คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์อุทกภัยและการให้ความช่วยเหลือประชาชนอย่างใกล้ชิด จึงรายงาน สถานการณ์อุทกภัยความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้
1. ได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วม ฉับพลันตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
2. ได้เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ของภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2548 โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ วัดได้ 200.3 มม. เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม อ.ปางมะผ้า และ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน และปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำปิง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ อ.เชียงดาว อ.แม่แตง และ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ โดยในวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ที่สะพานนวรัฐ จ.เชียงใหม่ วัดได้สูง 4.90 เมตร (ระดับวิกฤต 3.70 เมตร) สูงกว่าระดับวิกฤต 1.20 เมตร ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงได้เอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่ชุมชนเขตเศรษฐกิจของเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นบริเวณกว้าง
3. สรุปสถานการณ์และความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2548 เวลา 07.00 น.) ดังนี้
3.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด 32 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 115 ตำบล 420 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา (สถานการณ์รุนแรง 2 จังหวัด คือ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ อ.ปาย และ อ.ปางมะผ้า และ จ.เชียงใหม่ ที่ อ.เชียงดาว อ.พร้าว อ.แม่แตง อ.เมืองฯ อ.สารภี)
3.2 ความเสียหาย 1) ด้านชีวิต ประชาชนเสียชีวิต 6 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 4 คน จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง 1 คน) สูญหาย 13 คน บาดเจ็บ 39 คน เดือดร้อน 58,474 คน 2) ด้านทรัพย์สิน สะพาน 44 แห่ง ถนน 18 สาย พื้นที่การเกษตร 7,825 ไร่
4. การสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือ
4.1 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์และความเสียหายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการ ดังนี้
1) ให้จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมวางกระสอบทรายเพิ่มเป็นคันกั้นน้ำและเร่งการระบายน้ำผ่านคลองแม่ข่า พร้อมเร่งการสูบน้ำออก
2) สำหรับฝายหินทิ้ง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน้าค่ายกาวิละและบริเวณหน้าร้านอาหารนางนวล ซึ่งกีดขวางลำน้ำปิง เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าฝายหินทิ้ง การที่จะรื้อถอนเป็นไปด้วยความลำบาก ดังนั้น เมื่อระดับน้ำปิงลดระดับแล้ว ให้ดำเนินการปรับรื้อถอนเป็นฝายยางถาวร โดยให้สามารถปรับระดับสันฝายได้ตามความเหมาะสมของระดับน้ำ
3) ให้กรมทางหลวงเร่งซ่อมแซมทางหลวงแผ่นดินสาย 1095 ช่วงแม่มาลัย-แม่ฮ่องสอน ซึ่งขณะนี้มีสะพานถูกกระแสพัดพังขาด จำนวน 4 แห่ง โดยให้เร่งสร้างสะพานแบรี่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2548 เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป-มาได้
4) ให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนระดมเครื่องจักรกลในการรื้อเศษซากต้นไม้ กิ่งไม้ และดินโคลนในบริเวณเขตเทศบาลตำบลปาย โดยให้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีปัญหาให้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้ความช่วยเหลือ
5) นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด CEO รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุก ๆ ด้าน และมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ และปฏิบัติหน้าที่อำนวยการและประสานการปฏิบัติกับทุกหน่วยงานในการสนับสนุนช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัย
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้ประสานการให้ความช่วยเหลือกับจังหวัดที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งชุดกู้ภัย จำนวน 30 นาย เดินทางไปร่วมสนับสนุนค้นหาผู้สูญหาย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2548 เวลา 15.00 น. รวมทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบภัย ได้เข้าไปอำนวยการสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--
1. ได้มีวิทยุแจ้งเตือนไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขตในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 11 สิงหาคม 2548 เพื่อให้ติดตามสถานการณ์และเตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาจากสถานการณ์น้ำท่วม ฉับพลันตามแผนป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน
2. ได้เกิดสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ของภาคเหนือตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2548 โดยเฉพาะที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนและจังหวัดเชียงใหม่ปริมาณน้ำฝนสูงสุดที่ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ วัดได้ 200.3 มม. เป็นเหตุให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วม อ.ปางมะผ้า และ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน และปริมาณน้ำเป็นจำนวนมากไหลลงสู่แม่น้ำปิง ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำปิงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเอ่อล้นตลิ่งในพื้นที่ อ.เชียงดาว อ.แม่แตง และ อ.เมืองฯ จ.เชียงใหม่ โดยในวันที่ 14 สิงหาคม 2548 ที่สะพานนวรัฐ จ.เชียงใหม่ วัดได้สูง 4.90 เมตร (ระดับวิกฤต 3.70 เมตร) สูงกว่าระดับวิกฤต 1.20 เมตร ปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงได้เอ่อล้นตลิ่งไหลท่วมพื้นที่ชุมชนเขตเศรษฐกิจของเทศบาลนครเชียงใหม่และพื้นที่ใกล้เคียงเป็นบริเวณกว้าง
3. สรุปสถานการณ์และความเสียหาย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 สิงหาคม 2548 เวลา 07.00 น.) ดังนี้
3.1 พื้นที่ประสบภัย จำนวน 6 จังหวัด 32 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 115 ตำบล 420 หมู่บ้าน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง น่าน แม่ฮ่องสอน และพะเยา (สถานการณ์รุนแรง 2 จังหวัด คือ จ.แม่ฮ่องสอน ที่ อ.ปาย และ อ.ปางมะผ้า และ จ.เชียงใหม่ ที่ อ.เชียงดาว อ.พร้าว อ.แม่แตง อ.เมืองฯ อ.สารภี)
3.2 ความเสียหาย 1) ด้านชีวิต ประชาชนเสียชีวิต 6 คน (จ.แม่ฮ่องสอน 4 คน จ.เชียงใหม่ จ.ลำปาง 1 คน) สูญหาย 13 คน บาดเจ็บ 39 คน เดือดร้อน 58,474 คน 2) ด้านทรัพย์สิน สะพาน 44 แห่ง ถนน 18 สาย พื้นที่การเกษตร 7,825 ไร่
4. การสนับสนุนและการให้ความช่วยเหลือ
4.1 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2548 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะได้เดินทางไปตรวจสถานการณ์และความเสียหายในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยนายกรัฐมนตรี มีข้อสั่งการ ดังนี้
1) ให้จังหวัดเชียงใหม่ เทศบาลนครเชียงใหม่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระดมวางกระสอบทรายเพิ่มเป็นคันกั้นน้ำและเร่งการระบายน้ำผ่านคลองแม่ข่า พร้อมเร่งการสูบน้ำออก
2) สำหรับฝายหินทิ้ง จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ บริเวณหน้าค่ายกาวิละและบริเวณหน้าร้านอาหารนางนวล ซึ่งกีดขวางลำน้ำปิง เนื่องจากขณะนี้ระดับน้ำสูงกว่าฝายหินทิ้ง การที่จะรื้อถอนเป็นไปด้วยความลำบาก ดังนั้น เมื่อระดับน้ำปิงลดระดับแล้ว ให้ดำเนินการปรับรื้อถอนเป็นฝายยางถาวร โดยให้สามารถปรับระดับสันฝายได้ตามความเหมาะสมของระดับน้ำ
3) ให้กรมทางหลวงเร่งซ่อมแซมทางหลวงแผ่นดินสาย 1095 ช่วงแม่มาลัย-แม่ฮ่องสอน ซึ่งขณะนี้มีสะพานถูกกระแสพัดพังขาด จำนวน 4 แห่ง โดยให้เร่งสร้างสะพานแบรี่ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 17 สิงหาคม 2548 เพื่อให้ประชาชนสามารถสัญจรไป-มาได้
4) ให้จังหวัดแม่ฮ่องสอนระดมเครื่องจักรกลในการรื้อเศษซากต้นไม้ กิ่งไม้ และดินโคลนในบริเวณเขตเทศบาลตำบลปาย โดยให้ระดมเครื่องจักรกลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หากมีปัญหาให้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เพื่อให้ความช่วยเหลือ
5) นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัด CEO รับผิดชอบในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในทุก ๆ ด้าน และมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช) จัดตั้งศูนย์อำนวยการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ และปฏิบัติหน้าที่อำนวยการและประสานการปฏิบัติกับทุกหน่วยงานในการสนับสนุนช่วยเหลือจังหวัดที่ประสบภัย
ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนได้ประสานการให้ความช่วยเหลือกับจังหวัดที่ประสบภัยอย่างต่อเนื่อง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดส่งชุดกู้ภัย จำนวน 30 นาย เดินทางไปร่วมสนับสนุนค้นหาผู้สูญหาย เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วมที่อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่วันที่ 14 สิงหาคม 2548 เวลา 15.00 น. รวมทั้ง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่ประสบภัย ได้เข้าไปอำนวยการสั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ ในพื้นที่เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยในพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 สิงหาคม 2548--จบ--