ดัชนีราคาส่งออก-นำเข้าของประเทศเดือนกรกฎาคม 2565

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday August 25, 2022 14:51 —สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า

Highlights

ดัชนีราคาส่งออก เดือนกรกฎาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 (YoY) ชะลอตัวลงจาก ร้อยละ 5.3 ในเดือนก่อนหน้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 47.9ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 65.0 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ชะลอตัวลงท่ามกลางความกังวลของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลจากความต้องการในตลาดโลกและประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น หมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนข้าวสาลีและข้าวโพดที่มีราคาสูง และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังคงสูงขึ้นจากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

ดัชนีราคานำเข้า เดือนกรกฎาคม 2565 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวที่ร้อยละ 12.0 (YoY) ชะลอตัวลงจาก ร้อยละ 13.7 ในเดือนก่อนหน้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 57.7 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 66.8 ได้แก่ น้ำมันดิบปรับตัวลงจากความกังวลของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลจากต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคมีความต้องการสูง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตและความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับ ภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 5.3 โดยเฉพาะ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ตามอุปสงค์ที่อ่อนแอจากประเทศจีนหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.7 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกและนำเข้าในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ส.ค.-ธ.ค.) คาดว่าแรงกดดันจากดัชนีที่อยู่ระดับสูงมีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังมีความไม่แน่นอน (2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2สอดคล้องกับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (3) สินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้บางประเทศยกเลิกนโยบายจำกัดการส่งออก และรัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงส่งออกธัญพืชและ (4) ต้นทุนค่าระวางเรือมีแนวโน้มลดลง อัตราการค้า (Term of Trade)เดือนกรกฎาคม 2565

อัตราการค้าของไทย ในเดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3 (เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 94.9) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน สะท้อนถึง ไทยมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคานำเข้าน้ำมันและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมัน (ซึ่งมีสัดส่วนน้ำมันนำเข้าสูงกว่าส่งออก) สูงขึ้นในอัตราที่มากกว่าการสูงขึ้นของราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม แนวโน้มราคาน้ำมันที่เริ่มลดลงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าช่วงก่อนหน้า น่าจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้อัตราการค้าของไทยในระยะต่อไปปรับตัวดีขึ้น 1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (MoM)ลดลงร้อยละ 0.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 6.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว เนื่องจากความกังวลว่าเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวมากกว่าคาดการณ์ ส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวลดลง หมวดสินค้าเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 1.3 ได้แก่ ยางพารา เป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวย รวมทั้งความกังวลจากเศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงชะลอตัวมากกว่าที่คาดการณ์ข้าว เป็นผลมาจากปริมาณผลผลิตข้าวที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเทศอินเดียที่มีผลผลิตสูง ทำให้รัฐบาลไม่มีแผนการจำกัดการส่งออกและสต็อกในประเทศยังคงมีอยู่อย่างเพียงพอ และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้นและหมวดสินค้าอุตสาหกรรม ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ ทองคำ ผลจากความต้องการลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่อง เคมีภัณฑ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับราคาน้ำมันที่ปรับลดลงเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ลดลงตามราคาเหล็กในตลาดโลก และราคาวัตถุดิบ (เศษเหล็ก) ที่มีแนวโน้มลดลง รวมทั้งการบริโภคเหล็กในประเทศจีนลดลงจากปัญหาในภาคอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 0.2 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป และเครื่องดื่ม ตามต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สำหรับน้ำตาลทราย ปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัวมากกว่าคาดการณ์ ประกอบกับราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้มีความต้องการใช้กากน้ำตาลเป็นเอทานอลลดลง

2.เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 4.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 47.9 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้าที่ร้อยละ 65.0 โดยเฉพาะราคาน้ำมันสำเร็จรูปและน้ำมันดิบ ชะลอตัวลงท่ามกลางความกังวลของเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้ต่ำกว่าที่คาดการณ์ หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 7.3 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลจากความต้องการในตลาดโลกและประเทศคู่ค้าหลักอย่างสหรัฐฯ ที่ปรับตัวดีขึ้น อาหารสัตว์เลี้ยง ตามต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 6.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนข้าวสาลีและข้าวโพดที่มีราคาสูง และผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ตามความต้องการนำเข้าเพื่อการบริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น และหมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.3 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 2.5 โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขณะที่สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ราคายังคงสูงขึ้นจากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่

3. เฉลี่ยม.ค. -ก.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 4.6โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

ดัชนีราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นทุกหมวดสินค้า ประกอบด้วย หมวดสินค้าแร่และเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 54.5 ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป น้ำมันดิบ และก๊าซปิโตรเลียมเหลว ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่เร่งตัวสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และประเทศพันธมิตร รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ไม่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันตามข้อตกลง เพราะบางประเทศประสบปัญหาในการผลิต หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร สูงขึ้นร้อยละ 6.5 ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ อาหารสัตว์เลี้ยง ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ รวมถึงความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และน้ำตาลทราย เนื่องจากความต้องการนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลเพื่อทดแทนน้ำมันที่ราคาสูงขึ้น หมวดสินค้าอุตสาหกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการใช้ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เทคโนโลยีใหม่และต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ผลิตภัณฑ์ยาง เม็ดพลาสติก และเคมีภัณฑ์ เป็นผลจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น และหมวดสินค้าเกษตรกรรม สูงขึ้นร้อยละ 2.5 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เนื่องจากความต้องการใช้เป็นพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ยางพารา ความต้องการเพิ่มขึ้น ประกอบกับฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า สำหรับผลไม้สดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง และไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น

6. แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565

แนวโน้มดัชนีราคาส่งออกในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ส.ค. -ธ.ค.) คาดว่าดัชนีมีแนวโน้มปรับตัวชะลอตัวลง เป็นผลมาจาก (1) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 สอดคล้องกับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (2) ราคาพืชพลังงานทดแทนมีแนวโน้มลดลง ตามราคาน้ำมันที่ลดลง (3) ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง ทั้งอุปสงค์ที่คาดว่าจะชะลอตัว ตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม รวมทั้งต้นทุนการผลิตจะปรับตัวลดลง โดยเฉพาะราคาปุ๋ยที่ปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุดแล้ว และ (4) ต้นทุนปัจจัยการผลิตสินค้าขั้นกลางจากต่างประเทศมีแนวโน้มลดลง จากค่าระวางเรือปรับตัวลดลง

ดัชนีราคานำเข้าของประเทศเดือนกรกฎาคม 2565

1. เทียบกับเดือนมิถุนายน 2565 (MoM) ลดลงร้อยละ 1.0โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลดลง ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง ลดลงร้อยละ 3.0 ได้แก่ น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูป ราคาลดลงตามความกังวลของเศรษฐกิจโลกจะมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ ส่วนราคาก๊าซธรรมชาติในสภาพยุโรปราคายังคงปรับตัวสูงขึ้น หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 1.5 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ 0.6 ได้แก่ เครื่องเพชรพลอย อัญมณีเงินแท่งและทองคำ ปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า เนื่องจากความต้องลงทุนสินทรัพย์ปลอดภัยลดลง หลังจากเงินดอลลาร์ สรอ. แข็งค่า และธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อุปกรณ์ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นผลมาจากราคาทองแดง และอลูมิเนียมปรับตัวลดลงลงต่อเนื่อง ตามอุปสงค์ของจีนที่ลดลง จากผลกระทบของการดำเนินนโยบายการปิดเมือง เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ ปุ๋ย และยากำจัดสัตรูพืชและสัตว์ ราคาลดลงเป็นผลจากราคาที่สูงขึ้นมากในช่วงก่อนหน้า ประกอบกับรัสเซียมีการส่งออกปุ๋ยไปยังตลาดอื่นๆ และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค ลดลงร้อยละ 0.1 ได้แก่ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคและวิตามิน ขณะที่หมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 0.3 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น

2. เทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 (YoY)สูงขึ้นร้อยละ 12.0โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วยหมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 57.7 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 66.8 ได้แก่ น้ำมันดิบปรับตัวลงจากความกังวลของเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง หมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 7.1 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสาร ผลจากต้นทุนของเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคมีความต้องการสูง จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 หมวดสินค้าทุนสูงขึ้นร้อยละ 4.4 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากต้นทุนการผลิตและความต้องการในการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากต้นทุนการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ประกอบกับ ภาวะขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และหมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 4.3 ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่ร้อยละ 5.3 โดยเฉพาะ เคมีภัณฑ์ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ ตามอุปสงค์ที่อ่อนแอจากประเทศจีนหลังจากเศรษฐกิจชะลอตัวลงมาก ขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 4.7 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

3. เฉลี่ยม.ค. -ก.ค. ปี 2565 เทียบกับปี 2564 (AoA)สูงขึ้นร้อยละ 13.2โดยมีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้

หมวดสินค้าที่ดัชนีราคานำเข้าปรับตัวสูงขึ้น ประกอบด้วย หมวดสินค้าเชื้อเพลิง สูงขึ้นร้อยละ 63.0 ได้แก่ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติปิโตรเลียม และน้ำมันสำเร็จรูป ผลจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ยืดเยื้อ รวมถึงอุปสงค์น้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับฤดูกาลท่องเที่ยว หมวดสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 6.3 ได้แก่ สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ ตามราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ตามความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้น และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากภาวะเงินเฟ้อ และหมวดสินค้าอุปโภคบริโภค สูงขึ้นร้อยละ 5.9 ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน โดยเฉพาะเครื่องมือสื่อสารมีการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม โดยเฉพาะยารักษาโรคและวิตามิน ที่ความต้องการใช้ในช่วงโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้น นมและผลิตภัณฑ์นม ผลจากต้นทุนวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มขึ้น และหมวดสินค้าทุน สูงขึ้นร้อยละ 4.0 ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการสูง และเป็นสินค้าเทคโนโลยีสมัยใหม่ นอกจากนี้ผลิตภัณฑ์โลหะ มีความต้องการเพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศขณะที่หมวดยานพาหนะและอุปกรณ์การขนส่ง ลดลงร้อยละ 3.6 ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และรถยนต์นั่ง

6. แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565

แนวโน้มดัชนีราคานำเข้าในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565 (ส.ค. -ธ.ค.) คาดว่าแรงกดดันจากดัชนีที่อยู่ระดับสูงมีแนวโน้มลดลง เป็นผลมาจาก (1) เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์ จากผลกระทบของเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบเข้มงวด และการแพร่ระบาดของโควิด-19ยังมีความไม่แน่นอน (2) ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีทิศทางชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 สอดคล้องกับความกังวลเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (3) สินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากผลผลิตเพิ่มขึ้น ทำให้บางประเทศยกเลิกจำกัดการส่งออก และรัสเซียและยูเครนได้ลงนามในข้อตกลงส่งออกธัญพืช และ (4) ต้นทุนค่าระวางเรือมีแนวโน้มลดลง

อัตราการค้าของไทย ในเดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3(เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 94.9) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกันแสดงถึง อัตราการค้าของไทยมีความเสียเปรียบเชิงโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากราคาส่งออกที่เสนอขายต่ำกว่าราคานำเข้าที่ซื้อเข้ามา

อัตราการค้าของไทย ในเดือนกรกฎาคม 2565 เท่ากับ 95.3 (เดือนมิถุนายน 2565 เท่ากับ 94.9) ต่ำกว่า 100 เป็นเดือนที่ 7 ติดต่อกัน สะท้อนว่าไทยยังมีความเสียเปรียบทางโครงสร้างราคาระหว่างประเทศ เนื่องจากระดับราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก โดยมีปัจจัยหลักจากราคาน้ำมันในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง (การนำเข้าน้ำมันมีสัดส่วนสูงกว่าการส่งออกน้ำมัน) ส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้ารวมสูงกว่าดัชนีราคาส่งออกรวม

สำหรับกลุ่มสินค้าที่ราคาส่งออกยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าราคานำเข้า (ได้เปรียบในอัตราการค้า) ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่ใช้วัตถุดิบขั้นกลางจากต่างประเทศในการผลิตเช่น เครื่องสำอาง สบู่และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก เม็ดพลาสติก และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และกลุ่มสินค้าขั้นกลางที่ใช้วัตถุดิบภายในประเทศในการผลิตเช่นผลไม้ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผลไม้ ผัก ผักกระป๋องและแปรรูป และของปรุงแต่งทำจากผัก และผลิตภัณฑ์ทำจากข้าวและแป้ง เป็นต้น

ขณะที่กลุ่มสินค้าที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก (เสียเปรียบในอัตราการค้า) ได้แก่ น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป นมและผลิตภัณฑ์นม ทองแดงและผลิตภัณฑ์ และทองคำ นอกจากนี้ ยังมีสินค้าอื่น ๆ ที่ราคานำเข้าสูงกว่าราคาส่งออก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า สิ่งทอและเสื้อผ้า และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้นแนวโน้มอัตราการค้าไทยในช่วง 5 เดือนที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนหน้า ตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลกและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สำคัญมีแนวโน้มปรับลดลง ซึ่งจะส่งผลให้ดัชนีราคานำเข้าชะลอตัวลงในอัตราที่มากกว่าการชะลอตัวลงของดัชนีราคาส่งออก อย่างไรก็ตาม เนื่องจากอัตราการค้าไทยอยู่ระดับต่ำกว่า 100ติดต่อกัน เป็นเดือนที่ 7และอยู่ในระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ ดังนั้น อัตราการค้าไทยจะกลับมาอยู่ในระดับสูงกว่า 100อาจต้องใช้เวลาต่อไปอีกระยะหนึ่ง

ที่มา: สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ