ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศและดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานของประเทศเดือนกรกฎาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 5, 2022 14:46 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 107.41(ปีฐาน 2562 =100)

เมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงร้อยละ1. เดือนกรกฎาคม2564 (YoY)สูงขึ้น7.61 2. เดือนมิถุนายน 2565 (MoM) ลดลง-0.16 3.เฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. -ก.ค.) ปี 2565

สูงขึ้น5.89 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (AoA)Highlights อัตราเงินเฟ้อเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)ลดลงร้อยละ -0.16 (เดือนมิถุนายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 0.90) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการลดลงของราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลให้หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.10 ในขณะที่ หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 1.25 จากการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ผักสด เนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลให้ผลผลิตได้รับความเสียหาย รวมทั้งอาหารบริโภคในบ้านและนอกบ้าน จากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น

เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนอัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นร้อยละ 7.61 (YoY)โดยปัจจัยสำคัญเป็นการสูงขึ้นของสินค้ากลุ่มพลังงาน (น้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้าและก๊าซหุงต้ม) และค่าโดยสารสาธารณะ นอกจากนี้ราคาสินค้ากลุ่มอาหารยังคงสูงขึ้น โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป อย่างไรก็ตาม มีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง ได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักสด (ถั่วฝักยาว ขิง และมะนาว)และเครื่องรับโทรทัศน์ เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออกแล้ว เงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวที่ร้อยละ 2.99 และเฉลี่ย 7 เดือน(ม.ค.-ก.ค.) 2565 เงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้นร้อยละ 5.89 (AoA)และเงินเฟ้อพื้นฐานสูงขึ้นร้อยละ 2.01 (AoA)

1. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 สูงขึ้นร้อยละ 7.61(YoY)โดยมีการเปลี่ยนแปลง ของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้*หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 8.02 โดยมีปัจจัยสำคัญจากการสูงขึ้นของกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำร้อยละ 13.68 จากการสูงขึ้นของราคาไก่สดและปลาช่อน กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นมร้อยละ 4.34 จากการสูงขึ้นของราคาไข่ไก่และไข่เป็ด กลุ่มผักสดร้อยละ 8.80จากการสูงขึ้นของราคาพริกสดและต้นหอมกลุ่มผลไม้สดร้อยละ 0.71 จากการสูงขึ้นของราคาแตงโม ส้มเขียวหวาน และมะละกอสุก กลุ่มเครื่องประกอบอาหารร้อยละ 11.58จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันพืชและกะปิกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.73 จากการสูงขึ้นของราคากาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) กาแฟผงสำเร็จรูป และน้ำปั่นผลไม้/ผัก กลุ่มอาหารบริโภคในบ้านร้อยละ 8.71 จากการสูงขึ้นของราคากับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้านร้อยละ 8.43 จากการสูงขึ้นของราคาอาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง) สำหรับกลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้งลดลงร้อยละ -1.40 จากการลดลงของราคาข้าวสารเจ้า และข้าวสารเหนียว*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 7.35 โดยมีสาเหตุหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 10.23 จากการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 26.31 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 5.07หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้าร้อยละ 0.10 จากการสูงขึ้นของราคาเสื้อยกทรง และกางเกงขายาวสตรีหมวดเคหสถานร้อยละ 8.42 จากการสูงขึ้นของราคาค่ากระแสไฟฟ้าค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม หมวดการตรวจรักษา และบริการส่วนบุคคลร้อยละ 0.92จากการสูงขึ้นของราคาค่าทำฟัน ยาสีฟัน และสบู่ถูตัว หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯร้อยละ 0.31 จากการสูงขึ้นของราคาเครื่องถวายพระและอาหารสัตว์เลี้ยง และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ร้อยละ 2.35 จากการสูงขึ้นของราคาบุหรี่ เบียร์ และสุรา ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ลดลงร้อยละ -0.08จากการลดลงของค่าส่งพัสดุไปรษณีย์และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ

2. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565ลดลงร้อยละ -0.16(MoM)โดยมีการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้

*หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ -1.10 จากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ -6.63 ส่งผลให้หมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารลดลงร้อยละ -2.85 ในขณะที่สินค้าและบริการในหมวดอื่น ๆ ราคา1.25 ปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวสตรี และเสื้อเชิ้ตบุรุษ) ร้อยละ 0.04 หมวดเคหสถาน(ก๊าซหุงต้ม และค่าแรงช่างไฟฟ้า) 1.26 ร้อยละ0.16 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(น้ำยาบ้วนปาก สบู่ถูตัวและกระดาษชำระ) ร้อยละ 0.17 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาฯ(ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาทุกระดับชั้น) ร้อยละ 0.18 หมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(เบียร์ ไวน์ และสุรา) ร้อยละ 0.10 และค่าโดยสารสาธารณะ (ค่ารถรับส่งนักเรียนและค่าโดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้าง) ร้อยละ 2.55ในขณะที่กลุ่มการสื่อสาร ราคาโดยเฉลี่ยไม่เปลี่ยนแปลง *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 1.25 จากการสูงขึ้นของสินค้าทุกกลุ่มได้แก่กลุ่มข้าวแป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้าข้าวสารเหนียว และขนมอบ) ร้อยละ 1.93 กลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ไก่สดและปลากะพง) ร้อยละ 0.48 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่เป็ดและไข่เค็ม) ร้อยละ 0.01 กลุ่มผักสด(มะเขือเทศ ต้นหอม และพริกสด)ร้อยละ 2.47 กลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน เงาะ และมะม่วง) ร้อยละ 2.10 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(เครื่องปรุงรสและน้ำพริกแกง) ร้อยละ 0.13 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) และน้ำปั่นผัก/ผลไม้) ร้อยละ 0.10 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่องและก๋วยเตี๋ยว) ร้อยละ 1.39 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น(อาหารตามสั่ง)) ร้อยละ 1.77

3. เฉลี่ย 7 เดือน (ม.ค. -ก.ค.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 5.89(AoA) โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

*หมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.32 โดยมีปัจจัยหลักจากการสูงขึ้นของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสารร้อยละ 11.30 ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ร้อยละ 31.17 เป็นสำคัญ หมวดเคหสถาน(ค่ากระแสไฟฟ้า ค่าน้ำประปา และก๊าซหุงต้ม) ร้อยละ 4.94 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล(แชมพู สบู่ถูตัว และค่าทำฟัน) ร้อยละ 0.73 หมวดยาสูบ และเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์(บุหรี่ เบียร์ และสุรา) ร้อยละ 2.09 และค่าโดยสารสาธารณะ ร้อยละ 1.76 ในขณะที่มีสินค้าและบริการราคาลดลง ได้แก่ หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า(กางเกงขายาวบุรุษ เสื้อยืดสตรีและบุรุษ) ร้อยละ -0.09 หมวดการบันเทิง การอ่าน การศึกษาฯ(ค่าธรรมเนียมการศึกษาทุกระดับชั้น) ร้อยละ -0.52และกลุ่มการสื่อสาร ร้อยละ -0.08 *หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 5.27 จากการสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ(ไก่สดและปลาช่อน)ร้อยละ 9.80 กลุ่มไข่และผลิตภัณฑ์นม(ไข่เป็ดและครีมเทียม) ร้อยละ 5.94 กลุ่มผักสด(พริกสด มะนาว และผักบุ้ง) ร้อยละ 4.34 กลุ่มเครื่องประกอบอาหาร(น้ำมันพืชและกะปิ) ร้อยละ 9.36 กลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์(กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำปั่นผลไม้/ผัก และกาแฟผงสำเร็จรูป) ร้อยละ 1.72 กลุ่มอาหารบริโภคในบ้าน(กับข้าวสำเร็จรูป ก๋วยเตี๋ยว และข้าวแกง/ข้าวกล่อง) ร้อยละ 6.12 และกลุ่มอาหารบริโภคนอกบ้าน(อาหารเช้า อาหารกลางวัน (ข้าวราดแกง) และอาหารเย็น (อาหารตามสั่ง))ร้อยละ 5.71 สำหรับสินค้าที่ราคาลดลง ได้แก่ กลุ่มข้าวแป้งและผลิตภัณฑ์จากแป้ง(ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว และแป้งข้าวเจ้า)ร้อยละ -3.66 และกลุ่มผลไม้สด(ส้มเขียวหวาน และกล้วยน้ำว้า) ร้อยละ -1.76

ดัชนีราคาผู้บริโภคจำแนกรายภาค พบว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคในทุกภาคเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้าขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมาโดยอัตราเงินเฟ้อของภาคใต้ สูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 7.81 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ และกรุงเทพฯ และปริมณฑล สูงขึ้นร้อยละ 7.807.73และ 7.68ตามลำดับ ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สูงขึ้นในอัตราที่ต่ำกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ที่ร้อยละ 7.09

เมื่อพิจารณาเป็นรายสินค้า พบว่า สินค้าสำคัญที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นในทุกภาค ได้แก่ ค่ากระแสไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง กับข้าวสำเร็จรูป และอาหารกลางวัน(ข้าวราดแกง)สำหรับสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงในทุกภาคได้แก่ ข้าวสารเจ้า ผักและผลไม้ อาทิ ขิง ถั่วฝักยาว มะนาว และส้มเขียวหวาน5. แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565

กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 เป็นระหว่างร้อยละ 5.5 -6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมีนาคม 2565ระหว่างร้อยละ 4.0-5.0(ค่ากลางร้อยละ 4.5) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ