ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนสิงหาคม 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Monday September 6, 2021 10:32 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนสิงหาคม 2564 เท่ากับ 99.63(ปีฐาน 2562=100)

Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนสิงหาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ลดลงร้อยละ -0.02 (YoY)จากที่ขยายตัวต่อเนื่องมา 4 เดือน โดยมีสาเหตุสำคัญจากมาตรการลดภาระค่าครองชีพของภาครัฐในการลดค่าเล่าเรียน-ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ประกอบกับราคาสินค้าในกลุ่มอาหารสดหลายชนิดลดลงค่อนข้างมาก โดยเฉพาะข้าวสารเหนียว ข้าวสารเจ้า เนื้อสุกร ไก่สด ผักและผลไม้ ในขณะที่ราคาไข่ไก่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ แม้ว่าราคาสินค้าในกลุ่มพลังงานจะขยายตัว แต่เป็นอัตราที่น้อยกว่าเดือนที่ผ่านมา โดยปัจจัยดังกล่าวเป็นแรงกดดันให้เงินเฟ้อในเดือนนี้ปรับลดลง สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่นๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงโควิด-19เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ0.07 สำหรับเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2564 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 0.73 (AoA) และเงินเฟ้อพื้นฐาน สูงขึ้นร้อยละ 0.23 (AoA)

1. เทียบกับเดือนสิงหาคม 2563 ลดลงร้อยละ -0.02(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -1.48 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -6.96 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้าและข้าวสารเหนียว กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำร้อยละ -1.61 ตามการลดลงของราคาเนื้อสุกร ไก่สด กุ้งนาง กุ้งขาวกลุ่มผักสดร้อยละ -11.86 จากการลดลงของราคามะเขือเทศ ต้นหอม ผักชี เป็นสำคัญ กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -2.54 จากการลดลงของราคาเงาะ มังคุด ลองกองและกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.32 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม ร้อยละ 3.82 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่ ไข่เป็ดกลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 3.99 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว น้ำพริกแกง กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านสูงขึ้นร้อยละ 0.35 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว อาหารว่าง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านสูงขึ้นร้อยละ0.26 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 0.93 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 9.04 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 28.82 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.43 และหมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.39 จากการสูงขึ้นของราคาครีมนวดผม ค่าแต่งผมชายและสตรี ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ -0.24 จากการลดลงของราคาเสื้อยืดสตรี เสื้อยกทรง เสื้อเชิ้ต หมวดเคหสถานร้อยละ -5.95 จากการการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าเช่าบ้านหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.89 จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้นหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.01จากการลดลงของราคาไวน์ และการสื่อสารลดลง ร้อยละ 0.01 2. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564ลดลงร้อยละ -0.18(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.26 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว)ร้อยละ -1.80 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กุ้งขาว ปลานิล) ร้อยละ -0.79กลุ่มผลไม้สด(เงาะ ลองกอง มังคุด) ร้อยละ -2.38 และกลุ่มเครื่องประกอบอาหาร (ซีอิ๊ว น้ำปลา เครื่องปรุงรส) ร้อยละ -0.06 ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ นมสด นมเปรี้ยว) ร้อยละ 2.80 กลุ่มผักสด(พริกสด มะเขือ ผักบุ้ง) ร้อยละ 0.31 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำดื่ม น้ำผลไม้) ร้อยละ 0.05 และกลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ปลากระป๋อง) ร้อยละ 0.01 สำหรับสินค้าในกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.12 เป็นการ ลดลงเกือบทุกหมวดสินค้า ลดลงเกือบทุกหมวดสินค้า อาทิหมวดเคหสถาน(ค่าเช่าบ้าน ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม) ร้อยละ -0.02หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู โฟมล้างหน้า น้ำยาระงับกลิ่นกาย)ร้อยละ -0.19 หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร(น้ำมันเชื้อเพลิง) ร้อยละ -0.10 และหมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา) ร้อยละ -0.80 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ค่าโดยสารสาธารณะและการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง

3. เฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค. -ส.ค.) ปี 2564 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 0.73(AoA) ร้อยละ(AoA)*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.30

หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 1.30 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 6.35 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 20.31 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมสตรี ค่าแต่งผมชาย ครีมนวดผม) ร้อยละ 0.17 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ สุรา) ร้อยละ 0.01 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.46 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม ค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ -2.53 หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(เสื้อยืดสตรีและบุรุษ เสื้อยกทรง) ร้อยละ -0.27 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าทัศนาจร เครื่องถวายพระ) ร้อยละ -0.19และการสื่อสาร ร้อยละ -0.02 หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.16 จากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -6.14 กลุ่มผักสด(ผักชี มะเขือเทศ) ร้อยละ -2.02 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ -0.27 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้นได้แก่กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู ปลาหมึกกล้วย) ร้อยละ 1.23 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(นมถั่วเหลืองนมสด นมผง) ร้อยละ 0.30 กลุ่มผลไม้สด(กล้วยน้ำว้า องุ่น ทุเรียน) ร้อยละ 1.62กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว ซอสหอยนางรม) ร้อยละ 3.64 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว ข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 0.39 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเย็น(อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.56

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผุ้บริโภคภาคใต้และภาคกลาง ขยายตัวที่ร้อยละ 0.67 และ 0.21 ตามลำดับในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล หดตัวที่ร้อยละ -0.13-0.16และ -0.40ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอาหารและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ราคาสินค้าโดยเฉลี่ยของทุกภาคปรับตัวลดลงโดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นภาคที่มีอัตราการลดลงมากที่สุด สาเหตุสำคัญจากสินค้าในกลุ่มผักสด และข้าวสาร ที่ลดลงในอัตราที่มากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ สำหรับหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นในทุกภูมิภาค ยกเว้นกรุงเทพฯ และปริมณฑล

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง น้ำมันพืช ไข่ไก่ สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ข้าวสารเจ้า เป็นต้น5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนกันยายน 2564

เงินเฟ้อในเดือนกันยายน 2564มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวในระดับที่ไม่สูงมากนัก โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสิ้นสุดมาตรการลดค่ากระแสไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ซึ่งสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม อีกทั้งราคาพลังงานมีแนวโน้มทรงตัวหรือลดลงเล็กน้อย จากการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ผลิตโลก ประกอบกับสถานการณ์โควิด-19 ที่มีแนวโน้มเริ่มคลี่คลาย อย่างไรก็ตาม ราคาอาหารสดและการต่ออายุมาตรการลดค่าครองชีพของรัฐเป็นปัจจัยผันแปรสำคัญที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในเดือนกันยายนได้

ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2564 จะอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7 -1.7 (ค่ากลางอยู่ที่ร้อยละ1.2) ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง ทั้งนี้จะมีการทบทวนอีกครั้งในเดือนกันยายน 2564

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ