รายงานผลการตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยจากการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday February 9, 2011 15:41 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายองอาจ คล้ามไพบูลย์) รายงานผลการตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยจากการปะทะตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ สรุปได้ดังนี้

1. สถานการณ์การปะทะระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา

1) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 15.55 น. เกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชาบริเวณภูมะเขือ ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากปราสาทพระวิหารประมาณ 3 กม.

2) วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 06.20 —07.05 น. เกิดการปะทะกันอีกครั้ง

3) วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.30-21.45 น. เกิดการปะทะกันระหว่างทหารไทยและทหารกัมพูชา บริเวณภูมะเขือ และบริเวณพื้นที่โดยรอบปราสาทพระวิหาร

2. สรุปความเสียหายเบื้องต้น (ชีวิตและทรัพย์สิน)

1) ผู้เสียชีวิต 2 ราย คือ นายเจริญ ผาหอม อายุ 59 ปี และ สิบเอก วุธชรินทร์ ชาติคำดี อายุ 24 ปี

2) ผู้บาดเจ็บ 16 ราย เป็นพลเรือน 2 ราย ทหาร 14 ราย

3) บ้านเรือนเสียหายรวม 17 หลัง ดังนี้ เสียหายทั้งหลัง จำนวน 7 หลัง และเสียหายบางส่วน จำนวน 10 หลัง

4) อาคารเรียนโรงเรียนบ้านภูมิซรอล เสียหายบางส่วน จำนวน 2 หลัง

3. สรุปจำนวนผู้อพยพ มีผู้อพยพ จำนวน 14,735 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 23.00 น.) และมีจุดอพยพ จำนวน 21 จุด

4. สรุปการให้ความช่วยเหลือของจังหวัดศรีสะเกษ

1) จังหวัดได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติ (ภัยอันเนื่องจากกองกำลังจากนอกประเทศ) ในพื้นที่ ตำบลเสาธงชัย หมู่ที่ 2,3,9,10,12,13 และ ตำบุลรุง หมู่ที่ 5,7,10 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554

2) จังหวัดได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัย จังหวัดศรีสะเกษ ณ ที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์

3) จังหวัดได้ตั้ง “ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการปะทะตามแนวชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ” เพื่อรับบริจาคเงิน สิ่งของจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน องค์กรการกุศลและมูลนิธิต่าง ๆ ณ ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ และที่ว่าการอำเภอทุกอำเภอ

4) ผู้ว่าราชการจังหวัดได้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ตามระเบียบกระทรวงการคลัง โดยได้มอบเงินช่วยเหลือ ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 รวมเป็นเงิน 260,000 บาท ดังนี้

  • เงินช่วยเหลือแก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต 1 คน จำนวน 50,000 บาท
  • เงินชดเชยค่าบ้านเสียหายทั้งหลัง จำนวน 7 หลัง ๆ ละ 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 210,000 บาท
  • เงินชดเชยค่าบ้านที่เสียหายบางส่วน เท่าที่จ่ายจริงไม่เกินหลัง ๆ ละ 20,000 บาท จำนวน 10 หลัง (อยู่ระหว่างเร่งสำรวจความเสียหาย)

5) จังหวัดมอบผ้าห่มกันหนาวให้แก่ผู้ประสบภัย จำนวน 6, 970 ผืน

6) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้สนับสนุน ได้แก่ รถยนต์ผลิตน้ำดื่ม 2 คัน รถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร 3 คัน ถังน้ำ 2,000 ลิตร 7 ใบ รถไฟฟ้าส่องสว่าง 2 คัน เต็นท์สนาม (พักนอนได้หลังละ 5 คน) 300 หลัง และเจ้าหน้าที่จากศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 (นครราชสีมา) เขต 7 (สกลนคร) และเขต 13 (อุบลราชธานี) รวม 24 คน สนับสนุนการช่วยเหลือ ณ จัดรับผู้อพยพที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ และที่โรงเรียนบ้านท่าสว่าง ตำบลโนนสำราญ ตั้งแต่ 5 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นไป โดยให้ขึ้นการบังคับบัญชากับผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ

7) อำเภอกันทรลักษ์ อำเภอศรีรัตนะ และอำเภอเบญจลักษ์ ได้จัดทำอาหารเลี้ยงผู้ประสบภัย (จุดอพยพ) รวม 21 จุด จำนวน 14,735 ราย รวม 3 มื้อ ตั้งแต่วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นมา

8) การประปาส่วนภูมิภาค ได้ติดตั้งจุดบริการน้ำบริโภคและอุปโภค จำนวน 2 จุด และสนับสนุนเครื่องกรองน้ำประปาดื่มได้ จำนวน 2 แท่น

9) เทศบาลเมืองกันทรลักษ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ได้สนับสนุนข้าวสารอาหารแห้ง น้ำดื่ม เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

10) สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดศรีสะเกษ มอบเงินช่วยเหลือเบื้องต้นให้แก่ครอบครัวผู้ประสบภัย ครอบครัวละ 3,000 บาท

11) สำนักงานกาชาดชาด (จังหวัดสุรินทร์) มอบอาหารกระป๋อง 2,000 กระป๋อง ชุดอนามัย 160 ชุด ผ้าห่ม 19 ผื่น เสื้อ 40 ตัว

12) บริษัทแม็คโคร สาขาศรีสะเกษ มอบน้ำดื่มขนาด 1.5 ลิตร 1,800 ขวด

13) ชมรมพ่อค้า ห้างร้าน สโมสรโรตารี่ ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน กลุ่มแม่บ้านในพื้นที่อำเภอกันทรลักษ์ สนับสนุนอาหารและน้ำดื่ม

14) โรงพยาบาลอำเภอกันทรลักษ์ ได้จัดศูนย์ปฐมพยาบาล ตลอด 24 ชม. จำนวน 2 จุด ๆ ละ 8 คน รักษาสุขภาพผู้อพยพ

15) กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ โดย รมว.พม. (นายอิสสระ สมชัย) ได้มอบเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่เสียชีวิต บาดเจ็บ และบ้านเสียหาย รวม 19 ราย รวมเป็นเงิน 53,000 บาท

5. สรุปการดำเนินงานประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจ สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2

5.1 ศูนย์ IOC สำนักประชาสัมพันธ์เขต 2

1) อำนวยการประชาสัมพันธ์ในภาวะฉุกเฉิน โดยประสาน สวท.ศรีสะเกษ ส.ปชส.ศรีสะเกษ และ สทท.อุบลราชธานี ใหด้ำเนินการประชาสัมพันธ์และรายงานสถานการณ์อย่างเร่งด่วนและต่อเนื่อง

2) จัดตั้งศูนย์ประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจ IOC —PRD2 โดยทันที และจัดเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานศูนย์ IOC สปข. 2 ตลอด 24 ชม เพื่อประสานข้อมูลในพื้นที่และรายงานสรุปนำเสนอ IOC ส่วนกลาง อย่างน้อยวันละ 2 ช่วง เวลา 12.00 น. และ 18.00 น. หากมีเหตุด่วนให้รายงานทันที

3) ร่วมกำหนดประเด็นข่าวและประสานการผลิตข่าว กับ สทท. อุบลราชธานี สวท.ศรีสะเกษ ส.ปชส. ศรีสะเกษ สวท.สุรินทร์ ส.ปชส.สุริ่นทร์ สวท.อุบลราชธานี และ สวท.บุรีรัมย์ เพื่อรายงานสถานการณ์ตามแนวชายแดนไทยกัมพูชาของแต่ละพื้นที่เข้า สทท.อุบลราชธานี ศูนย์ IOC สทท. และ สวท. ส่วนกลาง

4) จัดทำแผนประชาสัมพันธ์เฉพาะกิจสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชา สปข. 2

5) จัดตั้งศูนย์รับบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยการสู้รบ โดย สปข. 2 สทท.อุบลราชธานี สวท. ในพื้นที่ สปข. 2 ทั้ง 9 จังหวัด เป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของ อาหารแห้ง น้ำดื่ม และยากันยุง เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่อพยพหนีภัยการสู้รบ ณ อำเภอกันทนลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

6) ประสานการผลิตราชการร่วมของ สวท. ในพื้นที่ ชายแดนกัมพูชา ให้ สวท. อุบลราชธานี สวท.สุรินทร์ และสวท.บุรีรัมย์ รับสัญญาณรายการ “เพื่อใจชายแดน” เวลา 18.00 — 19.00 น. จาก สวท.ศรีสะเกษ โดยให้ทั้ง 4 สถานี กำหนดประเด็นและแนวทางการดำเนินรายการร่วมกัน

6. การเยี่ยมเยียนและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย

1) วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ใช้เงินที่ได้รับบริจาคจากประชาชนทั่วประเทศที่บริจาคให้กับผู้ประสบภัยผ่านรายการโทรทัศน์และวิทยุบริษัท อสมท. จำกัด (มหาชน) ในช่วงที่ผ่านมา จำนวน 900,000 บาท เพื่อซื้อสิ่งของเครื่องอุปโภค ผ้าห่มกันหนาว เป็นต้น มอบให้กับประชาชนและทหารพราน โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ๆ ละ 450,000 บาท ส่วนหนึ่งที่มอบให้ประชาชนที่อยู่หน้าที่ว่าการอำเภอกันทรลักษ์ และส่วนที่สองมอบให้กับหน่วยเฉพาะกิจทหารพรานที่ 23 อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

2) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีจะเดินทางไปตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีกครั้ง โดยจะดำเนินการให้ความช่วยเหลือ ดังนี้

2.1) มอบสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภค ผ้าห่มกันหนาว เป็นต้น ให้แก่ประชาชนที่อพยพไปอยู่ที่บริเวณโรงเรียนน้ำขุ่นวิทยา

2.2) มอบของเยี่ยมทหาร ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บจากการสู้รบที่โรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิ์ประสงค์ ตำบลแสนสุข อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

2.3) เดินทางไปร่วมพิธีสวดพระอภิธรรมศพประชาชนที่เสียชีวิตจากเหตุการณ์ ที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ