสิ่งทอ) โดยอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน การขยายตัวที่สำคัญมาจากข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง การผลิตผลไม้และผักสดแช่แข็งที่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามผลผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 7.5 จากเดือนเดียวกันปีก่อนเพราะปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลง ด้านอุตสาหกรรมเซรามิกประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อส่งออกไปตลาดยุโรป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการผลิตส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและไอซีที่ชะลอลง ประกอบกับการผลิตส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดีการผลิตไดโอดขยายตัวดีตามความต้องการของตลาดจีนและเกาหลีใต้ ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอลดลงตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำมาจากฝ้ายและชนิดอื่น ๆ
3. ภาคบริการ ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาลและลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดงานพืชสวนโลก การเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินต้นทุนต่ำและการเปิดตัวสายการบินใหม่(Siam General Aviation Company Limited : SGA Airlines) มีส่วนช่วยทำให้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 อัตราการเข้าพักรวมถึงราคาห้องพักโดยเฉลี่ย ปรับตัวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามโรงแรมที่เปลี่ยนผู้บริหารจัดการมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดทำให้มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการ ได้แก่ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 23.0 และร้อยละ 18.9 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงในเดือนก่อนร้อยละ 6.2 และร้อยละ 18.8 ตามลำดับ จากการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดเชิงรุกและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.4 เปรียบเทียบการเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.9 และร้อยละ 24.3 ตามลำดับ โดยขยายตัวในจังหวัดสำคัญทางเศรษฐกิจได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และลำปาง ส่วนยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 477.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 11,175.8 ล้านบาท
ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีการเร่งเบิกจ่ายหลังจากที่ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ประกาศใช้ล่าช้า (วันที่ 9 มกราคม 2550) โดยการเบิกจ่ายเงินจากปีงบประมาณปัจจุบันลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.9 ตามการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเงินอุดหนุนทั่วไปในส่วนที่เป็นงบลงทุนลดลงร้อยละ 85.7 ขณะที่การเบิกจ่ายเงินจากปีงบประมาณก่อน (carry-over) ลดลงร้อยละ 38.9 ตามการเบิกจ่ายที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ที่ลดลงถึงร้อยละ 61.8 และร้อยละ 27.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ทุกจังหวัดมีการเบิกจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 เป็น 232.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากการส่งออกสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าประเภทแผงวงจรรวมและชิ้นส่วนที่ขยายตัวดีในตลาดแถบเอเชีย อาทิ ฮ่องกง สิงคโปร์และจีน การส่งออกอัญมณียังคงขยายตัวดีต่อเนื่องในตลาดอิสราเอลและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 เป็น 66.2 ล้านดอลลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ประกอบกับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่งผลให้การส่งออกไปตลาดพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 ร้อยละ 60.9 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 เป็น 129.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.0 ตามการนำเข้าเพชรเพื่อเจียระไนเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ การนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 21.1 ตามการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 เป็น 7.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 12.6
ดุลการค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เกินดุล 101.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 85.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาเหตุจากราคาอาหารทุกประเภทที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 24.0 จากราคาเนื้อสุกรเป็นสำคัญ
ด้านหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากับเดือนก่อน เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมกราคม 2551 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.58 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.44 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 97.8 สูงกว่าร้อยละ 97.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เพราะการขยายตัวของแรงงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในสาขาโรงแรมและภัตตาคารร้อยละ 28.4 การก่อสร้างร้อยละ 9.6 และสาขาค้าส่ง-ปลีกร้อยละ 5.1 ส่วนแรงงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.7 ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.11 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าร้อยละ 1.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 0.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 347,001 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 เร่งตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นจากเงินฝากของส่วนราชการและมีการโอนเงินที่ครบกำหนดของกองทุนเปิดมาฝากไว้ชั่วคราว โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร พิษณุโลกและนครสวรรค์ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 288,727 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบำรุงไร่อ้อยที่จังหวัดกำแพงเพชรและสินเชื่อส่วนบุคคลที่จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์และเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม มีการชำระตั๋วเงินของธุรกิจประเภทโรงสีข้าว ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ สหกรณ์ออมทรัพย์และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ส่งผลให้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ พิจิตรและลำปาง สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 83.2 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 82.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสุรินทร์ อินต๊ะชุ่ม โทร. 0-5393-1166 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
รายละเอียดของแต่ละภาคเศรษฐกิจ มีดังนี้
1. ภาคเกษตร รายได้ของเกษตรกรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ชะลอลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยที่ราคาพืชผลที่สำคัญในปีก่อนสูงขึ้น จูงใจให้เกษตรกรเพิ่มการผลิตส่งผลให้ผลผลิตพืชสำคัญเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ได้แก่อ้อยโรงงาน มันสำปะหลัง และกระเทียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.3 ร้อยละ 5.0 และร้อยละ 13.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ผลผลิตของหอมแดงและหอมหัวใหญ่เพิ่มขึ้นเช่นกันเป็นร้อยละ 2.1 และร้อยละ 5.5 ตามลำดับ ทางด้านราคาพืชหลักลดลงร้อยละ 5.8 ถึงแม้ราคามันสำปะหลังสดเพิ่มขึ้นร้อยละ 96.0 ตามอุปสงค์ของทั้งในและต่างประเทศ และราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นร้อยละ 21.0 ตามความต้องการส่งออก แต่ที่สำคัญราคาอ้อยโรงงานลดลงร้อยละ 4.6 เนื่องจากราคาอ้อยขั้นต้นและค่าความหวานเฉลี่ยต่ำกว่าปีก่อน กระเทียมแห้งและหอมหัวใหญ่มีราคาลดลงร้อยละ 43.7 และร้อยละ 73.7 ตามลำดับ ส่วนหนึ่งจากปริมาณผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมาก
2. ภาคอุตสาหกรรม1/ ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมภาคเหนือ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 10.7 เร่งตัวจากที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.2 เดือนก่อน ตามการผลิตที่ขยายตัวเกือบทุกหมวดอุตสาหกรรม(ยกเว้นหมวดเครื่องดื่มและสิ่งทอ) โดยอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตการเกษตรเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.0 เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน การขยายตัวที่สำคัญมาจากข้าวโพดหวานบรรจุกระป๋อง การผลิตผลไม้และผักสดแช่แข็งที่ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น อย่างไรก็ตามผลผลิตน้ำตาลลดลงร้อยละ 7.5 จากเดือนเดียวกันปีก่อนเพราะปริมาณอ้อยเข้าหีบลดลง ด้านอุตสาหกรรมเซรามิกประเภทเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารผลิตเพิ่มขึ้นเพื่อส่งออกไปตลาดยุโรป อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ขยายตัวร้อยละ 1.9 ชะลอลงจากเดือนก่อนตามการผลิตส่วนประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและไอซีที่ชะลอลง ประกอบกับการผลิตส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟยังคงลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน อย่างไรก็ดีการผลิตไดโอดขยายตัวดีตามความต้องการของตลาดจีนและเกาหลีใต้ ด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอลดลงตามการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปที่ทำมาจากฝ้ายและชนิดอื่น ๆ
3. ภาคบริการ ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนตามฤดูกาลและลดลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนซึ่งเป็นช่วงสิ้นสุดงานพืชสวนโลก การเพิ่มเที่ยวบินของสายการบินต้นทุนต่ำและการเปิดตัวสายการบินใหม่(Siam General Aviation Company Limited : SGA Airlines) มีส่วนช่วยทำให้จำนวนผู้โดยสารผ่านท่าอากาศยาน เร่งตัวขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.8 สำหรับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มประเภทโรงแรมและภัตตาคาร ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.3 อัตราการเข้าพักรวมถึงราคาห้องพักโดยเฉลี่ย ปรับตัวลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.9 และร้อยละ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามโรงแรมที่เปลี่ยนผู้บริหารจัดการมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดทำให้มีอัตราการเข้าพักเพิ่มขึ้น
4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน เร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยเครื่องชี้ด้านการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นทุกรายการ ได้แก่ปริมาณการจดทะเบียนรถยนต์และรถจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนถึงร้อยละ 23.0 และร้อยละ 18.9 เร่งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับที่ลดลงในเดือนก่อนร้อยละ 6.2 และร้อยละ 18.8 ตามลำดับ จากการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาดเชิงรุกและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการ ด้านการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มและปริมาณการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.1 และร้อยละ 9.1 ตามลำดับ
5. การลงทุนภาคเอกชน ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน สะท้อนจากพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 38.6 และการจัดเก็บค่าธรรมเนียมที่ดินเพิ่มขึ้นร้อยละ 60.4 เปรียบเทียบการเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 14.9 และร้อยละ 24.3 ตามลำดับ โดยขยายตัวในจังหวัดสำคัญทางเศรษฐกิจได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย พิษณุโลก และลำปาง ส่วนยอดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างยังคงลดลงแต่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน และมูลค่าเงินลงทุนของกิจการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน มีจำนวนทั้งสิ้น 477.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน
6. การเบิกจ่ายเงินงบประมาณผ่านคลังจังหวัดในภาคเหนือ มีการเบิกจ่ายทั้งสิ้น 11,175.8 ล้านบาท
ลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.3 เนื่องจากช่วงเดียวกันปีก่อนมีการเร่งเบิกจ่ายหลังจากที่ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2550 ประกาศใช้ล่าช้า (วันที่ 9 มกราคม 2550) โดยการเบิกจ่ายเงินจากปีงบประมาณปัจจุบันลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 48.9 ตามการเบิกจ่ายเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะเงินอุดหนุนทั่วไปในส่วนที่เป็นงบลงทุนลดลงร้อยละ 85.7 ขณะที่การเบิกจ่ายเงินจากปีงบประมาณก่อน (carry-over) ลดลงร้อยละ 38.9 ตามการเบิกจ่ายที่ดิน/สิ่งก่อสร้าง และครุภัณฑ์ที่ลดลงถึงร้อยละ 61.8 และร้อยละ 27.0 ตามลำดับ ทั้งนี้ทุกจังหวัดมีการเบิกจ่ายลดลงจากระยะเดียวกันปีก่อน
7. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเร่งตัวจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อน โดยการส่งออกเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 17.9 เป็น 232.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 จากการส่งออกสินค้าเครื่องตัดต่อวงจรไฟฟ้าประเภทแผงวงจรรวมและชิ้นส่วนที่ขยายตัวดีในตลาดแถบเอเชีย อาทิ ฮ่องกง สิงคโปร์และจีน การส่งออกอัญมณียังคงขยายตัวดีต่อเนื่องในตลาดอิสราเอลและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ การส่งออกผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.0 เป็น 66.2 ล้านดอลลลาร์ สรอ. เนื่องจากการส่งออกยางแผ่นรมควันที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อน ประกอบกับมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนกว่าเท่าตัว ส่งผลให้การส่งออกไปตลาดพม่า ลาว และจีนตอนใต้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.5 ร้อยละ 60.9 และร้อยละ 0.2 ตามลำดับ
การนำเข้า ผ่านด่านศุลกากรในภาคเหนือเพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 เป็น 129.0 ล้านดอลลาร์ สรอ. เทียบกับที่ลดลงร้อยละ 6.3 เดือนก่อน เป็นผลจากการนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 30.0 ตามการนำเข้าเพชรเพื่อเจียระไนเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ การนำเข้าสินค้าทุนลดลงร้อยละ 21.1 ตามการนำเข้าชิ้นส่วนเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ลดลง ด้านการนำเข้าผ่านด่านชายแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.3 เป็น 7.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามการนำเข้าจากลาวที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว และจีนตอนใต้ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 ส่วนการนำเข้าจากพม่าลดลงร้อยละ 12.6
ดุลการค้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2551 เกินดุล 101.1 ล้านดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนและเดือนก่อนที่เกินดุล 85.4 ล้านดอลลาร์ สรอ. และ 81.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ตามลำดับ
8. ระดับราคา ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเร่งตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดือนก่อน โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9 จากระยะเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้หมวดอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 สาเหตุจากราคาอาหารทุกประเภทที่ปรับสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาเนื้อสัตว์ที่สูงขึ้นถึงร้อยละ 24.0 จากราคาเนื้อสุกรเป็นสำคัญ
ด้านหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นในอัตราที่เท่ากับเดือนก่อน เป็นผลจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ยาสูบและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ที่สูงขึ้นจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิต สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.0 สูงขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9
9. การจ้างงาน จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมกราคม 2551 ภาคเหนือมีกำลังแรงงานรวม 6.58 ล้านคน เป็นผู้มีงานทำ 6.44 ล้านคน คิดเป็นอัตราการมีงานทำเท่ากับร้อยละ 97.8 สูงกว่าร้อยละ 97.1 ระยะเดียวกันปีก่อน เพราะการขยายตัวของแรงงานนอกภาคเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 โดยเพิ่มขึ้นมากในสาขาโรงแรมและภัตตาคารร้อยละ 28.4 การก่อสร้างร้อยละ 9.6 และสาขาค้าส่ง-ปลีกร้อยละ 5.1 ส่วนแรงงานภาคเกษตรลดลงร้อยละ 3.7 ด้านผู้ว่างงานมีจำนวน 0.11 ล้านคน คิดเป็นอัตราการว่างงานเท่ากับร้อยละ 1.6 ต่ำกว่าร้อยละ 1.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
ด้านผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมตามมาตรา 33 เดือนกุมภาพันธ์ 2551 มีจำนวน 0.6 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนและระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.2 และร้อยละ 1.5 ตามลำดับ
10. การเงิน ยอดคงค้างเงินฝากที่สาขาธนาคารพาณิชย์ในภาคเหนือ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2551 มีจำนวนทั้งสิ้น 347,001 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.1 เร่งตัวจากที่ขยายตัวร้อยละ 3.4 เดือนก่อน จากการเพิ่มขึ้นจากเงินฝากของส่วนราชการและมีการโอนเงินที่ครบกำหนดของกองทุนเปิดมาฝากไว้ชั่วคราว โดยเพิ่มขึ้นมากที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง กำแพงเพชร พิษณุโลกและนครสวรรค์ ด้านเงินให้สินเชื่อ มียอดคงค้าง 288,727 ล้านบาท ขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ชะลอลงเล็กน้อยจากเดือนก่อน ส่วนใหญ่เป็นการให้สินเชื่อเพื่อบำรุงไร่อ้อยที่จังหวัดกำแพงเพชรและสินเชื่อส่วนบุคคลที่จังหวัดพิษณุโลก นครสวรรค์และเชียงใหม่ อย่างไรก็ตาม มีการชำระตั๋วเงินของธุรกิจประเภทโรงสีข้าว ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ สหกรณ์ออมทรัพย์และโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปเกษตร ส่งผลให้สินเชื่อลดลงมากที่จังหวัดเชียงราย นครสวรรค์ พิจิตรและลำปาง สำหรับสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ร้อยละ 83.2 สูงขึ้นเล็กน้อยจากร้อยละ 82.8 ระยะเดียวกันปีก่อน
ข้อมูลเพิ่มเติม : คุณสุรินทร์ อินต๊ะชุ่ม โทร. 0-5393-1166 e-mail: [email protected]
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--