ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนมกราคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday February 25, 2022 15:29 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนมกราคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 3.5(YoY) ซึ่งเป็นไปตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ปรับตัวดีขึ้น แม้จะมีปัจจัยกดดันจากการแพร่ระบาดของโควิด-19สายพันธุ์โอมิครอน ประกอบกับฐานราคาที่อยู่ในระดับต่ำของปีก่อนหน้า ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดัชนีราคาส่งออกขยายตัว โดยหมวดสินค้าที่ส่งผลให้ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 41.0 จากความต้องการใช้ที่สูงขึ้นและผลผลิตประเทศสำคัญยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.6 จากอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปและน้ำตาลทราย ตามราคาวัตถุดิบอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และผลผลิตน้ำตาลของประเทศผู้ผลิตสำคัญยังคงต่ำกว่าระดับปกติและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 จากสินค้ารถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ โดยได้รับอานิสงส์จากความต้องการที่ขยายตัวของประเทศคู่ค้า รวมถึงบางสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า สำหรับหมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง จากความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคาลดลง โดยเฉพาะข้าว เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมาเพิ่มสูงขึ้น หลังจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลผลิตในประเทศลดลง

ดัชนีราคานำเข้า เดือนมกราคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 15 ติดต่อกัน ที่ร้อยละ 11.3 (YoY) ทั้งนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 52.9 ได้แก่ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม ตามภาวะราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่เพิ่มสูงขึ้นหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.8 ได้แก่ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ปุ๋ย จากการจำกัดการส่งออกของจีน ประกอบกับต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการใช้ที่สูงขึ้นจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 4.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารที่มีผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีเทคโนโลยีที่สูงขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 3.2 ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ และเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานที่บ้าน เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ จากความต้องการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.1 ได้แก่ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่งแนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้น ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากกรณีความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด และ 6) สินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี

แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 2) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลก มีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น ตามผู้ผลิตรายสำคัญของโลกที่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคาสินค้า และ 4) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูงอัตราการค้า (Term of Trade)เดือนมกราคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0 (เดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 100.4) อัตราการค้ากลับมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 อีกครั้ง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึง ไทยกลับมามีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังปรับตัวสูงขึ้น จะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ กองดัชนีเศรษฐกิจการค้าโทร 0 2507 5821 1. เทียบกับเดือนธันวาคม 2564 (MoM)สูงขึ้นร้อยละ 0.8 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 8.6 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบ เนื่องจากตลาดมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์รวมทุกรายการ0.8 ความไม่สงบในประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุปทานน้ำมันดิบตึงตัว ประกอบกับความต้องการใช้น้ำมันดิบเพิ่มขึ้น หลังคาดการณ์ว่าผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส1.3 โควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน จะกดดันเศรษฐกิจในระยะสั้นเท่านั้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นหมวดสินค้าเกษตรกรรม

ร้อยละ 1.3 จากสินค้าข้าว เนื่องจากความต้องการสั่งซื้อเพื่อบริโภคของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น และค่าเงินบาทที่คาดว่าจะทรงตัวในระดับ 33 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ราคาข้าวของไทยอยู่ในระดับที่สามารถแข่งขัน0.8 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรกับประเทศคู่แข่งได้ นอกจากนี้ ยางพารา เป็นผลจากปริมาณผลผลิตยางออกสู่ตลาดน้อยลง ขณะที่ความต้องการยางเพื่อส่งมอบยังมีอย่างต่อเนื่อง ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง 0.4 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมและแปรรูป ราคาปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการบริโภค และต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.8 ได้แก่ ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 8.6 เนื่องจากผลผลิตของประเทศสำคัญลดลง และมีแนวโน้มจากการจำกัดการส่งออกของประเทศอินโดนีเซียหมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง

อาหารทะเลกระป๋อง จากต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และอาหารสัตว์เลี้ยง ตามการปรับตัวสูงขึ้นของต้นทุนวัตถุดิบและค่าขนส่ง ซึ่งเป็นไปตามความต้องการของตลาดเพื่อใช้ในการบริโภค และราคาวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 0.4 จากผลของราคาเม็ดพลาสติก แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์ยางเนื่องจากสินค้าบางกลุ่มเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวทำให้ความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น2.เทียบกับเดือนมกราคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 3.5 โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 41.0 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป และน้ำมันดิบตามทิศทางราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ปรับสูงขึ้น และจากฐานราคาที่อยู่ในระดับต่ำ ทำให้ราคาน้ำมันยังสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก หมวดสินค้า3.5 รวมทุกรายการอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 5.6 จากราคาน้ำตาลทราย เนื่องจากราคายังทรงตัวในระดับสูงกว่าปีก่อนหน้าค่อนข้างมาก อย่างไรก็ตาม ราคาเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือนติดต่อกัน0.0 หมวดสินค้าเกษตรกรรมสะท้อนถึงราคามีแนวโน้มปรับตัวลดลง นอกจากนี้ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง และผลไม้กระป๋องและแปรรูป ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึง5.6 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรความต้องการบริโภคที่มีอย่างต่อเนื่อง และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 จากรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 2.3 หมวดสินค้าอุตสาหกรรมตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ส่งผลให้ความต้องการสินค้าโดยเฉพาะสินค้า41.0 รุ่นใหม่และใช้เทคโนโลยีขั้นสูงปรับตัวสูงขึ้น สำหรับเม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ ตามความต้องการใช้หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิงและเป็นสินค้าเกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นสำหรับหมวดสินค้าเกษตรกรรม ดัชนีราคาไม่เปลี่ยนแปลง แต่มีการเปลี่ยนแปลงในบางกลุ่มสินค้าสำคัญ โดยกลุ่มสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป จากความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภคและใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องของประเทศคู่ค้าเพิ่มขึ้น ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคาลดลงเป็นสำคัญ โดยเฉพาะข้าว เนื่องจากฐานสูงในปีก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ราคาเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้ากลับมาเพิ่มสูงขึ้น หลังจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าเริ่มปรับเพิ่มขึ้น ประกอบกับผลผลิตในประเทศลดลง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0 (เดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 100.4)กลับมาปรับตัวลดลงอีกครั้งเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แสดงถึง อัตราการค้าของไทยกลับมามีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนมกราคม 2565 เท่ากับ 99.0 (เดือนธันวาคม 2564 เท่ากับ 100.4) อัตราการค้ากลับมาอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 อีกครั้ง เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สะท้อนถึง ไทยกลับมามีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก ปัจจัยหลักเป็นผลจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้ราคานำเข้า (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันมากกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก รวมถึงทำให้สินค้าโภคภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นตาม ด้วยเหตุนี้ หากราคาน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจะเป็นข้อจำกัดต่อการปรับตัวสูงขึ้นของอัตราการค้าไทยในระยะต่อไป

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เคมีภัณฑ์เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่น ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก ผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ทองคำ นมและผลิตภัณฑ์นม และทองแดงและผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ และสิ่งทอและเสื้อผ้า เป็นต้น

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่าจะปรับสูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า (YoY) ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าสำคัญซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศ ปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อเนื่อง

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออก ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้น ประกอบด้วย 1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง โดยมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากกรณีความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซีย 3) ต้นทุนผู้ประกอบการด้านการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง 4) ความต้องการสินค้ากลุ่มอาหาร และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง 5) สินค้าที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ยังอยู่ในกระแสความต้องการของตลาด และ 6) สินค้าเกษตรสำคัญมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี.คธ.แนวโน้มดัชนีราคานำเข้า ในช่วงที่เหลือของปี 2565 คาดว่าขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมาเช่นกัน โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้ราคาสูงขึ้นจาก 1) ราคาน้ำมันมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าปี 2564 2) ราคาวัตถุดิบที่สำคัญในตลาดโลก มีแนวโน้มทรงตัวระดับสูง 3) ราคาสินค้าคอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น ตามผู้ผลิตรายสำคัญของโลกที่มีแนวโน้มปรับขึ้นราคาสินค้า และ 4) ต้นทุนการขนส่งระหว่างประเทศยังทรงตัวระดับสูง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ