ทำเนียบรัฐบาล--29 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยตามร่างที่ได้ลงนามย่อไว้กับฝ่ายกัมพูชาในช่วงการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของกัมพูชา ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 1 เมษายน 2538 ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ฉบับลงนามย่อสรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายจะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในดินแดนของตน โดยการลงทุนดังกล่าวจะได้รับผลปฏิบัติที่เป็นธรรม โดยไม่น้อยไปกว่าที่ได้ให้แก่การลงทุนของผู้ลงทุนของรัฐที่สามใด ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางประการตามความตกลงฯ
2. ผู้ลงทุนของภาคีผู้ทำสัญญาจะได้รับหลักประกันว่า การลงทุนของตนจะได้ผลปฏิบัติที่เป็นธรรม ยุติธรรม และไม่เป็นการเลือกประติบัติในกรณีที่การลงทุนของตนถูกมาตรการเวนคืน หรือโอนกิจการเป็นของรัฐ หรือโดยมาตรการอื่น ๆ ที่มีผลเทียบเท่าผู้ลงทุนที่ถูกเวนคืนจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเพียงพอตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และในกรณีที่การลงทุนของตนต้องสูญเสียไปเนื่องมาจากสงคราม การปฏิวัติ การกบฏ ฯลฯ ก็จะได้รับผลปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คืน หรือการระงับแก้ไขอื่น ๆ เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ภาคีผู้ทำสัญญาจะให้หลักประกันแก่ผู้ลงทุนให้สามารถโอนการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนได้โดยเสรีในเงินตราสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี
3. การะงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างภาคีผู้ทำสัญญากับผู้ลงทุน โดยการปรึกษาหารือกันฉันมิตร หากไม่บังเกิดผลภายใน 3 เดือน ผู้ลงทุนสามารถเลือกยื่นเรื่องการระงับข้อพิพาทไปยังศาลยุติธรรมของประเทศภาคีผู้ทำสัญญาหรือคณะอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศตามที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน หรืออาจเสนอข้อพิพาทต่อศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทการลงทุน ในกรณีที่ภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น ค.ศ. 1965
4. การระงับข้อพิพาทระหว่างภาคีผู้ทำสัญญาเกี่ยวกับการตีความหรือการบังคับใช้ความตกลงฯโดยการปรึกษาหารือหรือการเจรจากัน ถ้าไม่สามารถระงับลงได้ภายใน 6 เดือน ให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยคณะอนุญาโตตุลาการ
5. ความตกลงฯ จะเริ่มมีผลใช้บังคับในสามสิบวันหลังจากวันที่ดำเนินการทางกฎหมายให้ความตกลงฯ นี้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับในระยะแรกเริ่มเป็นเวลา 10 ปี ภายหลังจากนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อไปอีกจนกว่าภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลา 12 เดือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนใดที่ได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่บอกเลิกความตกลงฯ บทบัญญัติของความตกลงฯ จะยังคงมีผลต่อการลงทุนนั้นต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันสิ้นสุดเช่นว่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ในนามรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยตามร่างที่ได้ลงนามย่อไว้กับฝ่ายกัมพูชาในช่วงการเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของสมเด็จฮุน เซ็น นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของกัมพูชา ระหว่างวันที่ 24 มีนาคม - 1 เมษายน 2538 ทั้งนี้ สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ ฉบับลงนามย่อสรุปได้ ดังนี้
1. ภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายจะสนับสนุนและอำนวยความสะดวกแก่การลงทุนของผู้ลงทุนของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในดินแดนของตน โดยการลงทุนดังกล่าวจะได้รับผลปฏิบัติที่เป็นธรรม โดยไม่น้อยไปกว่าที่ได้ให้แก่การลงทุนของผู้ลงทุนของรัฐที่สามใด ๆ โดยมีข้อยกเว้นบางประการตามความตกลงฯ
2. ผู้ลงทุนของภาคีผู้ทำสัญญาจะได้รับหลักประกันว่า การลงทุนของตนจะได้ผลปฏิบัติที่เป็นธรรม ยุติธรรม และไม่เป็นการเลือกประติบัติในกรณีที่การลงทุนของตนถูกมาตรการเวนคืน หรือโอนกิจการเป็นของรัฐ หรือโดยมาตรการอื่น ๆ ที่มีผลเทียบเท่าผู้ลงทุนที่ถูกเวนคืนจะได้รับค่าตอบแทนที่เหมาะสมเพียงพอตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ และในกรณีที่การลงทุนของตนต้องสูญเสียไปเนื่องมาจากสงคราม การปฏิวัติ การกบฏ ฯลฯ ก็จะได้รับผลปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้คืน หรือการระงับแก้ไขอื่น ๆ เช่นเดียวกัน นอกจากนั้น ภาคีผู้ทำสัญญาจะให้หลักประกันแก่ผู้ลงทุนให้สามารถโอนการลงทุนและผลตอบแทนจากการลงทุนได้โดยเสรีในเงินตราสกุลที่สามารถใช้ได้โดยเสรี
3. การะงับข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนระหว่างภาคีผู้ทำสัญญากับผู้ลงทุน โดยการปรึกษาหารือกันฉันมิตร หากไม่บังเกิดผลภายใน 3 เดือน ผู้ลงทุนสามารถเลือกยื่นเรื่องการระงับข้อพิพาทไปยังศาลยุติธรรมของประเทศภาคีผู้ทำสัญญาหรือคณะอนุญาโตตุลาการเฉพาะกิจระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นภายใต้ข้อบังคับอนุญาโตตุลาการของคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายการค้าระหว่างประเทศตามที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายจะตกลงกัน หรืออาจเสนอข้อพิพาทต่อศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อระงับข้อพิพาทการลงทุน ในกรณีที่ภาคีผู้ทำสัญญาทั้งสองฝ่ายเป็นรัฐภาคีของอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับการลงทุนระหว่างรัฐและคนชาติของรัฐอื่น ค.ศ. 1965
4. การระงับข้อพิพาทระหว่างภาคีผู้ทำสัญญาเกี่ยวกับการตีความหรือการบังคับใช้ความตกลงฯโดยการปรึกษาหารือหรือการเจรจากัน ถ้าไม่สามารถระงับลงได้ภายใน 6 เดือน ให้ระงับข้อพิพาทนั้นโดยคณะอนุญาโตตุลาการ
5. ความตกลงฯ จะเริ่มมีผลใช้บังคับในสามสิบวันหลังจากวันที่ดำเนินการทางกฎหมายให้ความตกลงฯ นี้เริ่มมีผลใช้บังคับแล้ว โดยจะมีผลใช้บังคับในระยะแรกเริ่มเป็นเวลา 10 ปี ภายหลังจากนั้นจะมีผลใช้บังคับต่อไปอีกจนกว่าภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะบอกเลิกเป็นลายลักษณ์อักษรไปยังภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งล่วงหน้าเป็นเวลา 12 เดือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการลงทุนใดที่ได้รับความเห็นชอบก่อนวันที่บอกเลิกความตกลงฯ บทบัญญัติของความตกลงฯ จะยังคงมีผลต่อการลงทุนนั้นต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 10 ปี นับจากวันสิ้นสุดเช่นว่านั้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 28 มีนาคม 2538--