สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามัน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ของส่วนราชการ

ข่าวกฏหมายและประกาศ Wednesday December 29, 2004 14:46 —มติคณะรัฐมนตรี

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่ง
อันดามัน และการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ ของกระทรวงมหาดไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพลังงาน
และกระทรวงพาณิชย์
1. สรุปสถานการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นยักษ์ บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งอันดามัน
เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 เวลา 07.58 น. ได้เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหว โดยมีศูนย์กลาง
อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของปลายเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย หรือละติจูด 3.4 องศาเหนือ
ลองติจูด 95.7 องศาตะวันออก วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 8.9 มาตราริกเกอร์ ซึ่งทำให้เกิดคลื่นยักษ์พัดข้าหาตาม
แนวชายฝั่งทะเลอันดามัน ทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย และได้เกิดการสั่นสะเทือนตามหลัง
(Aftershock) ขนาดต่างๆ (5.7-7.3 ตามมาตราริคเตอร์) กลางทะเลตลอดแนวหมู่เกาะในทะเลอันดามัน
รวมทั้งที่ประเทศพม่าวัดขนาดได้ 6.4 ตามมาตราริคเตอร์ ซึ่งทำให้พื้นที่ในจังหวัดภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันของ
ประเทศไทยประสบความเสียหาย รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต ตรัง พังงา กระบี่ ระนอง และสตูล
2. สรุปความเสียหาย
ลำดับ พื้นที่ประสบภัย
จังหวัด อำเภอ/ ตำบล เสียชีวิต บาดเจ็บ สูญหาย อพยพ บ้าน เรือ มูลค่าความเสียหาย
กิ่งฯ (คน) (คน) (คน) (คน) เรือน ประมง (บาท)
1 ภูเก็ต 3 6 123 1,070 233 40 อยู่ระหว่างการสำรวจ
2 ตรัง 4/1 8 5 70 - 3,000 230 อยู่ระหว่างการสำรวจ
3 พังงา 5 8 537 4,849 990 อยู่ระหว่างการสำรวจ
4 กระบี่ 1 2 130 1,228 - 3,400 อยู่ระหว่างการสำรวจ
5 ระนอง 2/1 3 117 164 143 40 50,000,000
6 สตูล 3 4 6 15 1 23,994 38 380 224,584,730
รวม 6 จังหวัด 18/2 31 918 7,396 1,367 30,394 308 420 274,584,730
3. การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติในพื้นที่ 6 จังหวัดภาคใต้ของส่วนราชการ มีดังนี้
3.1 กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกัน
และบรรเทา สาธารณภัย
(1) สำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว ณ กรม
ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และได้แจ้งให้จังหวัดที่ประสบภัยจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยขึ้นด้วย
(2) หน่วยงานภาครัฐและเอกชนได้สนับสนุนการดำเนินการช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยในจังหวัดที่ประสบภัย ดังนี้ เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน 710 คน เรือท้องแบน 20 ลำ รถยนต์กู้ภัย 63 คัน
รถบรรทุก 33 คัน เฮลิคอปเตอร์ 22 ลำ จากกองทัพอากาศ กองทัพบก กองทัพเรือ และ สนง.ตร. แห่งชาติ
(3) จังหวัดที่ประสบภัยได้ดำเนินการอพยพประชาชนไปอยู่ในจุดรองรับ
การอพยพ 30,394 คน
(4) หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แจกจ่ายถุงยังชีพ จำนวน 22,126
ชุด เสื้อผ้า/เครื่องนุ่งห่ม 3,742 ชุด น้ำดื่ม 10,000 ขวด
(5) ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 4 ประจวบคีรีขันธ์
เขต 11 สุราษฎร์ธานี เขต 12 สงขลา นำเครื่องจักรกล เรือท้องแบน เรือยาง รถยนต์กู้ภัย พร้อมกำลัง
เจ้าหน้าที่และถุงยังชีพเข้าช่วยเหลือร่วมกับหน่วยราชการ หน่วยทหาร ตำรวจ มูลนิธิองค์กรการกุศลและจังหวัด
พื้นที่ประสบภัย อาทิ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สภากาชาดไทย มูลนิธิเพื่อน
พึ่ง(ภาฯ)ยามยาก มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ตลอดจนมูลนิธิอาสาสมัครเอกชน อปพร. ฯลฯ ได้ส่งเจ้าหน้าที่
และสิ่งของเข้าไปให้ช่วยความช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร่งด่วนแล้ว
(6) ได้เปิดรับบริจาคเงินผ่านบัญชีชื่อ บัญชีสมทบทุนเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ประสบอุทกภัย หมายเลข 11-116-20-014496-3 ประเภทเผื่อเรียก ธนาคารออมสิน สาขามหาดไทย และ
รับบริจาคสิ่งของสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยติดต่อได้ที่สำนักช่วยเหลือผู้ประสบภัย กรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย โทร. 0-2241-7495-6
(7) ขอให้ใช้เงินทดรองราชการในอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด
(งบ 50 ล้านบาท) หรืองบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากไม่เพียงพอให้รายงานกรมป้องกันและ
บรรเทาสาธารณภัย เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือ ตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ว่าด้วยเงินทดรองราชการ
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546
ทั้งนี้ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2547 นายกรัฐมนตรี (พ.ต.ท.ทักษิณ
ชินวัตร) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายโภคิน พลกุล) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (นางสุดารัตน์ เกยุราพันธ์)รัฐมนตรี
ช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายสุธรรม แสงประทุม) ปลัดกระทรวงมหาดไทย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย พร้อมคณะ ได้เดินทางไปอำนวยการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ และตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัย
ที่จังหวัดภูเก็ต
3.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(1) วันที่เกิดเหตุกรมประมงได้ส่งเรือเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย
จำนวน 3 ลำ ได้แก่ เรือมหิดล และ SEAFDEC ขนาดระวาง 1,200 ตันกรอส และเรือประมง ขนาดระวาง
90 ตันกรอส ซึ่งเรือมหิดลได้นำแพทย์และ เจ้าหน้าที่ จำนวน 19 นาย เดินทางไปช่วยเหลือ
นักท่องเที่ยวที่เกาะพีพี ดำเนินการอพยพผู้ประสบภัยขึ้นฝั่งเมื่อเวลา 20.00 น. จำนวน 280 คน มีผู้บาดเจ็บ
80 คน และวันรุ่งขึ้นได้ออกไปรับคนที่เกาะพีพีพร้อมอาหาร จำนวน 200 กล่อง และเรือตรวจการประมงทะเล
7 ลำ ช่วยเหลืออพยพผู้ประสบภัยจำนวน 862 คน
(2) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือประสานงานที่ศูนย์ป้องกันและปราบปรามประมง
ทะเลฯ จ.กระบี่ และสถานีวิทยุชายฝั่งจังหวัดตรัง ภูเก็ต และระนอง เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนภัยและการ
ให้ความช่วยเหลือ พร้อมทั้งจัดตั้งชุดช่วยเหลือทางทะเล จำนวน 6 ชุด ทำการช่วยเหลือในเขตจังหวัด
จังหวัดพังงา ระนอง ภูเก็ต อ่าวพังงา จ.กระบี่ เขตจังหวัดตรัง สตูล
(3) สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ส่งเครื่องบิน จำนวน 7 เครื่อง
ได้แก่ Casa 2 เครื่อง (หาดใหญ่ 1 กรุงเทพ 1 ) Caravan 2 เครื่อง (หาดใหญ่) เฮลิคอปเตอร์
3 เครื่อง (กระบี่ 2 , สตูล 1 ) เพื่อปฏิบัติภารกิจในการอพยพประชาชนผู้ประสบภัยบนเกาะต่างๆ
ขนเครื่องยังชีพ และช่วยเหลือตามภารกิจที่จังหวัดร้องขอ
(4) สำหรับการช่วยเหลือตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ด้านประมง กรณีสัตว์น้ำที่เลี้ยงในกระชัง บ่อซีเมนต์ และอื่นๆ อัตราการให้ความช่วยเหลือตารางเมตรละ
150 บาท รายละไม่เกิน 80 ตารางเมตร นั้น ได้มอบหมายให้กรมประมงพิจารณาแนวทางการช่วยเหลือให้
เหมาะสมโดยคำนึงถึงความเสียหายจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นครั้งนี้เป็นกรณีพิเศษ เนื่องจากเกษตรกรผู้ประสบภัย
ได้รับความเสียหายโดยสิ้นเชิงทั้งสัตว์น้ำ กระชัง รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ ด้วย
3.3 กระทรวงอุตสาหกรรม
(1) กรมโรงงานอุตสาหกรรม ออกประกาศลงวันที่ 27 ธันวาคม
2547 เรื่อง การช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการโรงงาน ประสบภัยธรรมชาติ เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีและ
ค่าธรรมเนียมการต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานให้แก่โรงงานในเขตพื้นที่ จังหวัดที่ได้รับความเสียหาย
(2) กระทรวงอุตสาหกรรม มีคำสั่งที่ 349/2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม
2547 แต่งตั้งคณะทำงานช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว เกิดคลื่นยักษ์ สร้างความเสียหายแก่
6 จังหวัดภาคใต้ โดยให้เป็นศูนย์ประสานงานความช่วยเหลือและจัดหาเครื่องอุปโภค บริโภคแก่ผู้ประสบภัย
(โทรศัพท์ 02 2024007, 4105,06) โดยมีอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นประธานคณะทำงาน
(3) สิ่งของบริจาคผ่านกองบิน 6 ฝูงบิน 601 กองทัพอากาศ ดังนี้
วันที่ 27 ธันวาคม 2547
รายการ จำนวน มูลค่า ( บาท )
1. น้ำดื่ม 275,000 ขวด 1,374,000
2. อาหารแห้ง 87,000 ห่อ 668,800
(มาม่า อาหาร
กระป๋อง ฯลฯ)
วันที่ 28 ธันวาคม 2547
รายการ จำนวน มูลค่า ( บาท )
1. น้ำดื่ม 480,000 ขวด 2,400,000
2. อาหารแห้ง 126,000 (ห่อ) 192,600
(มาม่านูดดี้)
3. เครื่องกระป๋อง 20,000 กระป๋อง 300,000
ในเบื้องต้นเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
แก่ผู้ประสบอุทกภัย กระทรวงอุตสาหกรรมได้ใช้เงินจากกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ไปจัดซื้อน้ำดื่มและอาหาร
จากโรงงานอุตสาหกรรมในราคาต้นทุน ในวันที่ 27 ธันวาคม 2547 กองบินกองทัพอากาศ ติดภารกิจในการนำ
แพทย์และพยาบาลไปช่วยเหลือผู้ประสบภัย จึงยังไม่สามารถขนสิ่งของดังกล่าวได้
(4) ประสานกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและโรงงานอุตสาห-
กรรมต่าง ๆ เพื่อจัดหาของบริจาคเพิ่มเติมให้กองทัพอากาศจัดส่งในวันต่อ ๆ ไป จนกว่าจะเพียงพอต่อความต้อง
การ ซึ่งในขณะนี้มีผู้แสดงความจำนงที่จะบริจาคสิ่งของอีกเป็นจำนวนมาก
(5) กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้เปิดบัญชี “ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
เพื่ออุทกภัย” ผ่านธนาคารเอเซีย จำกัด (มหาชน) สาขาย่อยกรมโรงงานอุตสาหกรรม บัญชีออมทรัพย์ เลขที่
บัญชี เพื่อรับบริจาคจากผู้ประกอบการและเงินบริจาคดังกล่าวจะจัดซื้อสิ่งของที่จำเป็นในราคาโรงงานเพื่อมอบให้
ผู้ประสบภัยต่อไป
อนึ่ง ได้รับรายงานจากอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 6 จังหวัด ปรากฏว่ามี
โรงงานที่ได้รับความเสียหายที่จังหวัดพังงาเพียงจังหวัดเดียว จำนวน 7 โรงงาน มูลค่าความเสียหายประมาณ
21.62 ล้านบาท
3.4 กระทรวงศึกษาธิการ
(1) มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สำรวจความเสียหายที่เกิดขึ้นต่ออาคาร
สถานศึกษา ซึ่งทราบว่ามีทั้งที่เสียหายมากและเสียหายไม่มาก จำนวน 10 — 12 แห่ง โดยได้มอบให้นักเรียน
จากสถานศึกษาอาชีวศึกษาในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง มาช่วยดำเนินการซ่อมแซมและก่อสร้างอาคารชั่วคราว
โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย และจะใช้เวลาก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน
1 สัปดาห์
(2) ได้สั่งการให้ทุกโรงเรียนเปิดเรียนเป็นปกติ ยกเว้น โรงเรียนที่อยู่
ชายฝั่งทะเล ซึ่งได้รับความเสียหาย และเกรงว่าจะเกิดอันตราย จำนวน 35 แห่ง ซึ่งมีการปิดเรียน คาดว่าจะ
สามารถเปิดเรียนได้ทุกโรง โดยเรียบร้อยภายหลังจากวันหยุดปีใหม่
(3) ได้จัดให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้รับความเดือด
ร้อน มาใช้อาคารสถานที่ของโรงเรียนเป็นที่พักชั่วคราว และจัดให้นักศึกษา นักเรียน ให้การบริการอาหารและน้ำ
ตลอดจนเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่จำเป็นแก่ผู้ประสบภัย โดยเฉพาะนักศึกษาจากสถาบันราชภัฏก็ได้มาทำหน้าที่ล่ามให้แก่
นักท่องเที่ยวที่เป็นชาวต่างประเทศอีกด้วย
(4) สำหรับจำนวนครู อาจารย์ และนักเรียนที่ได้รับบาดเจ็ดและ
เสียชีวิต จากรายงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในเบื้องต้นได้รับรายงานว่า มีจำนวนครูเสียชีวิต 4 คน
นักเรียน 21 คน อาคารเรียนเสียหาย 15 หลัง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการจะได้สำรวจและรายงานเพิ่มเติมมา
เพื่อทราบต่อไป
3.5 กระทรวงคมนาคม
(1) การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการต่าง ๆ
(1.1) จัดตั้ง “ศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจ” เพื่อประสาน
งานกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เพื่อแก้ไขปัญหาและให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย (หมายเลข
โทรศัพท์ 0-2283-3144 โทรสาร 0-2280-6117)
(1.2) จัดตั้ง “ศูนย์รับความช่วยเหลือผู้ประสบภัย” โดย
บริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค ได้ที่กระทรวงคมนาคมโดยตรง และบริจาคเงินเข้าบัญชี “กระทรวงคมนาคมช่วย
เหลือผู้ประสบภัยคลื่นยักษ์” ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) สาขา ถนนวิสุทธิ์กษัตริย์ เลขที่บัญชี 00 6 0012
188
(1.3) หน่วยงานในสังกัดทุกหน่วย จัดตั้งศูนย์รับบริจาค
โลหิต จากข้าราชการ พนักงาน และบุคคลภายนอก
(2) การให้ความช่วยเหลือ สนับสนุน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน
(2.1) กรมการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี ระดมเรือขุด เรือยางและเรือเร็ว ทั้ง
ของกรมฯ และของเอกชน ออกตระเวนค้นหาผู้รอดชีวิต และผู้เสียชีวิตบริเวณเกาะต่าง ๆ ในพื้นที่ ที่ประสบภัย
แจกจ่ายเครื่องอุปโภค บริโภคทันทีแก่ผู้รอดชีวิตระหว่างลำเลียงเข้าฝั่ง
(2.2) กรมการขนส่งทางบก บริษัท ขนส่ง จำกัด และองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
กรมการขนส่งทางบก ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดรถโดยสารรับผู้โดย-
สารตกค้างจากสนามบินไปยังโรงแรมที่พัก สถานีรถไฟ และปลายทางที่ต้องการ ดังนี้
บริษัท ขนส่ง จำกัด เปิดให้บริการเดินรถประจำทางในจังหวัดที่เกิดภัยพิบัติ
ตามปกติ รวมทั้งจัดส่งรถไปเสริมในเส้นทางปกติด้วย จัดบริการรถโดยสารขนผู้โดยสารตกค้างจากจังหวัดภูเก็ต
ไปยังสถานีรถไฟสุราษฎร์ธานี 3 เที่ยว โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย ในวันที่ 27 ธันวาคม 2547 ระหว่างเวลา 19.00 -
21.00 น. และจัดรถเพื่อบริการรับ — ส่งผู้โดยสารจากสนามบินดอนเมืองไปยังจุดต่างๆ ชานเมือง เพื่อเดินทาง
กลับภูมิลำเนา
องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ จัดรถโดยสารประจำทาง บริการรับ - ส่ง
ผู้โดยสารจากสนามบินดอนเมืองไปส่งตามจุดต่าง ๆในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล
(2.3) กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท จัดเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์
เครื่องจักรต่างๆ พร้อมให้ความช่วยเหลือประชาชน ผู้ประสบภัยได้ทันที รวมทั้งให้การสนับสนุนแก่จังหวัดต่าง ๆ
และศูนย์ประสานงานของ แต่ละหน่วยงานทันที เมื่อได้รับการร้องขอ (ปัจจุบันเริ่มเข้า clear พื้นที่ตามที่จังหวัด
ขอความร่วมมือแล้ว) และจัดคณะทำงานออกสำรวจความเสียหาย ของเส้นทางสายต่างๆ เพื่อเข้าทำการบูรณะ
ทันที เมื่อสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ
(2.4) การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดขบวนรถโดยสาร จำนวน 11 ตู้ (รถนั่งปรับ-
อากาศ ชั้น 2 จำนวน 8 ตู้ รถนอนปรับอากาศชั้น 2 จำนวน 3 ตู้) ในวันที่ 28 ธันวาคม 2547 เพื่อ
รองรับผู้โดยสารตกค้างจากจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ที่ บขส. รับขนมา เพื่อเดินทางต่อเข้า
กรุงเทพฯ โดยขบวนรถไฟจะออกจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีเวลา 08.30 น. ถึงกรุงเทพฯ เวลา 20.30 น.
ทั้งนี้ การรถไฟฯ ไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด (ในขบวนรถไฟมีอาหาร เครื่องดื่มและแพทย์ดูแลตลอดการเดินทาง)
(2.5) กรมการขนส่งทางอากาศ ประสานงานสายการบินเอกชนต่าง ๆ เพื่อจัด
เที่ยวบินรองรับนักท่องเที่ยวที่ประสงค์จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ดังนี้
(2.5.1) จังหวัดภูเก็ต บริษัทบางกอกแอร์เวย์จัดเที่ยวบินพิเศษ 10
เที่ยวบิน (832 ที่นั่ง) ระหว่างวันที่ 26-27 ธันวาคม 2547 เพื่ออพยพผู้บาดเจ็บ จากภูเก็ตเข้ากรุงเทพฯ โดย
มีทีมแพทย์ พยาบาล ร่วมเดินทางไปพร้อมกับเที่ยวบินเพื่อช่วยเหลือผู้บาดเจ็บเพิ่มเติมด้วย นอกจากนี้ได้ร่วมมือกับ
โรงพยาบาลกรุงเทพ ส่งทีมแพทย์ พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญ ทำการลำเลียงผู้ป่วย พร้อมรถพยาบาลจำนวน 25 คัน
ไปประจำการ ณ สนามบินดอนเมือง เพื่อให้ความช่วยเหลืออีกทางหนึ่งด้วย และบริษัทโอเรียนท์ไทย จัดเครื่องบิน
โบอิ้ง 747 รับส่งผู้โดยสารเข้ากรุงเทพฯ
(2.5.2) จังหวัดกระบี่ บริษัท บางกอกแอร์เวย์ จัดเที่ยวบิน 2 เที่ยว
ในวันที่ 27 ธันวาคม 2547 รับผู้โดยสารเข้ากรุงเทพฯ เวลา 19.30 น. และเวลา 21.00 น. พร้อมจัดแพทย์
และพยาบาลดูแลผู้โดยสารระหว่างเดินทาง
(2.6) บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน)
(2.6.1) ประสานกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยให้ความช่วยเหลือ
ขนย้ายผู้โดยสารและผู้ป่วยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศที่ประสบภัย เพื่อเดินทางเข้ามารักษาอาการบาดเจ็บ
ที่กรุงเทพฯ รวมถึงผู้เสียชีวิต โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งนี้ ได้เริ่มขนย้ายผู้โดยสารและผู้ป่วยจากจังหวัด
ภูเก็ตและจังหวัดกระบี่ โดยเที่ยวบินของบริษัท การบินไทยฯ ทุกเที่ยวบิน เพื่อนำส่งไปยัง โรงพยาบาลภูมิพล-
อดุลยเดช โรงพยาบาลศูนย์ธรรมศาสตร์รังสิต โดยเริ่มตั้งแต่เที่ยวบินในช่วงบ่ายของวันที่ 27 ธันวาคม 2547
เป็นต้นไป
(2.6.2) จัดเที่ยวบิน ไป- กลับ ภาคใต้ ดังนี้
จังหวัดภูเก็ต เส้นทางกรุงเทพฯ — ภูเก็ต จำนวน 9
เที่ยวบินต่อวัน เส้นทางภูเก็ต — กรุงเทพ ฯ จำนวน 14 เที่ยวบินต่อวัน และจัดเที่ยวบินเสริมพิเศษจากภูเก็ต-
กรุงเทพฯ ดังนี้ วันที่ 27 ธันวาคม 2547 เพิ่มเครื่องบินโบอิ้ง 777 (360 ที่นั่ง) ออกจากภูเก็ต เวลา
20.30 น. และโบอิ้ง 747 (400 ที่นั่ง) ออกจากภูเก็ตเวลา 23.00 น. และ ตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2547
เป็นต้นไป เครื่องบินทั้งสองจะบินแบบ Charter Flight สลับกันจนกว่าเหตุการณ์จะปกติ
จังหวัดกระบี่ เส้นทางกรุงเทพฯ — กระบี่ จำนวน 4
เที่ยวบินต่อวัน เส้นทางกระบี่ - กรุงเทพฯ จำนวน 4 เที่ยวบินต่อวัน และจัดเที่ยวบินเสริมพิเศษจำนวน 2
เที่ยว
(2.6.3) ให้ผู้โดยสารและผู้ป่วยที่มีความประสงค์จะเดินทางเข้า
กรุงเทพฯ หรือส่งผู้เสียชีวิตกลับกรุงเทพฯ ติดต่อสำนักงานการบินไทยที่ท่าอากาศยานจังหวัดภูเก็ต (076)
205-335 (076) 327-194 และสำนักงานการบินไทยที่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต (076) 212-400
(076) 211-195 โดยบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้จัดตั้ง Help Desk Center ที่อาคารผู้โดยสาร
ภายในประเทศ ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ โทรศัพท์ 02-535-7070-3
(2.6.4) ให้บริการขนส่งหน่วยแพทย์ พยาบาล อุปกรณ์การแพทย์ไป
ยังภูเก็ต ด้วยเที่ยวบินที่ TG 201 ออกจากกรุงเทพฯ เวลา 07.00 น. ถึงภูเก็ตเวลา 08.20 น. และ
เที่ยวบินที่ TG 921 ออกจากรุงเทพฯ เวลา 08.00 น. ถึงภูเก็ตเวลา 09.20 น. เพื่อระดมความช่วยเหลือให้
แก่ ผู้ประสบภัย
(2.6.5) จัดส่งทีมเจ้าหน้าที่ประสานงาน (Family Assistance &
Support Team หรือ FAST ) เพื่อให้การช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัย รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือบรรเทาสาธารณภัย
ให้แก่ผู้โดยสารที่ตกค้าง ทั้งที่สนามบินภูเก็ต และสำนักงานการบินไทยที่อยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
(2.7) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
(2.7.1) ท่าอากาศยานภูเก็ต จัดตั้งศูนย์ประสานงานที่อาคารผู้โดยสาร
และอาคารอเนกประสงค์ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้โดยสาร และได้ยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน
(PSC : Passenger Service Charge) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร
(2.7.2) ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
ชื่อว่า “ศูนย์บริการช่วยเหลือผู้โดยสารจากวิบัติภัยภาคใต้” หรือ “BIA Center for Southern Crisis”
โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กรมศุลกากร บริษัท การบินไทย จำกัด
(มหาชน) หน่วยแพทย์ พยาบาล ฯลฯ ประจำอยู่ที่ศูนย์ฯ ตลอด 24 ชม. สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลข
0-2535-7070-3 และประสานกระทรวงการต่างประเทศ สถานทูตต่าง ๆ จัดให้มี ผู้แทนมาประจำที่สนามบิน
เพื่ออำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารสำคัญที่สูญหายแก่ผู้โดยสารต่างชาติ และหากมีผู้มีความจำเป็นต้องอยู่
ในประเทศไทยต่อไป บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) และ กระทรวงการท่องเที่ยวฯ ได้จัดที่พักให้อยู่ฟรี
กรณีบัตรโดยสารสูญหาย จะดำเนินการออกบัตรโดยสารให้ใหม่โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
3.6 กระทรวงพลังงาน
ในเบื้องต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ประสบภัยโดยเร่ง
ด่วน ดังนี้
(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 1) ส่งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 1 ลำ ไปช่วย
เหลือผู้บาดเจ็บ 2) บริจาคเงินช่วยเหลือ จำนวน 1 ล้านบาท 3) ระดมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ไปบริจาค
โลหิต 4) ส่งผู้ปฏิบัติงานเพื่อกอบกู้และช่วยเหลือผู้ประสบภัย 5) ส่งแพทย์เคลื่อนที่พร้อมเครื่องเวชภัณฑ์
จำนวน 2 คณะ ไปช่วยเหลือ ที่โรงพยาบาลในจังหวัดพังงาและกระบี่ 6) ส่งน้ำดื่ม จำนวน 46,000 ขวด
ไปช่วยเหลือที่จังหวัดภูเก็ต และ 7) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือที่โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่
(2) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับบริจาคเงินและสิ่งของจากพนักงานเพื่อ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัย และ บริจาคอาหารแห้ง จำนวน 400,000 ห่อ
(3) บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) จัดส่งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 1 ลำ เข้า
ร่วมในการช่วยเหลือและลำเลียงผู้ประสบภัย
(4) บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) บริจาคน้ำดื่ม จำนวน 30,000
ขวด ให้กับ 3 จังหวัดที่ประสบภัยพิบัติ คือ ภูเก็ต พังงา และกระบี่
(5) บริษัทเอกชนอื่น บริษัท ยูโนแคลไทยแลนด์ จำกัด ได้ส่งเฮลิคอปเตอร์ จำนวน
1 ลำ ไปปฏิบัติงานร่วมกับกองเรือภาคที่ 3 ในการค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากแผ่นดินไหว
3.7 กระทรวงพาณิชย์
(1) สั่งการให้สำนักงานประกันภัยจังหวัดต่าง ๆ ที่ประสบภัยพิบัติดังกล่าวจัดตั้งศูนย์ให้
ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบภัย โดยประสานงานกับสาขาของบริษัทประกันภัยทั้งการประกันชีวิตและการประกัน
วินาศภัยอย่างใกล้ชิด หากเรื่องใดจำเป็นต้องติดต่อประสานงานกับกรมการประกันภัย หรือรายงานการใดก็ให้รีบ
เร่งดำเนินการ พร้อมทั้งมีคำสั่งแต่งตั้งศูนย์รับแจ้งและช่วยเหลือผู้มีประกันภัย
(2) ประสานกับสมาคมประกันวินาศภัย และสมาคมประกันชีวิตไทยเพื่อขอความร่วม
มือแจ้งบริษัทสมาชิกร่วมกันให้ความช่วยเหลือ และพิจารณาจ่ายเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับ
ประโยชน์และผู้เสียหายเป็นกรณีพิเศษ
(3) เผยแพร่ข่าวเพื่อชี้แจงให้ประชาชนได้รับทราบถึงความคุ้มครองที่จะได้รับจากการ
ทำประกันภัยประเภทต่าง ๆ ดังนี้
(3.1) การประกันชีวิต ให้ความคุ้มครองการเสียชีวิต และทุพพลภาพ
ถาวรสิ้นเชิงจากการบาดเจ็บหรือการเจ็บป่วยเนื่องจากภัยธรรมชาติดังกล่าวและหากมีการซื้อเพิ่มอุบัติเหตุไว้ด้วยก็
ได้รับความคุ้มครองจากทั้งสองส่วน
(3.2) การประกันภัยอุบัติเหตุเอื้ออาทร คุ้มครองการเสียชีวิต การ
ทุพพลภาพถาวร ในวงเงิน 300,000 บาท
(3.3) การประกันภัยอุบัติเหตุ คุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ
ทุพพลภาพถาวร และค่ารักษาพยาบาล
(3.4) การประกันภัยอุบัติเหตุเดินทาง ปัจจุบันมีกฎหมายกำหนดให้ผู้
ประกอบธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ ต้องจัดทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองนักท่องเที่ยว คุ้มครองสำหรับการเสียชีวิต
สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ในจำนวนเงินไม่ต่ำกว่า 200,000 บาทต่อคนและค่ารักษาพยาบาล ไม่ต่ำกว่า
100,000 บาทต่อคน นอกจากนี้ ในกรณีที่นักท่องเที่ยวได้ทำประกันภัยอุบัติเหตุเหตุการเดินทางของตนเองไว้ จะ
ได้รับค่าทดแทนด้วยอีกเช่นกัน ตามความคุ้มครอง ที่ได้ซื้อไว้ เช่น การเสียชีวิต การสูญเสียอวัยวะ การ
ทุพพลภาพ ค่ารักษาพยาบาล รวมถึงความสูญเสียของทรัพย์สินส่วนตัวด้วย
(3.5) การประกันภัยผู้โดยสารเรือโดยสารรับจ้าง ซึ่งเป็นการประกัน
ภัยที่ผู้ประกอบการเดินเรือเป็นผู้จัดทำให้แก่ผู้โดยสาร โดยคุ้มครองการเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะและสายตา
ทุพพลภาพถาวร ในวงเงิน 50,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้งไม่เกิน 10,000 บาท
(3.6) การประกันภัยรถ หากเป็นการประกันภัยประเภท 1 จะให้
ความคุ้มครองการเสียชีวิต ความบาดเจ็บ ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งความเสียหายต่อตัวรถจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ด้วย ส่วนการประกันภัยประเภท 2 และประเภท 3 จะให้ความคุ้มครองความเสียหายต่อชีวิต ความบาดเจ็บ และ
ค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประสบภัยทุกคนที่อยู่ในรถยนต์จะได้รับความคุ้มครองสำหรับ
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ