การส่งออกมีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากวันหยุดช่วงสงกรานต์ และความไม่สงบทางการเมือง
ผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ส่งออก จำนวน 202 ราย ได้ผลดังนี้
ดัชนีมูลค่าส่งออก ในเดือนเมษายน 2553มีค่าเท่ากับ 42.0สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ รองเท้าและชิ้นส่วน สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยางเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เชื้อเพลิงและพลังงาน สินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/ กระป๋องและแปรรูป ยางพารา และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง
ดัชนีคำสั่งซื้อใหม่ ในเดือนเมษายน 2553 มีค่า 50.3สินค้าที่มีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เหล็ก/เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ยางพารา และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง ส่วนสินค้าที่มูลค่าคำสั่งซื้อใหม่ลดลง ได้แก่ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ สิ่งทอ เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ข้าว ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป เชื้อเพลิงและพลังงาน
ดัชนีการจ้างงานในเดือนเมษายน 2553มีค่าเท่ากับ 55.4 แสดงว่าการจ้างงานภาคการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ดัชนีสินค้าคงคลังในเดือนเมษายน 2553 มีค่า 41.7 มูลค่า สินค้าคงคลังที่ลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ ยานพาหนะ/อุปกรณ์และส่วนประกอบ เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก เคมีภัณฑ์ อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ผักผลไม้สด/แช่เย็น/แช่แข็ง/กระป๋องและแปรรูป ข้าว ยางพารา ไก่แช่เยือกแข็งและแปรรูป และ อาหารสำเร็จรูป ส่วนมูลค่าสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ สิ่งทอ และ อาหารทะเลแช่เยือกแข็ง
ปัญหา
- ค่าเงินบาทแข็งค่าเกินไป
- ปัญหาภัยธรรมชาติ กรณีภูเขาไฟระเบิดในประเทศไอซ์แลนด์ มีการปิดน่านฟ้ายุโรปหลายวันติดต่อกัน เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกอย่างมาก
- แรงงานและวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
- รัฐบาลไม่มีเวลาบริหารประเทศ แต่ใช้เวลากับการแก้ไขปัญหาการเมือง โดยไม่ได้แก้ไขปัญหาของผู้ส่งออก
- ต้นทุนสูงเนื่องจากวัตถุดิบราคาสูงขึ้น
ภาครัฐควรดำเนินการ ดังนี้
- รัฐบาลควรมีมาตรการรองรับ กรณีท่าเรือ หรือสนามบินไม่สามารถเปิดให้บริการได้
- ควรมีนโยบายสนับสนุนการส่งออกเครื่องประดับอัญมณีที่เป็นรูปธรรม
- ควรแก้ปัญหาต้นทุนด้านเชื้อเพลิงเพื่อใช้ในการผลิตและการขนส่งโดยการลดภาษีสรรพสามิต
- ควรปรับอัตราชดเชยภาษีส่งออกให้สูงขึ้น เพราะประเทศจีนปรับขึ้นมานานแล้ว
หมายเหตุ : การจัดทำดัชนีภาวะธุรกิจส่งออกจะมีการปรับปรุงข้อมูลดัชนีย้อนหลัง 1 เดือน
1. กลุ่มสินค้าเป้าหมายที่ทำการสำรวจ มีจำนวน 86 กลุ่มสินค้า
2. การคำนวณดัชนี เป็นดัชนีการกระจาย (Diffusion Index) ซึ่งเป็นดัชนีที่มีคุณสมบัติเด่นในการเป็นตัวชี้นำ (leading indicator) และแสดงทิศทางการเติบโต (growth) ของภาวะธุรกิจ จากการ แปลงข้อมูลเชิงคุณภาพ (qualitative) ให้เป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (quantitative) โดยกำหนดค่าคำตอบที่ได้รับจากผู้ตอบแบบสอบถาม คือ เพิ่มขึ้นให้คะแนน เท่ากับ 1เท่าเดิมให้คะแนน เท่ากับ 0.5และ ลดลงให้คะแนนเท่ากับ 0 จากนั้นนำคะแนนทั้งหมดมารวมกัน หารด้วยจำนวนผู้ตอบแบบทั้งหมด แล้วคูณด้วย 100 จะได้ดัชนีของแต่ละคาบเวลา ดัชนีจะมีค่าสูงสุดเท่ากับ 100 และค่าต่ำสุดเท่ากับ 0
3. การนำไปใช้ประโยชน์ เพื่อแสดงทิศทางเศรษฐกิจภาคการส่งออก ใช้เส้นค่า 50 (break even point) เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ถ้าผลการคำนวณดัชนีอยู่เหนือเส้น 50 แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจดีขึ้น ถ้าดัชนีอยู่ใกล้แนวเส้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจไม่เปลี่ยนแปลง และถ้าดัชนีอยู่ใต้เส้น 50แสดงว่านักธุรกิจมองว่าธุรกิจแย่ลง
ทั้งนี้ ในช่วงเศรษฐกิจขยายตัว หากดัชนีตัดแนวเส้น 50 ลงมา หมายถึง ภาวะธุรกิจแย่ลงหรือชะลอตัว สำหรับในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว ถ้าดัชนีตัดแนวเส้น 50 ขึ้นไป แสดงว่าภาวะธุรกิจดีขึ้นหรือขยายตัว
ที่มา: สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ โทร.0 2507 5811-13, โทรสาร 0 2507 5806,0 2507 5825
www.price.moc.go.thEmail: [email protected]