ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 ทั้งนี้เนื่องมาจากไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงอย่างเช่นปีที่ผ่านมานโยบายรถยนต์คันแรก รวมทั้งนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เริ่มส่งผลชัดเจน ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ผลการสำรวจความเชื่อมั่นผู้บริโภคประจำเดือนตุลาคม 2555 จากประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ จำนวน 3,111 คน ทุกจังหวัดทั้งประเทศ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวมปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา จาก 30.2 เป็น 34.5 ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 21.3 เป็น 24.1 และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่มีต่อสถานการณ์ในอนาคต (3 เดือน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 36.1 เป็น 41.4 เนื่องจากไม่เกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างรุนแรงอย่างเช่นปีที่ผ่าน จากการดำเนินโครงการและมาตรการต่างๆ ของรัฐบาลเพื่อป้องกันน้ำท่วม นโยบายรถยนต์คันแรก รวมทั้งนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท เริ่มส่งผลชัดเจน นโยบายยกระดับรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายต่างๆ ทำให้ประชาชนมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จากปัจจัยบวกดังกล่าว ส่งผลให้ค่าดัชนีทุกรายการปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ทั้งนี้ค่าดัชนียังต่ำกว่าเส้น 50 สะท้อนให้เห็นว่าระดับความเชื่อมั่นของประชาชนยังไม่สูงมากนัก
นอกจากนี้ พบว่า ประชาชนมีความคาดหวังที่มีต่อรายได้ในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ใช้จ่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในปัจจุบันปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน อีกทั้งค่าดัชนีทั้งสองด้านยังสูงกว่าที่ระดับ 50 แสดงว่าประชาชนยังมีการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การวางแผนซื้อรถยนต์ในอนาคตและการวางแผนซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆใน 6 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลง
อย่างไรก็ตามผลจากการสำรวจความคิดเห็น พบว่า ประชาชนยังให้ความสำคัญในเรื่องค่าครองชีพ และปากท้องเป็นอันดับแรกในด้านเศรษฐกิจ และปัญหาเรื่องการคอรัปชั่นและยาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาอันดับแรกด้านสังคม
โดยภาพรวมผู้บริโภคต้องการให้รัฐบาลแก้ไขปัญหา ราคาสินค้าเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ราคาน้ำมันและค่าครองชีพ
1.ควบคุมราคาสินค้าและดูแลราคาน้ำมันเพื่อให้เกิดความสมดุล
2.แก้ปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชน
3.สร้างความเชื่อมั่นในระบบเศรษฐกิจของประเทศ
4.กระตุ้นและสนับสนุนภาคการลงทุน หาแหล่งตลาดใหม่ในประเทศต่างๆ
1.แก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นในหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งปัญหายาเสพติดอย่างเร่งด่วน เพื่อลดปัญหาทางด้านสังคม
2.ลดความเลื่อมล้ำทางสังคม
3.ลดความขัดแย้งของคนในชาติ
4.ดูแลราคาสินค้าเกษตรเพื่อให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
---------------------------------------
ที่มา: สำนักสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์
โทรศัพท์ 0-2507-6554 โทรสาร 0-2507-5806 www.price.moc.go.th