ทำเนียบรัฐบาล--17 พ.ย.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการแผนการจัดเตรียมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) รายงานว่า คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาจัดทำแนวทางและแผนหรือมาตรการจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งเสนอแนวนโยบายและแผนหรือมาตรการ ตลอดจนหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย และ คจร. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2541 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ได้มีมติรับทราบผลการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ความต้องการบุคลากรด้านการจราจรและขนส่ง เพื่อรองรับระบบขนส่งของโครงการต่าง ๆ ในภาพรวมเบื้องต้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2563 มีจำนวนประมาณ 14,500 คน โดยได้ประมาณการทุกระยะ 5 ปี และใช้เกณฑ์การพิจารณาจำนวนบุคลากร 6.1 คนต่อ 1 ตู้ ของระบบขนส่งมวลชนสายหลัก และ 6.8 คนต่อ 1 ตู้ ของระบบขนส่งมวลชนสายรอง
2. ความต้องการบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนขององค์การรถไฟฟฟ้ามหานครและกรุงเทพมหานคร ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2565 รวม 7 โครงการ รวมทั้งสิ้น 6,036 คน
3. เห็นชอบมาตรการแผนการจัดเตรียมบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ดังนี้
3.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลความต้องการบุคลากร ตามข้อ 1 และ 2 ไปวางแผนพิจารณาผลิตบุคลากรในแต่ละปี แต่ละประเภท โดยให้มีการวางแผนการผลิตบุคลากรด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริงตามช่วงระยะที่กำหนด
3.2 ให้สถาบันการศึกษาพิจารณาเปิดสาขาใหม่ที่จำเป็นโดยหารือร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดหลักสูตร และหากสถาบันใดไม่สามารถผลิตเองได้ อาจจะให้มหาวิทยาลัยสอนในขั้นพื้นฐาน และส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับสูงหรืออาจจะจ้างอาจารย์จากต่างประเทศมาทำการสอนต่อไป ทั้งนี้ ควรให้ทุกสถาบันการศึกษามีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยไม่จำกัดเฉพาะสถาบันการศึกษาใดสถาบันการศึกษาหนึ่ง
3.3 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดการฝึกอบรมบุคลากรดังกล่าวเพิ่มเติมในระยะสั้น หรืออาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยจูงใจในเรื่องการลดหย่อนภาษีของรัฐ
3.4 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการประสานงานกับผู้รับสัมปทานในการที่จะกำหนดให้มีการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ประสงค์จะทำงานให้กับโครงการ รวมทั้งให้มีการนำนักศึกษามาฝึกการปฏิบัติงานจริงในโครงการ และ/หรือให้ผู้รับสัมปทานจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติงานและมีความชำนาญเฉพาะด้านต่อไป
3.5 กำหนดให้มีนโยบายการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน โดยให้เจ้าของโครงการกำหนดขอบข่ายของงานในการจ้างที่ปรึกษา หรือบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้รับสัมปทานให้มีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน
ทั้งนี้ สจร. ได้เวียนแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการข้างต้นแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--
คณะรัฐมนตรีรับทราบมาตรการแผนการจัดเตรียมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ทั้งนี้ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
สำนักงานคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (สจร.) รายงานว่า คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.)ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนขึ้น เพื่อทำหน้าที่พิจารณาจัดทำแนวทางและแผนหรือมาตรการจัดเตรียมบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งเสนอแนวนโยบายและแผนหรือมาตรการ ตลอดจนหลักเกณฑ์เงื่อนไขและวิธีถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมาย และ คจร. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2541 เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2541 ได้มีมติรับทราบผลการประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ดังกล่าว ซึ่งสรุปได้ ดังนี้
1. ความต้องการบุคลากรด้านการจราจรและขนส่ง เพื่อรองรับระบบขนส่งของโครงการต่าง ๆ ในภาพรวมเบื้องต้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 - 2563 มีจำนวนประมาณ 14,500 คน โดยได้ประมาณการทุกระยะ 5 ปี และใช้เกณฑ์การพิจารณาจำนวนบุคลากร 6.1 คนต่อ 1 ตู้ ของระบบขนส่งมวลชนสายหลัก และ 6.8 คนต่อ 1 ตู้ ของระบบขนส่งมวลชนสายรอง
2. ความต้องการบุคลากรเพื่อรองรับระบบขนส่งมวลชนขององค์การรถไฟฟฟ้ามหานครและกรุงเทพมหานคร ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2565 รวม 7 โครงการ รวมทั้งสิ้น 6,036 คน
3. เห็นชอบมาตรการแผนการจัดเตรียมบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน ดังนี้
3.1 ให้กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลความต้องการบุคลากร ตามข้อ 1 และ 2 ไปวางแผนพิจารณาผลิตบุคลากรในแต่ละปี แต่ละประเภท โดยให้มีการวางแผนการผลิตบุคลากรด้านต่าง ๆ อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับความต้องการอย่างแท้จริงตามช่วงระยะที่กำหนด
3.2 ให้สถาบันการศึกษาพิจารณาเปิดสาขาใหม่ที่จำเป็นโดยหารือร่วมกับทบวงมหาวิทยาลัย และกระทรวงศึกษาธิการเพื่อกำหนดหลักสูตร และหากสถาบันใดไม่สามารถผลิตเองได้ อาจจะให้มหาวิทยาลัยสอนในขั้นพื้นฐาน และส่งไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับสูงหรืออาจจะจ้างอาจารย์จากต่างประเทศมาทำการสอนต่อไป ทั้งนี้ ควรให้ทุกสถาบันการศึกษามีสิทธิเท่าเทียมกันในการดำเนินการเรื่องดังกล่าว โดยไม่จำกัดเฉพาะสถาบันการศึกษาใดสถาบันการศึกษาหนึ่ง
3.3 ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม จัดการฝึกอบรมบุคลากรดังกล่าวเพิ่มเติมในระยะสั้น หรืออาจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยจูงใจในเรื่องการลดหย่อนภาษีของรัฐ
3.4 ให้หน่วยงานเจ้าของโครงการประสานงานกับผู้รับสัมปทานในการที่จะกำหนดให้มีการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่ประสงค์จะทำงานให้กับโครงการ รวมทั้งให้มีการนำนักศึกษามาฝึกการปฏิบัติงานจริงในโครงการ และ/หรือให้ผู้รับสัมปทานจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ให้แก่สถาบันการศึกษา เพื่อให้นักศึกษามีการฝึกปฏิบัติงานและมีความชำนาญเฉพาะด้านต่อไป
3.5 กำหนดให้มีนโยบายการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งมวลชน โดยให้เจ้าของโครงการกำหนดขอบข่ายของงานในการจ้างที่ปรึกษา หรือบริษัทผู้รับเหมาก่อสร้างหรือผู้รับสัมปทานให้มีแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างชัดเจน และเป็นรูปธรรมในแต่ละขั้นตอนการดำเนินงาน
ทั้งนี้ สจร. ได้เวียนแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามมาตรการข้างต้นแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 พฤศจิกายน 2541--