ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศเดือนตุลาคม 2562

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 1, 2019 15:06 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนตุลาคม 2562 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.11 (YoY)เป็นการชะลอตัวต่ำสุดในรอบ 28เดือน (นับตั้งแต่ลดลงต่ำสุดเมื่อมิถุนายน 2560 ร้อยละ -0.05) สินค้ากลุ่มอาหารสดยังคงเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น โดยสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวร้อยละ 4.63(เดือนก่อนหน้า 5.11) จากราคาข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไข่ไก่ ตามปริมาณผลผลิตที่ส่งผลมาตั้งแต่ต้นปี และจากผักสดตามความต้องการช่วงเทศกาลกินเจในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน รวมทั้งผลจากการปรับภาษีในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ในวันที่ 1 ตุลาคม 2562 จาก 50 สตางค์ต่อลิตร ในปี 2560 เป็น 1 บาทต่อลิตร มีผลทำให้น้ำอัดลม น้ำหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลปรับราคาขึ้น ขณะที่สินค้ากลุ่มพลังงานยังคงเป็นปัจจัยลบ โดยลดลงร้อยละ 7.54 ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ตามราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศซึ่งลดลงร้อยละ 11.57 ต่ำสุดในรอบ 43 เดือนตามภาวะราคาน้ำมันตลาดโลก เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว

เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.44เท่ากับเดือนก่อนหน้า

1.เทียบเดือนตุลาคม 2561 สูงขึ้นร้อยละ 0.11(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.22 โดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 8.88 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า เนื่องจากปริมาณผลผลิตข้าวมีน้อย ขณะที่ความต้องการมีอย่างต่อเนื่อง ผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 6.0 3โดยผักสด สูงขึ้นร้อยละ 8.13 (พริกสดหัวหอมแดงแตงกวาผักคะน้า) จากความต้องการช่วงกินเจที่มากขึ้นและผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ประกอบกับราคาฐานปีที่ผ่านมาต่ำสุดในรอบปี ผลไม้สด สูงขึ้นร้อยละ 4.0 2(เงาะ กล้วยน้ำว้า ฝรั่ง) เนื่องจากเป็นช่วงปลายฤดู ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 2.63 (ไข่ไก่ ไข่เป็ด) โดยเฉพาะไข่ไก่ จากการปลดระวางแม่ไก่เหลือไก่สาวที่ให้ไข่ขนาดเล็ก ทำให้ไข่ขนาดใหญ่มีปริมาณน้อย เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 2.19 (เนื้อสุกร ปลานิล) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.3 9(น้ำอัดลม น้ำหวาน เครื่องดื่มรสชอกโกแลต) ผลจากการปรับภาษีในกลุ่มเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลผสมร้อยละ 10-14จาก 50สตางค์ต่อลิตร ในปี 2560เพิ่มเป็น 1บาทต่อลิตร โดยมีผลวันที่1 ตุลาคม 2562 อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.58 และ 0.28 ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ขณะที่เครื่องประกอบอาหารลดลงร้อยละ 0.39 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม)
  • หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 1.0 9ตามการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ร้อยละ 3.43 โดยน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีก ลดลงร้อยละ 11.57 (ต่ำสุดในรอบ 43 เดือน) การสื่อสาร ลดลงร้อยละ 0.04 (เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ) หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า ลดลงร้อยละ 0.27 (กระโปรงสตรี เสื้อเชิ้ต เสื้อยืดบุรุษ) หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.08 (เบียร์ ไวน์) ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 6.14 (ค่าโดยสารรถประจำทาง ค่าโดยสารรถเมล์เล็ก/รถสองแถว) หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.37 (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน) หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงชึ้นร้อยละ 0.4 2 (ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว โฟมล้างหน้า) หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.7 6(ค่าเช่ารถตู้ ค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา)
2. เทียบกับเดือนกันยายน 2562 ลดลงร้อยละ -0.16(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ 0.10 ตามการลดลงของ เนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ ลดลงร้อยละ 0.83 (เนื้อสุกรกระดูกซี่โครงหมูไก่สดปลาทู) โดยเฉพาะเนื้อสุกรราคาหน้าฟาร์มลดลง สุกรล้นตลาด และลดราคาแข่งขันกับห้าง Hypermarketผักและผลไม้ ลดลงร้อยละ 0.07โดยผลไม้สด ลดลงร้อยละ 1.37 (ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง องุ่น) ผลผลิตผลไม้ออกสู่ตลาดพร้อมกันหลายชนิดและมีปริมาณมาก ผักสดสูงขึ้นร้อยละ 1.62 (ผักคะน้าต้นหอม แตงกวาผักชีเห็ด) จากความต้องการช่วงเทศกาลกินเจในสัปดาห์แรก เครื่องประกอบอาหาร ลดลงร้อยละ 0.39 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว กะทิสำเร็จรูป) จากการจัดโปรแกรมส่งเสริมการขาย ขณะที่ข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 0.23 โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว และข้าวสารเจ้า จากปริมาณผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังออกสู่ตลาดน้อย เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.85(น้ำหวาน น้ำอัดลม เครื่องดื่มรสชอกโกแลต) จากการปรับภาษีความหวาน ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 0.13 และอาหารบริโภคในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (ข้าวผัด)
  • หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.18 ตามการลดลงของหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 0.52 ตามการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 1.67 (น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท ยกเว้น ก๊าซธรรมชาติ (NGV)) และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.08 (เบียร์) ขณะที่หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.27 (สบู่ถูตัว น้ำยาระงับกลิ่นกาย ผลิตภัณฑ์ป้องกันและบำรุงผิว) ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 0.03 (ค่าโดยสารเครื่องบิน ค่าโดยสารรถประจำทาง 1) ขณะที่ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง ได้แก่ หมวดการบันเทิง การอ่านและการศึกษา หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า และหมวดเคหสถาน
3.เฉลี่ย 10 เดือน (ม.ค.-ต.ค.) ปี 2562 เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 สูงขึ้นร้อยละ 0.74(AoA )โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
  • หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 2.45 สูงขึ้นทุกหมวดสินค้าโดยข้าว แป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง สูงขึ้นร้อยละ 5.52 โดยเฉพาะข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 3.75 (เนื้อสุกร ไก่ย่าง ปลาน้ำจืด สัตว์น้ำทะเล) ไข่และผลิตภัณฑ์นม สูงขึ้นร้อยละ 1.39 (ไข่ไก่ ไข่เป็ด นมข้นหวาน) ผักและผลไม้ ร้อยละ 5.80 โดยผักสด สูงขึ้นร้อยละ 10.85 (กะหล่ำปลี มะนาว พริกสด ต้นหอม) ผลไม้ ร้อยละ 3.15 (มะละกอสุก ทุเรียน ส้มโอ) เครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 0.99 (น้ำพริกแกง ซอสมะเขือเทศ เกลือป่น) เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.75 (เครื่องดื่มรสชอกโกแลต น้ำอัดลม น้ำหวาน) อาหารบริโภคในบ้าน และนอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 0.74และ 1.29ตามลำดับ (กับข้าวสำเร็จรูป แฮมเบอร์เกอร์ อาหารเช้า)
  • หมวดอื่น ๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ 0.24 ตามการลดลงของน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 4.70 และการสื่อสาร ลดลงร้อยละ 0.03 ส่งผลให้หมวดพาหนะการขนส่ง การสื่อสาร ลดลงร้อยละ 1.21 ขณะที่ค่าโดยสารสาธารณะ สูงขึ้นร้อยละ 3.88 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 0.45และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ สูงขึ้นร้อยละ 0.53หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ 0.18 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.07ขณะที่หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ 0.01

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ