ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท การจับจ่ายใช้สอยที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ทั้งนี้ประชาชนยังคงมีความกังวลต่อปัญหา ค่าครองชีพและราคาน้ำมัน
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนเมษายน 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,244 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 23.0 เป็น 24.3 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 14.4 เป็น 15.6 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 28.8 เป็น 30.0 พบว่า ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 3000บาท การจับจ่ายใช้สอย ที่เพิ่มขึ้นในช่วงสงกรานต์ รวมทั้งมาตรการของรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ แต่ทั้งนี้ ค่าดัชนียังต่ำกว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตและขนส่งเพิ่มขึ้น อีกทั้งภัยแล้งในหลายพื้นที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง ราคาสินค้าและอาหารปรับตัวสูงขึ้น
จากการที่รัฐบาลได้สร้างมั่นใจให้กับประชาชนในนโยบายการปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทใน 7 จังหวัดที่มีผลในวันที่ 1 เมษายน 2555 และอีก 70 จังหวัดที่เหลือจะมีผลใน วันที่ 1 มกราคม 2556 ส่งผลให้ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคตเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันและอนาคต เพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ทั้งนี้ความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้ามีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนเริ่มมีการวางแผนการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน
ผู้บริโภคในทุกพื้นที่ ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้า ราคาน้ำมัน ค่าครองชีพ การว่างงาน เศรษฐกิจทั่วไป ยาเสพติด และคอรัปชั่น ตามลำดับ เมื่อพิจารณาเป็นรายภาค พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาดังนี้
กรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคกลาง ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมา คือราคาสินค้าและค่าครองชีพ
ภาคเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ราคาสินค้าและค่าครองชีพ
ภาคตะวันออก ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
ภาคใต้ ต้องการให้แก้ไขปัญหาราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพบทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
บทสะท้อนจากข้อคิดเห็นของประชาชนที่ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่างๆ
1.ดูแลปัญหาค่าครองชีพ ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอาหาร ราคาน้ำมัน ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้าไม่ให้สูงเกินไป ประชาชนมีรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย หนี้สินในครัวเรือนเพิ่มสูงขึ้น
2.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนมากกว่าที่จะทำตามประชานิยม
3.ต้องการให้รัฐบาลดูแลการจัดเก็บภาษีและใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพ
1.แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรมและปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อให้บ้านเมืองสงบ
2.มีมาตรการตรวจสอบการเบิกจ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันการทุจริตและคอรัปชั่น
3.ต้องการให้ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างทางการศึกษาเพื่ออนาคตของเยาวชน
1. วางแผนและยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาวเพื่อป้องกันปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
1.หามาตรการช่วยลดต้นทุนของภาคเกษตร เช่น ราคาปุ๋ยและราคาน้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งหาแหล่งกักเก็บน้ำ ที่เหมาะสมให้เกษตรกร
2.แก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำ หาตลาดต่างประเทศเพื่อช่วยเกษตรกรให้มีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้น
3.ต้องการให้มีโครงการประกันราคาสินค้าที่สำคัญ
---------------------------------------
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th