ดัชนีภาวะธุรกิจส่งออก (Export Business Index) ประจำเดือนตุลาคม 2561

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday October 25, 2018 14:55 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีมูลค่าส่งออก

ภาพรวมดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกเดือนตุลาคม 2561 เท่ากับ 50.8 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าที่อยู่ในระดับ 50.6 แต่ยังมีค่าสูงกว่าระดับ 50 แสดงว่า ผู้ส่งออกยังคงมีมุมมองที่ดีต่อภาวะการส่งออกของไทย และจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 301 ราย มีรายละเอียดผลการสำรวจดังนี้

ดัชนีมูลค่าส่งออก เดือนตุลาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 53.7 แสดงว่า มูลค่าการส่งออกมีทิศทางดีขึ้น สาเหตุหลักมาจากเศรษฐกิจโลกยังคงเติบโต แต่เกิดพายุไต้ฝุ่นกองเร็ยที่ญี่ปุ่น และพายุเฮอร์ริเคนไมเคิล ที่สหรัฐ ส่งผลให้การขนส่งทางเรือได้รับผลกระทบ

สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าส่งออก เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเล แช่เยือกแข็ง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่สินค้าที่มีมูลค่าส่งออก ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา น้ำตาลทราย เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่

ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ เดือนตุลาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 53.6 แสดงว่า คำสั่งซื้อใหม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรที่ขยายตัว ได้แก่ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากตลาดจีน ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรปยังคงมีความต้องการ อย่างต่อเนื่อง

สินค้าที่มีมูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเล แช่เยือกแข็ง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ ลดลง ได้แก่ ยางพาราน้ำตาลทราย เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้าและชิ้นส่วน และอาหารสำเร็จรูป

ดัชนีการจ้างงาน

ดัชนีการจ้างงาน เดือนตุลาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 51.0 แสดงให้เห็นว่าการจ้างงานของภาคการส่งออกปรับตัวดี โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตามคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้น

สินค้าที่มีมูลค่าการจ้างงาน เพิ่มขึ้น ได้แก่ ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง อาหารทะเลกระป๋อง และแปรรูป สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เสื้อผ้าสำเร็จรูป และเชื้อเพลิง และพลังงาน

ขณะที่สินค้าที่มูลค่าการจ้างงาน ลดลง ได้แก่ ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์ยาง ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และอาหารสำเร็จรูป

ดัชนีสินค้าคงคลัง

ดัชนีสินค้าคงคลังเดือนตุลาคม 2561 มีค่าเท่ากับ 45.1 ซึ่งต่ำกว่าระดับ 50 แสดงว่ามูลค่าสินค้าคงคลังมีแนวโน้มลดลง เป็นผลจากการบริหารจัดการสินค้าคงคลังให้น้อยลง เนื่องจากเป็นการผลิต ตามคำสั่งซื้อและวัตถุดิบบางชนิดมีราคาสูงขึ้น โดยสินค้าคงคลังที่ ลดลงได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋อง และแปรรูป ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ (ไม่รวมคอมพิวเตอร์) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เสื้อผ้าสำเร็จรูป และอาหารสำเร็จรูป

ขณะที่มูลค่าสินค้าคงคลังที่ เพิ่มขึ้นได้แก่ อาหารทะเล แช่เยือกแข็ง สิ่งทอ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก และเชื้อเพลิงและพลังงาน

ปัญหาและข้อเสนอแนะของผู้ส่งออก

ปัญหา
  • ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐและค่าเงินเยนอ่อนค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินบาท ส่งผลกระทบกับยอดขายและต้นทุนของบริษัท รวมถึงความสามารถในการแข่งขันทางการค้า
  • ผลกระทบจากภัยพิบัติธรรมชาติไต้ฝุ่นกองเร็ยที่ญี่ปุ่น และพายุเฮอร์ริเคนไมเคิลที่สหรัฐ ทำให้การขนส่งทางเรือล่าช้าและเสียหาย ตู้บรรจุสินค้าสำหรับการส่งออก (ตู้คอนเทนเนอร์) และจำนวนเรือไม่เพียงพอต่อการส่งออกสินค้า อีกทั้งการจองเรือยากขึ้นและ ท่าเรือคลองเตยมีสภาพที่แออัด
  • ขาดสภาพคล่องทางการเงิน
  • ความต้องการของตลาดต่างประเทศและความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก
  • กฎระเบียบแลมาตรการกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะจีนเข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • ราคาน้ำมันสูงขึ้น ทำให้ราคาต้นทุนของสินค้าเพิ่มขึ้น
  • มาตรการ DUI (Dual-Use Items) ทำให้การส่งออกล่าช้า
  • ขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือในอุตสาหกรรมเสื้อผ้าสำเร็จรูป และแรงงานไร้ฝีมือในอุตสาหกรรมผักผลไม้ สด แช่เย็นแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป และอาหารทะเลแช่เยือกแข็ง
ข้อเสนอแนะ

ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้

  • ส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างประเทศให้มากขึ้น
  • ดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ เพื่อช่วยให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่ค้า
  • ดูแลมาตรการกีดกันทางการค้าของสหรัฐอเมริกาและจีน โดยเฉพาะกำแพงภาษีนำเข้าซึ่งจะนำไปสู่การปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้น มีผลกระทบกับการแข่งขัน ทำให้ผู้ประกอบการต้องหาตลาดใหม่
  • ขยายตลาดใหม่ให้กับผู้ส่งออก โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการของตลาดต่างประเทศลดลง

ที่มา: กองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก การส่งออก  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ