สรุปภาวะเศรษฐกิจสำคัญในภาคใต้ เดือนพฤษภาคม 2550

ข่าวเศรษฐกิจ Friday June 29, 2007 15:52 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

เศรษฐกิจภาคใต้เดือนพฤษภาคมนี้ ชะลอตัวลงจากเดือนก่อน ตามอุปสงค์ที่ชะลอลง โดยการใช้จ่ายภาคเอกชนชะลอลงตามความเชื่อมั่นที่ลดลง และการส่งออกที่ชะลอตัวจากความต้องการ ของตลาดต่างประเทศที่ลดลง ขณะที่ทางด้านอุปทาน การผลิตภาคเกษตรและการท่องเที่ยวดีขึ้น ส่วนการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลอลงอยู่ที่ร้อยละ 2.1ภาคเกษตรกรรม เดือนพฤษภาคมนี้ รายได้ของเกษตรกรจากการจำหน่ายพืชผลหลักเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เป็น ผลจากผลผลิตพืชผลที่สำคัญเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 18.0 ส่วนราคาพืชผลหลัก ลดลงร้อยละ 9.4 เป็นผลจากราคายางแผ่นดิบที่เกษตรกรขายได้ลดลงร้อยละ 13.1 เป็นเฉลี่ยกิโลกรัม ละ 76.87 บาท เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอการสั่งซื้อ อย่างไรก็ตาม แม้ราคาจะลดต่ำลงแต่ยัง อยู่ในเกณฑ์สูง ทางด้านการทำประมงทะเล ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งยังคงหยุดทำประมง เนื่องจากไม่อาจ แบกรับภาระต้นทุนที่อยู่ในระดับสูงได้ ประกอบกับทางฝั่งอ่าวไทยชาวประมงจับสัตว์น้ำได้ลดลง โดยเฉพาะจังหวัดสงขลาเนื่องจากจับปลาหมึกได้ลดลงเป็นสำคัญ ส่งผลให้ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำ นำขึ้นที่ท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ เดือนพฤษภาคมลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 13.0 และ 3.7 ตามลำดับ แม้ว่าทางฝั่งทะเลอันดามันยังคงมีสัตว์น้ำมากก็ตาม ทางด้านผลผลิตกุ้งเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกุ้งขนาดเล็ก เนื่องจากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย และบางส่วนเลี้ยงไม่โตทำให้เกษตรกรต้องจับกุ้งออกขายบางส่วน ประกอบกับระยะนี้เป็นช่วงที่ ผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวลดลงค่อนข้างมากภาคอุตสาหกรรม ภาวะอุตสาหกรรมโดยรวมของภาคใต้ในเดือนพฤษภาคมการผลิตลดลง เมื่อเทียบกับเดือน เดียวกันปีก่อน ตามการลดลงของการส่งออกและปริมาณวัตถุดิบ โดยผลผลิตน้ำมันปาล์มดิบลดลง ร้อยละ 34.5 ขณะเดียวกันยางพารา อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง สัตว์น้ำแปรรูปและแช่แข็ง (ผ่านด่าน ศุลกากรสงขลา) และถุงมือยาง มีปริมาณการส่งออกลดลงร้อยละ 20.8 12.9 11.2 และ 12.4 ตามลำดับ ส่วนไม้ยางพาราและเฟอร์นิเจอร์ มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3การท่องเที่ยว ในเดือนนี้การท่องเที่ยวของภาคใต้โดยรวมขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดินทางผ่านตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ประมาณ 193,420 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 4.1 ทั้งนี้ เป็นผลจากนักท่องเที่ยวทางฝั่งอันดามัน โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 49.4 แม้ว่าจะเข้าสู่ช่วงนอกฤดูกาลท่องเที่ยว (Green Season) แล้วก็ตาม เนื่องจากหน่วยงาน ภาครัฐและเอกชนมีการจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดนักท่องเที่ยวเอเชีย เพื่อทดแทนตลาดยุโรปซึ่งเริ่ม น้อยลง ทำให้มีนักท่องเที่ยวแถบเอเชีย อาทิ เกาหลี และจีน เดินทางเข้ามามากขึ้น ขณะที่ทาง ภาคใต้ตอนล่าง ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้นักเที่ยวใน จังหวัดสงขลาลดลงร้อยละ 28.1การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาคใต้เดือนพฤษภาคมโดยรวมชะลอตัว โดยมีปัจจัย ลบจากปัญหาการเมืองที่ยังไม่นิ่ง ราคาน้ำมันที่อยู่ในระดับสูง ตลอดจนสถานการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ยังมีอยู่ต่อเนื่อง ส่งผลต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่าย แม้ว่าราคาพืชผลที่ สำคัญได้แก่ ยาง และปาล์มน้ำมัน จะอยู่ในระดับสูงก็ตาม สะท้อนจากการจดทะเบียนรถยนต์และ รถจักรยานยนต์ที่ปรับลดลงร้อยละ 11.9 และ 27.7 ขณะที่การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และปริมาณ การใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.8 และ 0.6 ตามลำดับการลงทุนภาคเอกชน สถานการณ์ด้านการลงทุนยังชะลอตัว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอลง แม้ว่าทิศทาง อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในช่วงขาลงก็ตาม นอกจากนั้น การเมืองที่ยังไม่แน่นอน ทำให้นักลงทุนขาดความ มั่นใจ อีกทั้งธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น โดยในเดือนนี้มีโครงการที่ได้รับ อนุมัติการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 โครงการ เท่ากับเดือนเดียวกันปีก่อน แต่เงินลงทุนลดลงร้อยละ 33.6 เป็นโครงการลงทุนใหม่ 2 โครงการ และขยายการลงทุน 2 โครงการ โดยทุกโครงการอยู่ใน ภาคใต้ตอนบนทั้งสิ้น ด้านการจดทะเบียนธุรกิจนิติบุคคล ลดลงทั้งจำนวนรายและเงินลงทุนร้อยละ 43.0 และ 26.3 แต่การจดทะเบียนเพิ่มทุนในส่วนของเงินทุนขยายตัว อาทิ ธุรกิจโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต ธุรกิจ อสังหาริมทรัพย์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในจังหวัดสงขลา ขณะเดียวกันพื้นที่ก่อสร้างในเขตเทศบาลเดือนนี้ลดลงร้อยละ 14.4 เป็นผลจากการ ก่อสร้างเพื่อที่อยู่อาศัย และเพื่อการพาณิชย์ลดลง อย่างไรก็ดี การก่อสร้างเพื่อการบริการและขนส่ง ขยายตัวขึ้น เนื่องจากมีการก่อสร้างโรงแรมในจังหวัดภูเก็ต โรงพยาบาลและสถานศึกษาในจังหวัดตรัง โรงจอดรถในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และสร้างมัสยิดในจังหวัดยะลา เป็นต้น การจ้างงาน ในเดือนนี้ความต้องการแรงงานของผู้ประกอบการลดลง จากข้อมูลของสำนักงานจัดหางาน 14 จังหวัดภาคใต้ มีตำแหน่งงานว่างทั้งสิ้น 4,189 อัตรา ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 4.0 ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งงานในอุตสาหกรรมการผลิต ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 4,539 คน ลดลง ร้อยละ 2.9 และการบรรจุงานมีจำนวน 3,105 คน ลดลงร้อยละ 13.2 โดยอุตสาหกรรมการผลิตมี การบรรจุงานมากที่สุด คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 35.9 รองลงมาเป็นอุตสาหกรรมขายปลีกขายส่ง สัดส่วนร้อยละ 26.3 ของการบรรจุงานทั้งหมดระดับราคา อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของภาคใต้ในเดือนพฤษภาคมอยู่ที่ร้อยละ 2.1 ชะลอลงจากร้อยละ 2.3 ในเดือนก่อนเล็กน้อย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาหมวดอาหารและเครื่องดื่มร้อยละ 4.2 ตามการเพิ่มขึ้นของข้าวสารเหนียว ผักและผลไม้ สัตว์น้ำ และน้ำอัดลม ส่วนหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ อาหารและเครื่องดื่ม เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.8 จากการเพิ่มขึ้นของค่าโดยสารสาธารณะ และค่ากระแสไฟฟ้า โดยมีสาเหตุหลักจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นตามภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกการค้าต่างประเทศ เดือนนี้การส่งออกมีมูลค่า 758.5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.8 เป็นการลดลงของการส่งออกยางพารา สัตว์น้ำแช่แข็ง และอาหารทะเลกระป๋อง เป็นสำคัญ โดยลดลงร้อยละ 23.7 5.2 และ 4.7 ตามลำดับ ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 393.6 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.3 ส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ภาคการคลัง ในเดือนพฤษภาคมนี้ จัดเก็บภาษีได้จำนวน 3,477.9 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกัน ปีก่อนร้อยละ 13.7 โดยจัดเก็บภาษีสรรพากรได้จำนวน 3,158.8 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 ภาษี สรรพสามิตจัดเก็บได้ 203.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 54.6 และภาษีศุลกากรจัดเก็บได้ 115.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.1 ทางด้านการเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่าง ๆ มีจำนวน 10,781.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 30.1 เนื่องจากมีการเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นแทบทุกคลังจังหวัด โดยคลังจังหวัดสงขลามีปริมาณการเบิกจ่ายสูงสุดจำนวน 2,256.1 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.8 4 รองลงมาเป็นจังหวัดนครศรีธรรมราช (รวมคลังจังหวัด ณ อำเภอทุ่งสง และอำเภอปากพนัง) และ คลังจังหวัดสุราษฎร์ธานี เบิกจ่าย 1,811.2 และ 1,291.7 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อน ร้อยละ 22.5 และ 48.9 ตามลำดับ ภาคการเงิน สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นในอัตราชะลอลง แม้จะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย สินเชื่อก็ตาม ทั้งนี้ เนื่องจากความไม่ชัดเจนทางการเมือง และเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ที่มีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้นักลงทุนยังชะลอการลงทุน ประกอบกับธนาคารพาณิชย์ ยังคงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ โดยสินเชื่อคงค้างเดือนพฤษภาคม คาดว่ามีจำนวน 314,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.7 ส่วนเงินฝากคงค้างของสาขาธนาคารพาณิชย์ในเบื้องต้นคาดว่ามี จำนวน 384,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 7.9 อย่างไรก็ตาม จากการที่ อัตราดอกเบี้ยเงินฝากมีแนวโน้มลดลง ส่งผลให้ผู้มีเงินออมเริ่มเปลี่ยนรูปแบบการออมที่ให้ ผลตอบแทนสูงกว่า

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ