ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกุมภาพันธ์ 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Friday March 5, 2021 10:35 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกุมภาพันธ์2564 เท่ากับ 98.88(ปีฐาน 2562=100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกุมภาพันธ์2563 (YoY)ลดลง-1.17 2. เดือนมกราคม 2564 (MoM) ลดลง-0.91 3.เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2564

ลดลง-0.75 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนกุมภาพันธ์ 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -1.17 (YoY)ซึ่งเป็นการลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 12 นับตั้งแต่สถานการณ์โควิด-19เริ่มส่งผลต่อไทยในเดือนมีนาคมปีก่อน อย่างไรก็ตาม การหดตัวในเดือนนี้มีปัจจัยหลักจากมาตรการลดค่าครองชีพของภาครัฐโดยเฉพาะการลดค่าไฟฟ้าและน้ำประปา เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค. 64) ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดโดยเฉพาะผักสด ข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว ลดลงตามผลผลิตที่เพิ่มขึ้นและฐานราคาที่ต่ำกว่าปีก่อน ขณะที่ราคาสินค้าและบริการในหมวดอื่นๆ ส่วนใหญ่ยังทรงตัวและเคลื่อนไหวสอดคล้องกับปริมาณผลผลิตและความต้องการบริโภคของประชาชน ยกเว้น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง มีการปรับราคาสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 13เดือน ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก

ทั้งนี้ เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานยังขยายตัวที่ร้อยละ 0.04 และเฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค.-ก.พ.) 2564 เงินเฟ้อทั่วไปลดลงร้อยละ -0.75 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 0.12 (AoA)1. เทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2563 (YoY)ลดลงร้อยละ -1.17

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มลดลงร้อยละ -1.60 โดยมีปัจจัยหลักจากการลดลงของหมวดเคหสถานร้อยละ -4.98ตามการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม จากมาตรการบรรเทาภาระค่าครองชีพของภาครัฐ รวมทั้งหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าลดลงร้อยละ -0.22 จากราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ เป็นต้น หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลลดลงร้อยละ -0.04 จากราคาผ้าอ้อมสำเร็จรูป สบู่ถูตัว ผ้าอนามัย เป็นต้น หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯลดลงร้อยละ -0.12 จากการลดลงของเครื่องถวายพระ และค่าห้องพักโรงแรม เป็นสำคัญ ในขณะที่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 0.98จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ1.98 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.63 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์สูงขึ้น ร้อยละ 0.03จากการสูงขึ้นของราคาสุราและเบียร์*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.43 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -5.93 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว เป็นสำคัญ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมลดลงร้อยละ -0.34 จากการลดลงของราคานมสด นมถั่วเหลือง และนมผง กลุ่มผักสดลดลงร้อยละ -3.53 จากการลดลงของราคาผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาว และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ลดลงร้อยละ -0.30 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำอัดลม สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ1.02 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย ปลาทับทิม กลุ่มผลไม้สดร้อยละ0.78 จากการสูงขึ้นของราคากล้วยน้ำว้า องุ่น ฝรั่ง กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ3.35 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซอสหอยนางรม ซีอิ๊ว กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.32 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง ก๋วยเตี๋ยว และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.54 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารแบบตะวันตก (ไก่ทอด พิซซ่า) เป็นต้น หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.21 จากการลดลงของหมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ -2.65 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ร้อยละ -0.20 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -0.44ตามการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -2.25และการสื่อสาร ร้อยละ -0.02และหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักโรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.26 ในขณะที่ สินค้าและบริการที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย) สูงขึ้นร้อยละ 0.09 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(สุรา เบียร์) สูงขึ้นร้อยละ 0.04 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย)ร้อยละ 1.18 กลุ่มผักสด(พริกสด ขิง ต้นหอม) สูงขึ้นร้อยละ 3.62 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด))สูงขึ้นร้อยละ 3.23กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) สูงขึ้นร้อยละ 0.34 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารแบบตะวันตก) สูงขึ้นร้อยละ 0.64สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -5.47 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(นมถั่วเหลือง นมสด นมผง) ลดลงร้อยละ -0.21 กลุ่มผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน มะม่วง แตงโม) ลดลงร้อยละ -0.34 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป) ลดลงร้อยละ -0.17 2. เทียบกับเดือนมกราคม 2564(MoM)ลดลงร้อยละ -0.91โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ร้อยละ(MoM)*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.10 จากการลดลงของหมวดเคหสถานร้อยละ -4.62 ตามการลดลงของค่ากระแสไฟฟ้า ร้อยละ -25.42 รวมทุกรายการ-0.91 และค่าน้ำประปา ร้อยละ -8.75 เป็นสำคัญ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.-0.63

รักษาและบริการส่วนบุคคล(สบู่ถูตัว โฟมล้างหน้าผ้าอนามัย) ร้อยละ -0.24 -อาหารสด-1.48 ในขณะที่ หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารสูงขึ้นร้อยละ 1.94จากหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.-1.10

เครื่องบิน) ร้อยละ 0.36 และน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 5.69 จากการสูงขึ้นของเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.01 ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(เครื่องถวายพระอาหารสัตว์เลี้ยง) สูงขึ้นร้อยละ 0.04สำหรับเคหสถาน-4.62

หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์และการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยการตรวจรักษาและบริการ.-0.24 ไม่เปลี่ยนแปลง*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.63 ตามการลดลงพาหนะการขนส่งและการ.1.94 ของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) -พลังงาน-4.68 ร้อยละ -1.30 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(กุ้งนาง ปลานิล ไก่สด) ร้อยละ -0.03 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมผง นมสด) ร้อยละ -0.70 กลุ่มผักสด การบันเทิง การอ่าน การ.0.04 (พริกสด ผักบุ้ง ผักกาดขาว) ลดลงร้อยละ -8.21 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มียาสูบและเครื่องดื่มมี.0.00

          กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน องุ่น กล้วยหอม) สูงขึ้นร้อยละ 1.43        ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *-0.08 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว) สูงขึ้นร้อยละ 1.54กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป อาหารโทรสั่ง) สูงขึ้นร้อยละ 0.08และ      กลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้าน(อาหารกลางวัน อาหารเย็น) สูงขึ้นร้อยละ 0.05 3. เฉลี่ย 2 เดือน (ม.ค. -ก.พ.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)ลดลงร้อยละ -0.75โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ร้อยละ(AoA)*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.21 จากการลดลงของรวมทุกรายการ-0.75 หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ -2.65 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ) ร้อยละ -0.20 อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.0.07 หมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสารร้อยละ -0.44ตามการลดลงของ-อาหารสด-0.41

หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ ค่าห้องพักหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.-1.21 โรงแรม) ลดลงร้อยละ -0.26 ในขณะที่ สินค้าและบริการที่ราคาปรับสูงขึ้น ได้แก่ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ยาสีฟัน ค่าแต่งผมสตรี เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.20 ค่าแต่งผมชาย) สูงขึ้นร้อยละ 0.09 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์เคหสถาน-2.65 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.07 จากการสูงขึ้นการตรวจรักษาและบริการ.0.09 ของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย)ร้อยละ 1.18 กลุ่มผักสด(พริกสด ขิง ต้นหอม) สูงขึ้นร้อยละ 3.62 พาหนะการขนส่งและการ.-0.44 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซอสหอยนางรม มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด))สูงขึ้นร้อยละ 3.23กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว -พลังงาน

-6.15 ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) สูงขึ้นร้อยละ 0.34 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านการบันเทิง การอ่าน การ.-0.26 (อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า อาหารแบบตะวันตก) สูงขึ้นร้อยละ 0.64สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.04 (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ลดลงร้อยละ -5.47 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(นมถั่วเหลือง นมสด นมผง) ลดลงร้อยละ -0.21 กลุ่มผลไม้สด (ส้มเขียวหวาน ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.12 3. การเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อ (YoY) จำแนกรายภาค เดือนกุมภาพันธ์ 2564 ดังนี้

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ทุกภาคมีความเคลื่อนไหวของราคาเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยดัชนีราคาผู้บริโภคของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หดตัวมากที่สุด ที่ร้อยละ -1.40 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ -1.30 กรุงเทพฯ และปริมณฑล ร้อยละ -1.15 ภาคกลาง ร้อยละ -1.13และภาคใต้หดตัวน้อยที่สุด ที่ร้อยละ -0.97

เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวดสินค้า พบว่า หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ติดลบมากกว่าเดือนที่ผ่านมาจากในทุกภาค จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า น้ำประปา ก๊าซหุงต้ม และข้าวสาร เป็นสำคัญ สำหรับหมวดอาหารและเครื่องดื่มดัชนีหดตัวในทุกภาค ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล 4. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคม 2564

อัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนมีนาคม 2564 มีแนวโน้มหดตัวเล็กน้อย โดยมีปัจจัยสำคัญจากผลของมาตรการดูแลค่าครองชีพของประชาชนด้านสาธารณูปโภค (ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา) ที่ยังมีผลต่อเนื่องจากเดือนนี้ รวมทั้งราคาข้าวสารที่ยังต่ำกว่าปีก่อน และสินค้าเกษตรอื่น ๆ ยังเคลื่อนไหวในทิศทางปกติตามปริมาณผลผลิต ในขณะที่ ราคาน้ำมันในปีนี้อาจผันผวนบ้างตามสถานการณ์ราคาโลก แต่มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องทั้งปี

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2564 จะเคลื่อนไหวระหว่างร้อยละ 0.7-1.7(ค่ากลางอยู่ที่ 1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ภายใต้สมมติฐาน

-ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เคลื่อนไหวในช่วง 3.5 -4.5 %-ราคาน้ำมันดิบดูไบ เคลื่อนไหวในช่วง 40 -50 เหรียญสหรัฐฯ/บาร์เรล -อัตราแลกเปลี่ยน เคลื่อนไหวในช่วง30.0 -32.0บาท/เหรียญสหรัฐ

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ