ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนธันวาคม 2564 และปี 2564

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday January 5, 2022 11:26 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 101.86(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนธันวาคม2563 (YoY)สูงขึ้น2.17 2. เดือนพฤศจิกายน 2564 (MoM) ลดลง-0.38 3.เฉลี่ย ปี 2564 เทียบกับ ปี 2563 (AoA) สูงขึ้น1.23 4. ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกัน

สูงขึ้น2.42 ของปีก่อน (YoY) 5.ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า(QoQ) สูงขึ้น1.80 Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนธันวาคม 2564 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.17 (YoY)เป็นการสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2564 สูงขึ้นร้อยละ 2.71) โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวลงเนื่องจากมาตรการพยุงราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ และการตรึงราคาพลังงานเพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ขณะที่ราคาสินค้ากลุ่มอาหารสดสูงขึ้นเล็กน้อย จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ โรคระบาดในสุกรและมาตรการลดความเสี่ยงโดยการจำกัดจำนวนการเลี้ยง ส่งผลให้ปริมาณสุกรในระบบลดลงและราคาผักสด ยังคงสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สินค้าสำคัญหลายชนิดราคาต่ำกว่าปีก่อน อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ยังคงเคลื่อนไหวในทิศทางปกติสอดคล้องกับความต้องการในการบริโภค และเมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 0.29 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23 (AoA)เป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทย (ปี 2563 ลดลงร้อยละ -0.85) โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (ร้อยละ 24.59) ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีอุปสงค์เพิ่มขึ้น สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ หมวดเคหสถาน (ร้อยละ -1.73) จากมาตรการต่างๆ ของภาครัฐเพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพ และหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (ร้อยละ -0.13) จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เป็นสำคัญ เมื่อหักอาหารสดและพลังงาน เงินเฟ้อพื้นฐานปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ0.23 (AoA)1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2563 สูงขึ้นร้อยละ 2.17(YoY)

โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.14 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 8.69 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 26.26 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.68 หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.27 จากการสูงขึ้นของราคาสบู่ถูตัว แชมพู และครีมนวดผม และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.36 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่และสุรา ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าร้อยละ -0.23 จากการลดลงของราคากางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ หมวดเคหสถานร้อยละ -0.14 จากการลดลงของราคาค่ากระแสไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน และผงซักฟอก หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -1.00 จากการลดลงของค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาในทุกระดับชั้น*หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.77 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 1.72 จากการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร ปลาหมึกกล้วย และปลาทูนึ่ง กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.23 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่นมถั่วเหลือง และนมสดกลุ่มผักสดร้อยละ 15.50 จากการสูงขื้นของราคามะเขือ มะเขือเทศ และผักกาดขาว กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 6.24 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืช ซีอิ๊ว และน้ำพริกแกง กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 0.43 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) กับข้าวสำเร็จรูป และปลากระป๋อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 0.37 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)ในขณะที่มีสินค้าคาลดลง ได้แก่กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -7.35 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียวกลุ่มผลไม้สดร้อยละ -2.90 จากการลดลงของราคาส้มเขียวหวาน กล้วยหอม และกล้วยน้ำว้าและกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.11 จากการลดลงของราคาน้ำดื่ม น้ำอัดลม และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

สนักงนนโยบยและยุทธศสตร์กรค (สนค.)2. เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2564ลดลงร้อยละ -0.38(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -0.57 ตามการลดลงรวมทุกรายการ-0.38

หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า(เสื้อยืดสตรี รองเท้าแตะหนังสตรี และชุดทำงาน) อาหารและเครื่องดื่มไม่มี.-0.12 ร้อยละ -0.05และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(อาหารสัตว์ และเครื่องรับโทรทัศน์) ร้อยละ -0.03 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาสูงขึ้น -อาหารสด-0.33 ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่าน้ำประปา ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดพื้น และน้ำยาล้างห้องน้ำ) ร้อยละ 0.01หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.-0.57

(สบู่ถูตัว แชมพู และลิปสติก) ร้อยละ 0.14 และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.05 มีแอลกอฮอล์(บุหรี่)ร้อยละ 0.15และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.01 สำหรับการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลงเคหสถาน0.01 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.12 ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า และการตรวจรักษาและบริการ.0.14

ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -0.59กลุ่มผักสด(ผักคะน้า ผักกาดขาว และผักชี) พาหนะการขนส่งและการ.-1.47 ร้อยละ -3.62 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน กล้วยน้ำว้า และกล้วยหอม) ร้อยละ -1.34 -2.59 -พลังงานและกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำอัดลม น้ำผลไม้ และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร)ร้อยละ -0.04 ในขณะที่มีสินค้าราคาสูงขึ้น ได้แก่ กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร ปลาทู และไก่สด) ร้อยละ 1.06 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นมการบันเทิง การอ่าน การ.-0.03

(นมสด ไข่เป็ด และนมข้นหวาน) ร้อยละ 0.01กลุ่มเครื่องประกอบอาหารยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.15 (น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และเครื่องปรุงรส) ร้อยละ 0.71กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(อาหารโทรสั่ง (delivery) ข้าวแกง/ข้าวกล่อง และปลากระป๋อง) ร้อยละ 0.06 ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน *0.05 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.02 3. เฉลี่ยปี 2564 เทียบกับปี 2563 สูงขึ้นร้อยละ 1.23(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้*หมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.12 โดยมีปัจจัยหลักรวมทุกรายการ1.23 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 7.74 ตามการ-0.13 สูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 24.59 เป็นสำคัญ หมวดการตรวจรักษาอาหารและเครื่องดื่มไม่มี.และบริการส่วนบุคคล(ค่าแต่งผมชาย ค่าแต่งผมสตรี และครีมนวดผม) ร้อยละ 0.23 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ สุรา และเบียร์) ร้อยละ 0.28 -อาหารสด-1.00

และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 0.52 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร.2.12 ได้แก่ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และค่าเช่าบ้าน) ร้อยละ -1.73 หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้า(เสื้อยืดสตรี เสื้อยืดบุรุษ และเสื้อเชิ้ตบุรุษ) เครื่องนุ่งห่มและรองเท้า-0.27 ร้อยละ -0.27 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าทัศนาจรต่างประเทศ และค่าที่พักโรงแรม) ร้อยละ -0.45 และการสื่อสาร เคหสถาน-1.73

ร้อยละ -0.02 การตรวจรักษาและบริการ.0.23 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ลดลงร้อยละ -0.13 จากการลดลงของสินค้าในกลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง (ข้าวสารเจ้า และพาหนะการขนส่งและการ.7.74 ข้าวสารเหนียว) ร้อยละ -6.71กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน มะละกอสุก และแตงโม)ร้อยละ -0.03 และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(น้ำดื่ม กาแฟผงสำเร็จรูป -พลังงาน

และกาแฟ(ร้อน/เย็น)) ร้อยละ -0.25 สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่11.88

กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(เนื้อสุกร กระดูกซี่โครงหมู และปลาหมึกกล้วย)การบันเทิง การอ่าน การ.-0.45

ร้อยละ 0.79 กลุ่มไข่ และผลิตภัณฑ์นม(ไข่ไก่ ไข่เป็ด และนมข้นหวาน) ร้อยละ ยาสูบและเครื่องดื่มมี.0.28 0.69กลุ่มผักสด(ผักกาดขาว ถั่วฝักยาว และมะเขือ) ร้อยละ 1.29 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืช ซีอิ๊ว และกะปิ) ร้อยละ 4.29 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน0.23

(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 0.39และ กลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) อาหารเช้าและอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 0.49 4. ไตรมาส 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า สูงขึ้นร้อยละ 1.80 (QoQ)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 2.14 จากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะการขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 1.60 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 4.25 หมวดเคหสถานร้อยละ 4.04 และหมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.03และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.05 ในขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าลดลงร้อยละ -0.05 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.36 และการสื่อสาร ร้อยละ -0.05 หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.31 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 0.91 กลุ่มผักสดร้อยละ 21.07 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 1.66 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 0.17 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านร้อยละ 0.07 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 0.16 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -3.05 สินค้าในกลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ -2.41 และกลุ่มผลไม้สดร้อยละ -0.29 5. ไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 2.42 (YoY) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 3.84 จากการสูงขึ้นของสินค้าในหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.67 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 33.40 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.34 และหมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 1.07 ในขณะที่ หมวดเครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าลดลงร้อยละ -0.26 หมวดเคหสถานร้อยละ -0.14 และหมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ -0.97 *หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.31 ตามการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 0.42 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 0.65 กลุ่มผักสดร้อยละ 11.64 กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 5.87 กลุ่มอาหารบริโภค-ในบ้านร้อยละ 0.41 และกลุ่มอาหารบริโภค-นอกบ้านร้อยละ 0.36 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ สินค้ากลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้งร้อยละ -7.86 กลุ่มผลไม้สดร้อยละ -3.01และกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ -0.19 1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล 1.89 1.27 2.28 2. ภาคกลาง 2.34 0.91 3.28 3.ภาคเหนือ2.54 1.24 3.54 4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.77 -0.34 3.43 5. ภาคใต้2.62 0.93 3.86 ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคขยายตัวต่อเนื่องในอัตราที่ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า โดยภาคใต้ยังคงขยายตัวในอัตราสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 2.62 ในขณะที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ขยายตัวต่ำที่สุด ที่ร้อยละ 1.77 สำหรับภาคเหนือ ภาคกลาง และกรุงเทพฯ และปริมณฑล ขยายตัวร้อยละ 2.54 2.34 และ 1.89 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาเป็นรายหมวด พบว่า หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหาร และเครื่องดื่ม ขยายตัวในทุกภูมิภาค จากการสูงขึ้นของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท เป็นสำคัญ ในขณะที่ หมวดอาหาร และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นในทุกภูมิภาค ยกเว้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลดลงร้อยละ -0.34 โดยมีปัจจัยสำคัญจากสินค้าในกลุ่มข้าว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ และมีสัดส่วนในการบริโภคสินค้าดังกล่าวสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ อีกด้วย

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก น้ำมันพืช ซึ่งราคาสูงขึ้นต่อเนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบผลปาล์มสดที่ราคาเพิ่มขึ้นรวมทั้งการสูงขึ้นของราคาเนื้อสุกร จากปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาค ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เนื่องจากฐานราคาที่สูงของปีก่อนและผลผลิตเริ่มกลับสู่ภาวะปกติเนื่องจากไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมากเท่าช่วงที่ผ่านมา 7.ภาพรวมเงินเฟ้อปี 2564และแนวโน้มเงินเฟ้อปี 2565

ภาพรวมเงินเฟ้อ ปี 2564

เงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปี 2564 สูงขึ้นร้อยละ 1.23 ใกล้เคียงกับที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.8-1.2 และเงินเฟ้อพื้นฐาน (ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน) สูงขึ้นร้อยละ 0.23 ซึ่งขยายตัวเท่ากับปีก่อน ปัจจัยบวกที่ส่งผลต่อเงินเฟ้อในปีนี้ ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิง จากอุปทานที่ไม่สมดุลย์กับอุปสงค์ของโลกที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศและค่าโดยสารสาธารณะปรับสูงขึ้น ประกอบกับราคาผักสดเพิ่มสูงขึ้น จากปริมาณผลผลิตลดลงเนื่องจากได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม ขณะที่เครื่องประกอบอาหาร อาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ สำหรับปัจจัยลบ ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และผลไม้สด จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้อุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศชะลอตัวลง รวมถึงผลผลิตมีปริมาณมากเมื่อเทียบกับปีก่อน นอกจากนี้ มาตรการช่วยเหลือของภาครัฐส่งผลให้ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาลดลง ส่วนหมวดอื่น ๆ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ เงินเฟ้อดังกล่าวชี้ว่า สถานการณ์ด้านราคาสินค้าและบริการของประเทศตลอดทั้งปี 2564 ยังอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพ เคลื่อนไหวในทิศทางปกติ สอดคล้องกับปัจจัยด้านอุปทานและด้านอุปสงค์

แนวโน้มเงินเฟ้อปี 2565

คาดว่าจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นในระดับที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยด้านอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศจะได้รับแรงสนับสนุนจากการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การผลิต และอุปสงค์ด้านพลังงาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรูปแบบต่าง ๆ ส่งผลดีต่อรายได้และกำลังซื้อของประชาชน สำหรับอุปทานที่ส่งผลบวกต่อเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาอาหารสดที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากต้นทุนการผลิต การขนส่ง เงินบาทที่อ่อนค่าลง และการขาดแคลนแรงงาน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยและแนวโน้มเหล่านี้ยังมีความเสี่ยงและมีโอกาสผันผวน รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากโควิด-19 ซึ่งจะกดดันให้เงินเฟ้อของไทยขยายตัวได้อย่างจำกัด

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อในปี 2565 จะมีค่ากลางที่ร้อยละ 1.5 ซึ่งเป็นอัตราที่น่าจะสอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้อย่างเหมาะสม

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


แท็ก ดัชนีราคา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ