ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม

ข่าวการเมือง Tuesday October 14, 2014 18:12 —มติคณะรัฐมนตรี

เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การบังคับโทษปรับ การรอการกำหนดโทษและรอการลงโทษ และแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับโทษของผู้ใช้และผู้ถูกใช้) และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การโอนคดีที่มีผลกระทบต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อม การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวม หรือประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นไปยังศาลแพ่ง รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานศาลยุติธรรม (ศย.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาก่อนเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติต่อไป

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่มีการแก้ไข ประมวลกฎหมายอาญา ร่างพระราชบัญญัติที่ ศย. เสนอ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

กำหนดวิธีการใช้ค่าปรับ ยึดทรัพย์สินเพื่อใช้ค่าปรับ ยึดหรืออายัดเพื่อใช้ค่าปรับโดยให้

ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อยึด

หรืออายัดทรัพย์สินของผู้นั้นใช้ค่าปรับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

แก้ไขปรับปรุงอัตราเงินในการ อัตรา 200 บาทต่อหนึ่งวัน อัตรา 400 บาทต่อหนึ่งวัน

กักขังแทนค่าปรับ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

การรอการกำหนดโทษหรือการ กำหนดให้ศาลอาจรอการกำหนด กำหนดให้ศาลอาจรอกำหนดโทษหรือ รอการลงโทษ โทษหรือรอการลงโทษสำหรับ รอการลงโทษสำหรับผู้กระทำความผิด

ผู้กระทำความผิดซึ่งจะถูกลงโทษ ซึ่งจะถูกลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี

จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือกักขัง หรือกักขังหรือปรับและเพิ่มเติม แทนค่าปรับ ในการคุมความประพฤติ

----------------------------------------------------------------------------------------------------

การกำหนดโทษผู้ใช้ให้เด็กหรือ ไม่มี กำหนดให้ผู้ใช้เด็กหรือเยาวชนอายุ

ไม่เกินสิบแปดปี ผู้พิการ หรือป่วยเจ็บ

ลูกจ้างหรือผู้ที่อยู่ใต้บังคับบัญชา ผู้ที่มี

ฐานะยากจนหรือผู้ต้องพึ่งพาผู้ใช้ไม่ว่า

ทางใดต้องรับโทษเพิ่มขึ้นอีกกึ่งหนึ่ง

ของโทษที่ศาลกำหนด

----------------------------------------------------------------------------------------------------

โทษของผู้ถูกใช้หรือผู้กระทำ ไม่มี กำหนดให้ศาลมีอำนาจลงโทษผู้ถูกใช้ ตามคำโฆษณา หรือประกาศแก่ หรือผู้กระทำตามคำโฆษณาหรือ บุคคลทั่วไปให้กระทำความผิด ประกาศแก่บุคคลทั่วไปให้กระทำ

ความผิดที่ได้เปิดเผยข้อมูลสำคัญจน

สามารถดำเนินคดีกับผู้ใช้หรือผู้โฆษณา

หรือประกาศดังกล่าว น้อยกว่าอัตรา

โทษขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------

2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับ ..) พ.ศ. ....

----------------------------------------------------------------------------------------------------

ประเด็นที่มีการแก้ไข ประมวลกฎหมาย ร่างพระราชบัญญัติที่ ศย. เสนอ

แพ่ง

----------------------------------------------------------------------------------------------------

การโอนคดีที่มี ไม่มี กำหนดให้ประธานศาลอุทธรณ์มีอำนาจโอนคดีที่อาจกระทบ ผลกระทบต่อ ต่อการอนุรักษ์หรือการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ประโยชน์สาธารณะที่ สิ่งแวดล้อมการคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนรวมหรือ สำคัญ ประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นที่สำคัญจากศาลชั้นต้นไปยัง

ศาลแพ่ง และให้ศาลแพ่งซึ่งรับคดีไว้พิจารณาพิพากษามี

อำนาจดำเนินกระบวนพิจารณานอกเขตศาลได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------

การนำระบบ ไม่มี 1. กำหนดให้การจัดทำสารบบความสารบบคำพิพากษา อิเล็กทรอนิกส์มาใช้ และการเก็บรักษาข้อมูลในสำนวนคดีอาจทำให้รูปข้อมูล

อิเล็กทรอนิกส์

2. กำหนดให้การยื่นและส่งคำคู่ความและเอกสาร

ระหว่างศาลกับคู่ความและระหว่างคู่ความด้วยกันสามารถ

ดำเนินการโดยทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศอื่นได้

----------------------------------------------------------------------------------------------------

วิธีการส่งคำคู่ความ ไม่มี 1. กำหนดให้การส่งคำคู่ความหรือเอกสารสามารถ หมายเรียกและคำ กระทำโดยทางไปรษนีย์ด่วนพิเศษ ฟ้อง 2. กำหนดให้การส่งหมายเรียกและคำฟ้องตั้งแต่ต้นคดีไป

ยังจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่อยู่นอกราชอาณาจักร

สามารถกระทำโดยทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษระหว่าง

ประเทศหรือผู้ประกอบกิจการรับส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่าง

ประเทศได้ด้วย

3. กำหนดให้ในกรณีที่มีการส่งหมายเรียกและคำฟ้อง

ตั้งแต่ต้นคดีไปยังจำเลยหรือบุคคลภายนอกที่อยู่นอก

ราชอาณาจักรแล้วไม่อาจทราบผลการส่งภายในเวลาที่

ศาลกำหนดศาลอาจส่งโดยวิธีการปิดประกาศไว้ที่ศาลแทน

----------------------------------------------------------------------------------------------------

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 ตุลาคม 2557--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ