ทำเนียบรัฐบาล--5 ต.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบมาตรการส่งเสริมให้ธุรกิจได้รับใบ
รับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระ
ตุ้นจูงใจผู้ประกอบการให้มีความสนใจและเห็นประโยชน์จากการทีได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน
ISO ดังนี้
เรื่อง มาตรการเสนองาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การกู้ยืม - กำหนดเป็นมาตรการให้ธุรกิจได้รับ ISO หรืออยู่ระหว่างการ - กระทรวงการคลัง
ขอรับ ISO ได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรกจากสถาบัน - ธนาคารแห่งประเทศไทย
การเงินในการให้กู้ยืมเงิน
2. การลดหย่อนภาษีเงินได้ - ให้มีการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในระยะเวลา 2 ปีแรก - กระทรวงการคลัง
นิติบุคคล ในอัตราที่กระทรวงการคลังจะเห็นสมควร
3. การลดหย่อน - กระทรวงอุตสาหกรรมจะลดหย่อนการตรวจสอบสำหรับการ - กระทรวงอุตสาหกรรม
การตรวจสอบ ต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม
และการรับรองตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมสำหรับธุรกิจที่ได้รับการรับรอง ISO
4. การกำหนดเป็นเงื่อนไข - กำหนดเป็นเงื่อนไขการให้การส่งเสริมการลงทุน โดยให้ผู้ได้ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
รับการส่งเสริมดำเนินการให้ได้รับ ISO ภายในเวลาที่กำหนด การลงทุน
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจยังรับทราบแผนการดำเนินงานตามมาตรการ
ดังกล่าวในระยะต่อไป เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการประกอบการของภาคอุตสาหกรรมไทยให้ทัดเทียมกับต่าง
ประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและปรับ
ปรุงกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอนให้มีคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ISO มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ
- เป็นโครงการช่วยเหลือภาคธุรกิจในการจัดระบบตามมาตรฐาน ISO โดยจัดกลุ่มธุรกิจตามสาขา
กลุ่มละประมาณ 10 ราย และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดจ้าง
ที่ปรึกษาไทยมาให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดระบบภายใต้การควบคุมดูแลของ สมอ. เป็นระยะเวลาประมาณ 10
เดือน
- โครงการนี้รัฐออกค่าใช้จ่ายร้อยละ 75 และเอกชนออกสมทบร้อยละ 25 (ประมาณ 35,000
บาท/ราย)
- จำนวนกลุ่มภายใต้โครงการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ได้แก่ ปีงบประมาณ 2541 มีจำ
นวน 30 กลุ่ม (300 ราย) และ ปีงบประมาณ 2542 มีจำนวน 29 กลุ่ม (290 ราย)
- ผลที่ได้จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถจัดระบบตามมาตรฐาน ISO ได้ถูกต้อง และสร้างที่ปรึกษาไทย
ที่มีคุณภาพเพื่อช่วยภาคธุรกิจได้ถูกต้อง
2. การจัดทำคู่มือ
- กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำคู่มือการจัดระบบตาม
ISO 9000 และ ISO 14000 เป็นภาษาไทย เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อม
- คู่มือดังกล่าวได้เริ่มจำหน่ายจ่ายแจกตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 เป็นต้นมา
- ผลที่ได้จะทำให้ภาคธุรกิจจัดระบบได้รวดเร็วและช่วยตนเองได้
3. โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
- เป็นการนำโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISO แล้วไปช่วยโรงงานที่อยู่ระหว่างการจัดระบบ
- ผลที่ได้จะช่วยให้สามารถจัดระบบได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
4. การฝึกอบรม
- ดำเนินการโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ผลที่ได้จะทำให้การฝึกอบรมปีละประมาณไม่ต่ำกว่า 500 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2541--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบมาตรการส่งเสริมให้ธุรกิจได้รับใบ
รับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และมอบหมายให้หน่วยงานที่
เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของมาตรการดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อเป็นการกระ
ตุ้นจูงใจผู้ประกอบการให้มีความสนใจและเห็นประโยชน์จากการทีได้รับการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน
ISO ดังนี้
เรื่อง มาตรการเสนองาน หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การกู้ยืม - กำหนดเป็นมาตรการให้ธุรกิจได้รับ ISO หรืออยู่ระหว่างการ - กระทรวงการคลัง
ขอรับ ISO ได้รับการพิจารณาเป็นลำดับแรกจากสถาบัน - ธนาคารแห่งประเทศไทย
การเงินในการให้กู้ยืมเงิน
2. การลดหย่อนภาษีเงินได้ - ให้มีการลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในระยะเวลา 2 ปีแรก - กระทรวงการคลัง
นิติบุคคล ในอัตราที่กระทรวงการคลังจะเห็นสมควร
3. การลดหย่อน - กระทรวงอุตสาหกรรมจะลดหย่อนการตรวจสอบสำหรับการ - กระทรวงอุตสาหกรรม
การตรวจสอบ ต่ออายุใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติโรงงานอุตสาหกรรม
และการรับรองตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์
อุตสาหกรรมสำหรับธุรกิจที่ได้รับการรับรอง ISO
4. การกำหนดเป็นเงื่อนไข - กำหนดเป็นเงื่อนไขการให้การส่งเสริมการลงทุน โดยให้ผู้ได้ - สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม
รับการส่งเสริมดำเนินการให้ได้รับ ISO ภายในเวลาที่กำหนด การลงทุน
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจยังรับทราบแผนการดำเนินงานตามมาตรการ
ดังกล่าวในระยะต่อไป เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการประกอบการของภาคอุตสาหกรรมไทยให้ทัดเทียมกับต่าง
ประเทศ โดยสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยพัฒนาและปรับ
ปรุงกระบวนการผลิตในแต่ละขั้นตอนให้มีคุณภาพตามระบบมาตรฐาน ISO มาอย่างต่อเนื่อง ดังนี้
1. การฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแนะนำ
- เป็นโครงการช่วยเหลือภาคธุรกิจในการจัดระบบตามมาตรฐาน ISO โดยจัดกลุ่มธุรกิจตามสาขา
กลุ่มละประมาณ 10 ราย และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) จัดจ้าง
ที่ปรึกษาไทยมาให้คำปรึกษาแนะนำในการจัดระบบภายใต้การควบคุมดูแลของ สมอ. เป็นระยะเวลาประมาณ 10
เดือน
- โครงการนี้รัฐออกค่าใช้จ่ายร้อยละ 75 และเอกชนออกสมทบร้อยละ 25 (ประมาณ 35,000
บาท/ราย)
- จำนวนกลุ่มภายใต้โครงการตามงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ได้แก่ ปีงบประมาณ 2541 มีจำ
นวน 30 กลุ่ม (300 ราย) และ ปีงบประมาณ 2542 มีจำนวน 29 กลุ่ม (290 ราย)
- ผลที่ได้จะทำให้ภาคธุรกิจสามารถจัดระบบตามมาตรฐาน ISO ได้ถูกต้อง และสร้างที่ปรึกษาไทย
ที่มีคุณภาพเพื่อช่วยภาคธุรกิจได้ถูกต้อง
2. การจัดทำคู่มือ
- กระทรวงอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำคู่มือการจัดระบบตาม
ISO 9000 และ ISO 14000 เป็นภาษาไทย เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมขนาดกลาง
และขนาดย่อม
- คู่มือดังกล่าวได้เริ่มจำหน่ายจ่ายแจกตั้งแต่เดือนกันยายน 2541 เป็นต้นมา
- ผลที่ได้จะทำให้ภาคธุรกิจจัดระบบได้รวดเร็วและช่วยตนเองได้
3. โครงการเพื่อนช่วยเพื่อน
- เป็นการนำโรงงานที่ได้รับการรับรอง ISO แล้วไปช่วยโรงงานที่อยู่ระหว่างการจัดระบบ
- ผลที่ได้จะช่วยให้สามารถจัดระบบได้ถูกต้องและรวดเร็วขึ้น
4. การฝึกอบรม
- ดำเนินการโดยสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- ผลที่ได้จะทำให้การฝึกอบรมปีละประมาณไม่ต่ำกว่า 500 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ตุลาคม 2541--