รายงานดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 25, 2015 15:04 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

กระทรวงพาณิชย์ ขอรายงานความเคลื่อนไหวดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ

ปีฐาน 2555 = 100 ในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนมกราคม 2558

ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ -0.1 และดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ +0.2

ดัชนีราคาส่งออกเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าปรับตัวลดลงร้อยละ -0.1 สาเหตุหลักเป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าเกษตรกรรม และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ โดยสินค้าเกษตรที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าว เป็นผลจากสต๊อกข้าวของภาครัฐที่ยังเหลืออยู่ในปริมาณมาก ประกอบกับมีการแข่งขันด้านราคาของประเทศคู่แข่ง นอกจากนี้ สินค้าอื่นๆ ที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไก่ จากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก สำหรับสินค้าอุตสาหกรรม ที่ราคาปรับลดลง ได้แก่ ทองคำ เป็นผลจากความวิตกกังวลของการแข็งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ และแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางสหรัฐฯ เช่นเดียวกับราคาเม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เหล็กและเหล็กกล้า ราคาปรับลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว และปริมาณอุปทานส่วนเกินยังมีอยู่ในตลาดมาก ขณะที่ดัชนีราคาส่งออกในหมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมปรับตัวสูงขึ้น โดยสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ น้ำตาลทราย อาหารทะเลกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ผักกระป๋องและแปรรูป และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น

ดัชนีราคานำเข้าเดือนกุมภาพันธ์ 2558 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ +0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เป็นผลมาจากดัชนีราคานำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงเป็นสำคัญ โดยเฉพาะราคานำเข้าน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น จากการชะลอการลงทุนขุดเจาะและผลิตน้ำมันในตลาดโลก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ทรุดตัวลงในช่วงก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ -0.8 หมวดสินค้าทุน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคและหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ปรับลดลงเท่ากันที่ร้อยละ -0.1

1. ดัชนีราคาส่งออก

1.1 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2558

ปี 2555 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เท่ากับ 96.9 และเดือนมกราคม 2558 เท่ากับ 97.0

1.2 การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคาส่งออกของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อเทียบกับ

          เดือนมกราคม  2558           ลดลงร้อยละ  -0.1
          เดือนกุมภาพันธ์  2557           ลดลงร้อยละ  -1.6

เฉลี่ยมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 กับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ -1.6

1.3 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -0.1 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -0.3) เป็นผลมาจากการลดลงของดัชนีราคาส่งออก หมวดสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ -0.2 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -0.1 ขณะที่ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ +0.2 และหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงสูงขึ้นร้อยละ +1.1

หมวดสินค้าที่ราคาส่งออกปรับลดลง

หมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ -0.2 (เดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ +0.3) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
ข้าว                         -1.4
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง             -1.3
ข้าวโพด                      -1.2
ไก่แปรรูป                     -0.3

สินค้ากสิกรรมลดลงร้อยละ -0.2 จากการลดลงของราคาข้าวร้อยละ -1.4 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังร้อยละ -1.3 ข้าวโพดร้อยละ -1.2 และสินค้าปศุสัตว์ ลดลงร้อยละ -0.3 จากราคาไก่แปรรูป ลดลงร้อยละ -0.3

หมวดสินค้าอุตสาหกรรม ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ -0.1 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -0.3) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
เม็ดพลาสติก                            -3
ผลิตภัณฑ์พลาสติก                       -1.2
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์              -0.4
ทองคำ                              -0.7
เครื่องอิเล็กทรอนิกส์                    -0.1

เม็ดพลาสติกลดลงร้อยละ -3.0 (เอทิลีน โพรพิลีน สไตรีน โพลิอะซิทัล) ผลิตภัณฑ์พลาสติกลดลงร้อยละ -1.2 (แผ่นฟิล์ม ฟอยส์และแถบ ถุงและกระสอบพลาสติก กล่องหีบที่ทำด้วยพลาสติก)

เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ -0.4 (เหล็กและเหล็กกล้า ผลิตภัณฑ์เหล็กและเหล็กกล้า) ทองคำลดลงร้อยละ -0.7 และเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ลดลงร้อยละ -0.1 (เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า วงจรพิมพ์)

หมวดสินค้าที่ราคาส่งออกปรับสูงขึ้น

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ +0.2 (เดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ +0.1) สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
น้ำตาลทราย                  1.2
อาหารทะเลกระป๋อง           0.8
ผลไม้กระป๋อง                0.2
ผักกระป๋องและแปรรูป          0.3

น้ำตาลทรายสูงขึ้นร้อยละ +1.2 จากความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาวะอากาศที่แห้งแล้งในบราซิลและส่งผลต่อปริมาณน้ำตาลโลกที่ลดลง อาหารทะเลกระป๋องสูงขึ้นร้อยละ +0.8 ผลไม้กระป๋องสูงขึ้นร้อยละ +0.2 ผักกระป๋องและแปรรูปสูงขึ้นร้อยละ +0.3 และนมและผลิตภัณฑ์นมสูงขึ้นร้อยละ +0.4

หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ดัชนีราคาส่งออกสูงขึ้นร้อยละ +1.1 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -4.5) สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
น้ำมันสำเร็จรูป                1.3
ก๊าซปิโตรเลียมเหลว           2.6

น้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นร้อยละ +1.3 (น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล) และก๊าซปิโตรเลียมเหลวสูงขึ้นร้อยละ +2.6

1.4 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ -1.6 จากการลดลงของดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -10.7 หมวดสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ -4.7 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -0.6 ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ +0.4

1.5 ดัชนีราคาส่งออกของประเทศเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ดัชนีราคาส่งออกลดลงร้อยละ -1.6 จากการลดลงของดัชนีราคาส่งออกหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -11.3 หมวดสินค้าเกษตรกรรมลดลงร้อยละ -5.9 และหมวดสินค้าอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ -0.5 ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรสูงขึ้นร้อยละ +0.2

2. ดัชนีราคานำเข้า

2.1 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ปี 2555 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศ เท่ากับ 100 เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เท่ากับ 87.2 และเดือนมกราคม 2558 เท่ากับ 87.0

2.2 การเปลี่ยนแปลงดัชนีราคานำเข้าของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2558 เมื่อเทียบกับ

เดือนมกราคม  2558          สูงขึ้นร้อยละ   +0.2
เดือนกุมภาพันธ์  2557           ลดลงร้อยละ          -10.7
เฉลี่ยมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 กับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ -10.8

2.3 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ +0.2 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -3.8) โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ดัชนีราคานำเข้าปรับสูงขึ้นคือ หมวดสินค้าเชื้อเพลิงที่ปรับสูงขึ้นร้อยละ +3.0 จากราคาน้ำมันดิบเป็นสำคัญ ขณะที่หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ -0.8 หมวดสินค้าทุน หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงเท่ากัน คือร้อยละ -0.1 หมวดสินค้าที่ราคานำเข้าปรับสูงขึ้น

หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ดัชนีราคานำเข้าสูงขึ้นร้อยละ +3.0 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -17.1) สินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
น้ำมันดิบ                    5.2
น้ำมันเตา                   2.7

น้ำมันดิบสูงขึ้นร้อยละ +5.2 น้ำมันเตาสูงขึ้นร้อยละ +2.7 ทั้งนี้ ราคานำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงยังคงเคลื่อนไหวอย่างผันผวน แต่โดยเฉลี่ยในเดือนนี้ปรับตัวในทิศทางที่เป็นบวก ซึ่งปัจจัยหนุนหลักมาจากการเริ่มชะลอการลงทุนขุดเจาะและผลิตน้ำมันเนื่องจากราคาน้ำมันที่ทรุดตัวลงมาก รวมทั้งปัญหาความไม่สงบในตะวันออกกลาง เช่น ลิเบีย ที่ทำให้กำลังการผลิตปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ระยะนี้แรงกดดันของอุปทานน้ำมันดิบที่ล้นตลาดยังคงมีอยู่เช่นเดิม

หมวดสินค้าที่ราคานำเข้าปรับลดลง

หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -0.8 (เดือนมกราคม 2558 ลดลงร้อยละ -0.6) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้

รายการสินค้า                                 ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
เม็ดพลาสติก                                             -4.2
เคมีภัณฑ์อินทรีย์                                           -2.6
เคมีภัณฑ์อนินทรีย์                                          -1.1
ทองคำ                                                 -1.3
อัญมณีสังเคราะห์                                            -1
ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า                    -2.7
เหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่นๆ                             -1
ปุ๋ย                                                      -2

เคมีภัณฑ์ลดลงร้อยละ -2.4 (เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์อินทรีย์ เคมีภัณฑ์อนินทรีย์) เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่มีความเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งในช่วงก่อนนี้ราคาปรับตัวลดลงมาก ส่งผลให้ราคานำเข้าเคมีภัณฑ์ปรับตัวลดลงตาม สำหรับเครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำลดลงร้อยละ -0.9 (ทองคำ อัญมณีสังเคราะห์) โดยสาเหตุที่ราคาทองคำปรับลดลงเนื่องมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดแรงงาน รวมทั้งการแข็งค่าของค่าเงินเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ จึงทำให้การถือครองทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยไม่น่าสนใจสำหรับนักลงทุน นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มสินค้าเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ลดลงร้อยละ -0.7 (ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า เหล็กแผ่นรีดทำด้วยเหล็กกล้าเจืออื่นๆ) เนื่องจากยังคงมีภาวะอุปทานส่วนเกินอยู่ในตลาดโลก ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ลดลงร้อยละ -1.4 (ปุ๋ย)

หมวดสินค้าทุน ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -0.1 (เดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ +0.1) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้

รายการสินค้า                                                   ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
เครื่องพักกระแสไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ                                 -1.1
มอเตอร์ไฟฟ้า ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและส่วนประกอบ                                  -0.2
เครื่องจักรใช้ในการเกษตร                                                     -0.1
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์                                                   -0.5
ผลิตภัณฑ์โลหะทำด้วยทองแดง                                                    -6.2

เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบลดลงร้อยละ -0.2 (เครื่องพักกระแสไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ มอเตอร์ไฟฟ้า ชุดเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและส่วนประกอบ) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบลดลงร้อยละ -0.1 (เครื่องจักรใช้ในการเกษตร) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบลดลงร้อยละ -0.2 (เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์) และผลิตภัณฑ์โลหะลดลงร้อยละ -0.4 (ผลิตภัณฑ์โลหะทำด้วยทองแดง) หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -0.1 (เดือนมกราคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ +0.1) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้

รายการสินค้า          ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้
ผักและของปรุงแต่งที่ทำจากผัก
เครื่องประดับอัญมณีแท้
นมและครีมใช้เลี้ยงทารก          - 1.7
- 0.9
- 0.4
- 1.8
ผัก ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก ผลไม้ลดลงร้อยละ -1.4 (ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้ ผักและของปรุงแต่งที่ทำจากผัก) เครื่องประดับอัญมณีลดลงร้อยละ -0.4 (เครื่องประดับอัญมณีแท้)
นมและผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ -0.4 (นมและครีมใช้เลี้ยงทารก)
หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง  ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -0.1  (เดือนมกราคม 2557 สูงขึ้นร้อยละ +0.3) สินค้าสำคัญที่ราคาลดลง มีดังนี้
รายการสินค้า                                       ร้อยละ (ก.พ.58/ม.ค.58)
ผลไม้และของปรุงแต่งที่ทำจากผลไม้                                -1.7
ผักและของปรุงแต่งที่ทำจากผัก                                    -0.9
เครื่องประดับอัญมณีแท้                                          -0.4
นมและครีมใช้เลี้ยงทารก                                        -1.8

ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยานลดลงร้อยละ -1.7 และยางรถยนต์ลดลงร้อยละ -0.2

2.4 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2557 ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -10.7 จากการลดลงของทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ดัชนีราคานำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -39.6 หมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ -1.9 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ -3.5 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ -0.7 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ -5.0

2.5 ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ดัชนีราคานำเข้าลดลงร้อยละ -10.8 จากการลดลงของทุกหมวดสินค้า ได้แก่ ดัชนีราคานำเข้าหมวดสินค้าเชื้อเพลิงลดลงร้อยละ -40.6 หมวดสินค้าทุนลดลงร้อยละ -1.8 หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูปลดลงร้อยละ -2.9 หมวดสินค้าอุปโภคบริโภคลดลงร้อยละ -0.5 และหมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ -4.6

ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 5802 โทรสาร. 0 2507 5825


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ