สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ เดือนมกราคม 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 24, 2009 16:05 —ธนาคารแห่งประเทศไทย

ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้เดือนมกราคม 2552 หดตัวทั้งอุปสงค์และอุปทาน ในด้าน อุปทาน ผลผลิตพืชผลสำคัญ อุตสาหกรรมและประมงลดลง ส่วนการท่องเที่ยวขยายตัว ด้าน อุปสงค์ ลดลงทั้งการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุน และการส่งออก มีเพียงการเบิกจ่าย งบประมาณที่เพิ่มขึ้น สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคปรับตัวลดลง ส่วนสินเชื่อและเงินฝาก ชะลอตัว

รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจในเดือนมกราคม ปี 2552 มีดังนี้

1. ภาคเกษตร ดัชนีรายได้ของเกษตรกรเดือนนี้ลดลงร้อยละ 39.3 ตามการลดลงของ ผลผลิตและราคาพืชผลสำคัญ โดยดัชนีผลผลิตพืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 0.9 เป็นผลจากผลผลิต ปาล์มน้ำมันลดลงร้อยละ 12.0 ขณะที่ผลผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 1.5 ส่วนดัชนีราคา พืชผลสำคัญลดลงร้อยละ 38.8 ตามราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ลดลงร้อยละ 42.2 และ 41.4 ตามลำดับ

ประมงทะเล ลดลง จากปริมาณสัตว์น้ำที่ลดลงและความเข้มงวดในการทำประมงใน น่านน้ำประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบกับได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้ ปริมาณและมูลค่าสัตว์น้ำที่นำขึ้นท่าเทียบเรือขององค์การสะพานปลาในภาคใต้ลดลงร้อยละ 19.5 และ 20.1 ตามลำดับ ส่วนการเพาะเลี้ยงกุ้ง ผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงร้อยละ 12.9 เนื่องจาก สภาพอากาศที่หนาวเย็นและมีน้ำท่วมในหลายพื้นที่ ส่งผลให้ราคากุ้งปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะกุ้ง ขนาดเล็ก โดยกุ้งขาวขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ที่ตลาดมหาชัยราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.9 บาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 เนื่องจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงทั่วโลก ทำให้ ผู้บริโภคเปลี่ยนมาบริโภคกุ้งขนาดเล็ก

2. ภาคอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 12.1 ตามความ ต้องการของต่างประเทศและวัตถุดิบที่ลดลง โดยอุตสาหกรรมยางแท่ง น้ำยางข้น และยางแผ่น รมควัน มีปริมาณส่งออกผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้จำนวน 57,442.4 เมตริกตัน 74,517.5 เมตริกตัน และ 32,577.8 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.6 2.2 และ 20.5 ตามลำดับ ส่วนอุตสาหกรรมอาหารทะเลบรรจุกระป๋องและอาหารทะเลแช่แข็ง มีปริมาณส่งออก ลดลงร้อยละ 13.1 และร้อยละ 4.1 สำหรับอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มดิบมีผลผลิตจำนวน 83,585.0 เมตริกตัน ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6

3. การท่องเที่ยว ขยายตัว โดยมีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางผ่านด่าน ตรวจคนเข้าเมืองในภาคใต้ จำนวน 353,301 คน เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 20.1 เป็นการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวในภาคใต้ตอนล่าง เป็นสำคัญ โดยนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ เดินทางผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองสงขลา เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.2 ขณะที่การท่องเที่ยวภาคใต้ฝั่ง ตะวันตก มีนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศเดินทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ต ลดลงร้อยละ 9.3 เนื่องจาก ได้รับผลกระทบจากการการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองใน ประเทศ

4. การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ลดลง ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.8 ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และราคา พืชผลที่สำคัญทั้งยางพาราและปาล์มน้ำมันลดลง โดยดัชนีในหมวดยานยนต์ลดลงร้อยละ 19.1 ตามการลดลงของการจดทะเบียนรถยนต์ รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์ ขณะเดียวกันการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ปี 2543 ลดลงร้อยละ 5.1

5. การลงทุนภาคเอกชน หดตัว โดยพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตก่อสร้างในเขตเทศบาล ลดลงร้อยละ 12.4 การจดทะเบียนนิติบุคคลใหม่ จำนวนรายลดลงร้อยละ 20.4 แต่เงินทุนจด ทะเบียนเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 ส่วนโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุน จำนวนรายและเงิน ลงทุนลดลงร้อยละ 14.3 และ 47.8 ตามลำดับ ในจำนวนนี้มีกิจการโรงแรมที่จังหวัดภูเก็ต 1 ราย ที่ใช้เงินลงทุนสูงถึง 799.6 ล้านบาท

6. การจ้างงาน ในเดือนนี้มีผู้ได้รับการบรรจุงานจำนวน 2,573 อัตรา เพิ่มขึ้นจาก เดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.8 ขณะที่ความต้องการจ้างงานลดลง โดยตำแหน่งงานว่างที่ ผู้ประกอบการใช้บริการผ่านสำนักงานจัดหางานจังหวัดในภาคใต้ มีจำนวน 3,023 อัตรา ลดลง จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 45.2 ส่วนผู้สมัครงาน มีจำนวน 4,088 คน เพิ่มขึ้นจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 16.8 สำหรับแรงงานที่เข้าโครงการประกันสังคม ณ สิ้นเดือนมกราคม มี จำนวนทั้งสิ้น 586,495 คน ลดลงจากสิ้นเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 0.1

7. ระดับราคา อัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ในเดือนนี้ อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ชะลอลงจาก ร้อยละ 1.6 ในเดือนก่อน เป็นผลจากราคาสินค้าในหมวดอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลง ร้อยละ 7.1 ตามการลดลงของราคาน้ำมันในตลาดโลก ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ลดลง รวมทั้งการลดลงของสินค้าในหมวดยานพาหนะ การขนส่งและการสื่อสาร และหมวดเคหสถาน ส่วนหมวดอาหารและเครื่องดื่ม ยังคงเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 ตามการเพิ่มขึ้นของสินค้า หมวดข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง หมวดเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร ผักและผลไม้ สำหรับ อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานของภาคใต้ อยู่ที่ร้อยละ 3.3 ชะลอลงเมื่อเทียบกับร้อยละ 3.5 ในเดือนก่อน

8. การค้าต่างประเทศ มูลค่าการค้าผ่านด่านศุลกากรในภาคใต้มีจำนวนทั้งสิ้น 1,053.2 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 29.0 แยกเป็นมูลค่าการส่งออก 644.3 ล้านดอลลาร์ สรอ.ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.8 ตามการลดลงของการ ส่งออกยางพารา เป็นสำคัญ ขณะที่การส่งออกถุงมือยางเพิ่มขึ้นร้อยละ 48.5 ส่วนการนำเข้า มี มูลค่า 408.9 ล้านดอลลาร์ สรอ. ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 8.8 เป็นผลจากการนำเข้า สื่อบันทึกข้อมูลลดลงเป็นสำคัญ ขณะที่การนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7

9. ภาคการคลัง การเบิกจ่ายเงินงบประมาณของส่วนราชการต่างๆในภาคใต้ มี จำนวน 15,137.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 3.6 เนื่องจากองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น(อปท.) เบิกเงินอุดหนุนทั่วไป ครั้งที่ 1 โดยคลังจังหวัดนครศรีธรรมราชมีการเบิกจ่าย เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 24.4 ขณะที่คลังจังหวัดยะลาและสงขลา เบิกจ่ายลดลงร้อยละ 6.9 และ 1.3 ตามลำดับ ส่วนภาษีอากรจัดเก็บได้ 2,160.4 ล้านบาท ลดลงจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.5 ตามภาษีสรรพากร ที่จัดเก็บได้จำนวน 1,875.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.8 เป็นการลดลงของภาษี ธุรกิจเฉพาะและภาษีมูลค่าเพิ่ม ส่วนภาษีศุลกากร จัดเก็บได้ 88.2 ล้านบาท ลดลงจากเดือน เดียวกันปีก่อนร้อยละ 37.0 ทางด้านภาษีสรรพสามิต จัดเก็บได้จำนวน 196.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 15.7 ตามการเพิ่มขึ้นของภาษีหมวดสุรา

10. การเงิน ณ สิ้นเดือนมกราคม 2552 เงินฝากคงค้าง ของสาขาธนาคารพาณิชย์ ในภาคใต้ มีประมาณ 431,400.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 5.6 ส่วน สินเชื่อมียอดคงค้างประมาณ 376,000.0 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีก่อนร้อยละ 9.4 ชะลอตัวต่อเนื่อง ผลจากการที่ธนาคารพาณิชย์มีความระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น จาก เศรษฐกิจที่ชะลอตัว

ข้อมูลเพิ่มเติม : นายพสุธา ระวังสุข โทร.0-7423-6200 ต่อ 4345 e-mail : pasuthar@bot.or.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ