ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเป็นผลมาจากราคาน้ำมันปรับลดลงและภาวะราคาสินค้าโดยทั่วไปชะลอตัวลง รวมทั้งนโยบายและมาตรการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนมิถุนายน 2555 จากประชาชน สาขาอาชีพต่างๆ จานวน 3,249 คน พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 27.4 เป็น 27.6 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 18.5 เป็น 20.9 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวลดลงจาก 33.4 เป็น 32.1 เนื่องจาก ราคาน้ำมันปรับลดลงและภาวะราคาสินค้าโดยทั่วไปชะลอตัวลง รวมทั้งนโยบายการต่างๆของรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือประชาชน เช่น โครงการโชห่วยช่วยชาติและโครงการธงฟ้า โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกร อีกทั้งการเลือกตั้งท้องถิ่น และการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ทาให้มีเงินหมุนเวียนในระบบและเกิดการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แต่ทั้งนี้ค่าดัชนียังตากว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าประชาชนยังมีความกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมือง ภัยธรรมชาติและผลกระทบจากวิกฤติการเงินในยุโรป
ค่าดัชนีในด้านความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต( 3 เดือนข้างหน้า)ปรับตัวลดลงเนื่องจากใน 3 เดือนข้างหน้าเป็นช่วงฤดูฝนทำให้การบริโภคและกิจกรรมต่างๆเช่น ภาคการท่องเที่ยวและการก่อสร้างชะลอตัวลงบ้างเล็กน้อย ส่วนความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ความเชื่อมั่นในด้านการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในอนาคตปรับตัวลดลง ทั้งนี้ดัชนีมีค่าสูงกว่า 50 บ่งชี้ให้เห็นว่าประชาชนยังมีการใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่วนความเชื่อมั่นด้านการวางแผนซื้อรถยนต์และเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง เนื่องจากประชาชนมีภาระค่าใช้จ่ายสูงและไม่มีความมั่นใจในอนาคต ทำให้ต้องปรับตัวและระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น
ผู้บริโภคในเกือบทุกภาค ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ แต่ผู้บริโภคในส่วนกรุงเทพฯ/ปริมณฑล ต้องการให้แก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือค่าครองชีพและราคานามัน
1.ต้องการให้รัฐบาลดูแล/ควบคุมราคาอาหารและสินค้าอุปโภคบริโภค แก้ไขปัญหาการผูกขาดราคาสินค้าจากกลุ่มนายทุนใหญ่
2.ดูแลโครงสร้างราคาน้ำมันและราคาพลังงาน รวมทั้งค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปาและค่าไฟให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
3.หามาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นตา 300 บาท
4.ต้องการให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน
5.พัฒนาและลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ด้านสังคม
1.แก้ไขปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ปราบปรามผู้ที่มีอิทธิพลในพื้นที่ รวมทั้งป้องกันและปราบปรามการทุจริตและคอรัปชั่น
2.ต้องการให้ยุติความขัดแย้งทางการเมือง
3.ต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความยากจน ส่งเสริมการสร้างอาชีพสร้างรายได้และการจ้างงานในชุมชน
1.ผลักดันราคาสินค้าเกษตร ส่งเสริมและสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตรมากขึ้น
2.ดูแลต้นทุนภาคเกษตร เช่น ต้องการให้ราคาปุ๋ยและผลิตภัณฑ์ยาทางด้านการเกษตรถูกลง
---------------------------------------
ระดับของค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-100 โดยมีเกณฑ์การอ่านค่า ดังนี้
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 100 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ดี”
- ดัชนีมีค่า เข้าใกล้ 0 หมายถึง ความเชื่อมั่นผู้บริโภคต่อภาวะเศรษฐกิจ “ไม่ดี”
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th