ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.พ.--บิสนิวส์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนกลุ่มที่ 4 (กลุ่มปัญหาชุมชนแออัด)ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเรืองวิทย์ ลิกค์) ประธานการพิจารณาเสนอ ดังนี้
1.1 ปัญหาชุมชนแออัดคลองเตย ที่ประชุมมีมติ
1) ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาพิจารณาโครงการพัฒนาคลองเตย ระยะ 3 ประกอบด้วยการเคหะแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย นักวิชาการ ผู้แทนชุมชน จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1) คุณเปล่ง ศรีดาน้อย 2) คุณประเวศ คงสมบูรณ์ 3) คุณประทีป อึ้งทรงธรรม 4) คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ 5) คุณสันติ แซ่โง้ว 6) คุณทองสุข รักเผ่า 7) คุณอดิธร ศรีประเสริฐ 8) ผู้แทนชุมชนจากการเสนอของการท่าเรือแห่งประเทศไทย 3 คน
2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปพิจารณาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ ถึงการชะลอโครงการและจะแจ้งผลให้คณะกรรมการตามข้อ1) ทราบภายใน 2 สัปดาห์
3) ชาวบ้านในส่วนที่ตกค้างจากไฟไหม้ชุมชนร่มเกล้า 68 หลัง ให้การเคหะแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และผู้แทนชาวบ้าน หารือเพื่อแก้ปัญหา 68 ราย ให้เรียบร้อยพร้อมกัน
4) ชุมชนปีนัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบให้การเคหะแห่งชาติ ทำหนังสือขอเช่าที่ดินบริเวณชุมชนปีนังจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้ชาวชุมชนเช่าอยู่อาศัยต่อไป
5) สนามกีฬา ให้การเคหะแห่งชาติทำหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณปรับปรุงสนามกีฬา
6) การยกเลิกระเบียบคำสั่งว่าด้วยการจ่ายเงินกรณีไฟไหม้กรมประชาสงเคราะห์อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงการคลัง และประธานขอให้กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงรายละเอียด และรับจะประสานกับกระทรวงการคลังให้ต่อไป
7) ชุมชนคลองเตยใน การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปักผังแบ่งแปลงให้กับชาวชุมชนไว้จำนวน 103 แปลง พร้อมทั้งได้กันพื้นที่เพิ่มเติมให้ชุมชนสำหรับเป็นที่ทำการชุมชน จำนวนพื้นที่ประมาณ 30 ตรม. แล้ว และให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยส่งมอบพื้นที่ให้การเคหะแห่งชาติภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์
8) ชุมชนล็อค 1 - 3 มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จ่ายค่าอาหาร และค่าเครื่องครัว เงินทุนประกอบอาชีพ ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างกับชุมชนล็อค 1 - 3 และชุมชนพัฒนาใหม่
1.2 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
ชาวบ้านที่ยอมรับหลักเกณฑ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการต่อไป สำหรับชาวบ้านในส่วนที่ไม่ยอมรับข้อเสนอของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันข้อเสนอตามที่ได้เสนอมา คือ เสนอตามขนาดพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 ขนาดพื้นที่ ดังนี้ บ้านขนาด 5 - 65 ตรม. ราคา 35,000 บาท บ้านขนาด 66 - 95 ตรม. ราคา 40,000 บาท บ้านขนาด 96 - 110 ตรม. ราคา 50,000 บาท และ มท. 2 นัดให้มีการเจรจานอกรอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และโฮปเวลล์ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ตามข้อเสนอของชาวบ้านอีกครั้งหนึ่ง
1.3 ชุมชนแออัดเมืองเชียงใหม่
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดระดับท้องถิ่น ชาวบ้านเสนอให้มีตัวแทนจากศูนย์ประสานงานเมืองเชียงใหม่ 2 คน ชุมชนที่มีปัญหา 2 คน องค์กรเอกชน 1 คน และนักวิชาการ 1 คน ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขอให้ชาวบ้านได้ส่งรายชื่อดังกล่าวให้ทางจังหวัดดำเนินการต่อไป
1) ชุมชนสันติธรรมทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เจรจากับกรรมการมัสยิดแล้ว ได้ชะลอการรื้อย้ายให้แล้ว และการเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินจำนวน 8 ไร่ ตามที่ชาวบ้านนำเสนอ และจะจัดทำโครงการให้ชาวบ้านได้เข้าอยู่อาศัยภายใน 1 ปี
2) ชุมชนเซ็นทรัล กลุ่มพื้นราบมีความต้องการจะย้ายไปอยู่กับชุมชนสันติธรรมในที่ดิน 8 ไร่ที่การเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อ รวมทั้งให้ชาวบ้านติดต่อเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเพื่อการเคหะแห่งชาติจะได้จัดซื้อพร้อมกัน
3) ชุมชนป่าห้า ให้คณะกรรมการฯ ซึ่งได้ตั้งแล้ว พิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
1.4 ชุมชนที่มีปัญหาเรื่องทะเบียนบ้าน
1) กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการแจ้งให้ทุกเขตได้ดำเนินการออกทะเบียนบ้านให้ชาวบ้านแล้วสำหรับชุมชนที่ไม่สามารถออกทะเบียนบ้านได้ให้ทุกเขตสรุปเสนอกรุงเทพมหานครภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 และประธานให้กรุงเทพมหานครรายงานผลให้ทราบด้วย รวมทั้งประธานจะมีหนังสือเร่งรัดไปที่กรุงเทพมหานครด้วย
2) กรุงเทพมหานครจะมีการประชุมระดับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกทะเบียนบ้านในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 เวลา 13.00 น. โดยมีรองปลัดกรุงเทพมหานคร (ร.ต.ต. เกรียงศักดิ์ฯ) เป็นประธาน จึงขอให้ชาวบ้านส่งตัวแทนชุมชนจากเขตพระโขนง เขตประเวศ และเขตคลองเตย เข้าร่วมประชุมด้วย
1.5 ชุมชนคลองสวน - อยู่ดี
1) การเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินบริเวณประชาอุทิศ 88 จำนวน 15 ไร่ และประธานฯ ได้ขอให้การเคหะแห่งชาติ และชาวบ้านได้ไปเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของที่ดินอีกครั้งหนึ่ง
2) ตัวแทนชาวบ้านได้ให้ข้อสังเกตในการจัดทำโครงการที่มีขนาดเล็ก การดำเนินการของการเคหะแห่งชาติจะมีต้นทุนสูงกว่าการดำเนินการของกลุ่มสหกรณ์ เนื่องจากระบบภาษีที่ทางราชการต้องจ่ายเต็มจำนวน ค่าการจัดการ และอัตราดอกเบี้ย
1.6 ชุมชนใต้สะพาน
1) มอบให้การเคหะแห่งชาติจัดซื้อที่ดินหลังโครงการอ่อนนุช 40 ไร่ ให้ชุมชนใต้สะพานโซน 2 และโซน 3 โดยจะนำเข้าเสนอเข้าสู่การพิจารณาจัดซื้อที่ดินพร้อมที่ดินโซน 1 และโซน 4
2) สำหรับเรื่องน้ำประปาที่ชาวชุมชนใต้สะพานขอให้มีบริการน้ำประปา ทางการประปานครหลวงขอให้ชุมชนรวมกลุ่มขอมิเตอร์รวม โดยให้ชาวบ้านส่งตัวแทนชุมชนละ 1 คน พร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปยื่นขอ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่เกิน 10,000 บาท และจะติดตั้งจำนวน 11 สะพาน ผู้แทนชุมชนรับทราบ และยอมรับภาระค่าใช้จ่ายสมทบอื่น ๆ
3) มท. 2 รับจะแจ้งกรมทางหลวง กรมโยธาธิการ ให้ชะลอการรื้อย้ายในสะพานโกวบ๊อ สะพานใหม่และสะพานเคแอลเอ็ม (KLM)
1.7 ชุมชนสี่พระยา
1) ให้กรมตำรวจชะลอการรื้อย้าย
2) ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาการจัดหาที่อยู่ใหม่ โดยประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร(รองผู้ว่าฯ ประภาภัทร นิยม) เป็นประธาน ตัวแทนชาวบ้านสี่พระยา 3 คน ตัวแทนศูนย์รวมพัฒนาชุมชน 1 คน ตัวแทนชุมชนสหกรณ์เคหะสถาน 1 คน ตัวแทนการเคหะแห่งชาติ 1 คน ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน 1 คน ตัวแทนกรมธนารักษ์3 คน ตัวแทนกรมตำรวจ 1 คน ตัวแทนกรุงเทพมหานคร 1 คน ตัวแทนสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง 1 คน นักวิชาการ1 คน นักกฎหมาย 1 คน และมท. 2 จะประสานกับรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์อีกครั้ง เพื่อขอใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์
1.8 ชุมชนคลองลำไผ่
1) ให้กรุงเทพมหานครชะลอการรื้อย้าย
2) ให้ตั้งกรรมการเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ และแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย ตัวแทน กรุงเทพ-มหานคร 4 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานเขตมีนบุรี ผู้แทนสำนักพัฒนาชุมชน ผู้แทนกองกฎหมายและคดี และผู้แทนกองรังวัดที่ดินและที่สาธารณะ ตัวแทนการเคหะแห่งชาติ 1 คน ตัวแทนกรมชลประทาน 1 คน ตัวแทนกรมที่ดิน 1 คน นักวิชาการ 2 คน นักกฎหมาย 1 คน ตัวแทน พชม. 1 คน องค์กรพัฒนาเอกชน 1 คน องค์กรชาวบ้าน 1 คน ผู้แทนชาวชุมชน 3 คน
2.คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจากลุามปัญหาป่าไม้และที่ดินจำนวน4 เรื่องตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประวัฒน์ อุตตะโมต) ประธานการพิจารณาปัญหาของกลุ่มที่ 1 ปัญหาป่าไม้และที่ดิน เสนอ ดังนี้
2.1 กรณีสวนป่ายูคาลิปตัส และหมู่บ้านป่าไม้ ซำจำปา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่นผลการเจรจา
1) ให้จังหวัดขอนแก่น และสำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น เร่งรัดตรวจสอบพื้นที่จัดหมู่บ้านไม้ โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ป่าดงลาน จังหวัดขอนแก่น ให้แล้วเสร็จ เพื่อกรมป่าไม้มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตกรกรรม ภายใน 6 เดือน
2) กรณีราษฏร 8 ราย ที่ถูกสวนป่ายูคาลิปตัสทับที่ทำกิน (บ้านหนองหญ้าปล้อง 6 ราย บ้านนาอุดม 2 ราย) ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการสอบสวนสิทธิ และจัดหาที่ทำกิน หรือกรมป่าไม้เสนอคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายค่าชดเชยให้ราษฎร
2.2 กรณีสวนป่าดงเค็ง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินงบกลาง ให้ราษฎรฟื้นฟูสภาพสวนป่าดงเค็ง อัตราไร่ละ 3,000 บาท เนิ้อที่ 2,857 ไร่ (ตามที่ราษฎรแจ้ง) รวมเป็นเงิน 8,571,000 บาท และ ให้กรมป่าไม้รับผิดชอบดูแลการดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพสวนป่าให้เป็นป่าธรรมชาติ และจัดการเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้กับราษฎรอย่างมีประสิทธิผล รวมถึงทำความตกลงกับราษฎรในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพสวนป่า โดยให้สิทธิคณะกรรมการชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2.3 กรณีสวนป่าไม้บ้านนาอ่าง ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบดำเนินการตามความเห็นของจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือจังหวัดสกลนคร ด่วนที่สุด ที่ สน 0009/19700 ลงวันที่ 5 กันยายน 2538
2) ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตัวแทนสภาตำบล และตัวแทนราษฎรที่เดือดร้อน (ในสัดส่วนที่เท่ากัน) ออกไปตราวจสอบจัดทำแผนที่แสดงบริเวณพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ให้ชัดเจน แล้วรายงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งมอบให้ ส.ป.ก.นำไปปฏิรูปที่ดิน ต่อไป
3) การดำเนินการตามข้อ 2. พื้นที่สวนป่าส่วนใด ที่ยังคงมีสภาพสวนป่า ให้จัดทำแผนที่แสดงขอบเขตให้ชัดเจนด้วย และให้จังหวัดสกลนครป้องกันดูแลรักษา ไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินอีกโดยเด็ดขาด
4) ให้ความเห็นชอบยกเลิกสวนป่า ในพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ตามข้อ 2. และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่กินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้น ส.ป.ก.ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการปลูกสร้างสวนป่า และค่าบำรุงรักษาสวนป่าให้กรมป่าไม้
2.4 กรณีสวนป่ายูคาลิปตัส บ้านสร้างค้อ กิ่งอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบดำเนินการตามความเห็นของจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือจังหวัดสกลนคร ด่วนที่สุด ที่ สน 0009/22029 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2538
2) ให้จังหวัดสกลนครแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตัวแทนสภาตำบล และตัวแทนราษฎรที่เดือดร้อน (ในสัดส่วนที่เท่ากัน) ออกไปตรวจสอบจัดทำแผนที่ แสดงบริเวณพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่าให้ชัดเจน แล้วรายงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งมอบให้ ส.ป.ก.นำไปปฏิรูปที่ดิน ต่อไป
3) การดำเนินการตามข้อ 2. พื้นที่สวนผ่าส่วนใด ที่ยังคงมีสภาพสวนป่า ให้จัดทำแผนที่แสดงขอบเขตให้ชัดเจนด้วย และให้จังหวัดสกลนครป้องกันดูแลรักษา ไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินอีกโดยเด็ดขาด
4) ให้ความเห็นชอบยกเลิกสวนป่า ในพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ตามข้อ 2. และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่กินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้น ส.ป.ก.ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการปลูกสร้างสวนป่า และค่าบำรุงรักษาสวนป่าให้กรมป่าไม้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2540--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้
1. คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจาแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนกลุ่มที่ 4 (กลุ่มปัญหาชุมชนแออัด)ตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายเรืองวิทย์ ลิกค์) ประธานการพิจารณาเสนอ ดังนี้
1.1 ปัญหาชุมชนแออัดคลองเตย ที่ประชุมมีมติ
1) ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมขึ้นมาพิจารณาโครงการพัฒนาคลองเตย ระยะ 3 ประกอบด้วยการเคหะแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง กระทรวงคมนาคม กระทรวงมหาดไทย นักวิชาการ ผู้แทนชุมชน จำนวน 10 คน ประกอบด้วย 1) คุณเปล่ง ศรีดาน้อย 2) คุณประเวศ คงสมบูรณ์ 3) คุณประทีป อึ้งทรงธรรม 4) คุณนิตยา พร้อมพอชื่นบุญ 5) คุณสันติ แซ่โง้ว 6) คุณทองสุข รักเผ่า 7) คุณอดิธร ศรีประเสริฐ 8) ผู้แทนชุมชนจากการเสนอของการท่าเรือแห่งประเทศไทย 3 คน
2) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายพินิจ จารุสมบัติ) รับไปพิจารณาประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย ฯลฯ ถึงการชะลอโครงการและจะแจ้งผลให้คณะกรรมการตามข้อ1) ทราบภายใน 2 สัปดาห์
3) ชาวบ้านในส่วนที่ตกค้างจากไฟไหม้ชุมชนร่มเกล้า 68 หลัง ให้การเคหะแห่งชาติ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และผู้แทนชาวบ้าน หารือเพื่อแก้ปัญหา 68 ราย ให้เรียบร้อยพร้อมกัน
4) ชุมชนปีนัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบให้การเคหะแห่งชาติ ทำหนังสือขอเช่าที่ดินบริเวณชุมชนปีนังจากการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อให้ชาวชุมชนเช่าอยู่อาศัยต่อไป
5) สนามกีฬา ให้การเคหะแห่งชาติทำหนังสือถึงกรุงเทพมหานคร เพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณปรับปรุงสนามกีฬา
6) การยกเลิกระเบียบคำสั่งว่าด้วยการจ่ายเงินกรณีไฟไหม้กรมประชาสงเคราะห์อยู่ระหว่างการประสานงานกับกระทรวงการคลัง และประธานขอให้กรมประชาสงเคราะห์ชี้แจงรายละเอียด และรับจะประสานกับกระทรวงการคลังให้ต่อไป
7) ชุมชนคลองเตยใน การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ดำเนินการปักผังแบ่งแปลงให้กับชาวชุมชนไว้จำนวน 103 แปลง พร้อมทั้งได้กันพื้นที่เพิ่มเติมให้ชุมชนสำหรับเป็นที่ทำการชุมชน จำนวนพื้นที่ประมาณ 30 ตรม. แล้ว และให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยส่งมอบพื้นที่ให้การเคหะแห่งชาติภายใน 2 สัปดาห์ เพื่อให้การเคหะแห่งชาติดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์
8) ชุมชนล็อค 1 - 3 มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จ่ายค่าอาหาร และค่าเครื่องครัว เงินทุนประกอบอาชีพ ค่าอุปกรณ์ก่อสร้างกับชุมชนล็อค 1 - 3 และชุมชนพัฒนาใหม่
1.2 ชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการรถไฟฟ้าโฮปเวลล์ ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
ชาวบ้านที่ยอมรับหลักเกณฑ์ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ให้การรถไฟแห่งประเทศไทยดำเนินการต่อไป สำหรับชาวบ้านในส่วนที่ไม่ยอมรับข้อเสนอของการรถไฟแห่งประเทศไทย ยืนยันข้อเสนอตามที่ได้เสนอมา คือ เสนอตามขนาดพื้นที่ โดยแบ่งเป็น 3 ขนาดพื้นที่ ดังนี้ บ้านขนาด 5 - 65 ตรม. ราคา 35,000 บาท บ้านขนาด 66 - 95 ตรม. ราคา 40,000 บาท บ้านขนาด 96 - 110 ตรม. ราคา 50,000 บาท และ มท. 2 นัดให้มีการเจรจานอกรอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทย และโฮปเวลล์ เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ตามข้อเสนอของชาวบ้านอีกครั้งหนึ่ง
1.3 ชุมชนแออัดเมืองเชียงใหม่
คณะกรรมการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดระดับท้องถิ่น ชาวบ้านเสนอให้มีตัวแทนจากศูนย์ประสานงานเมืองเชียงใหม่ 2 คน ชุมชนที่มีปัญหา 2 คน องค์กรเอกชน 1 คน และนักวิชาการ 1 คน ซึ่งรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ขอให้ชาวบ้านได้ส่งรายชื่อดังกล่าวให้ทางจังหวัดดำเนินการต่อไป
1) ชุมชนสันติธรรมทางรองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่เจรจากับกรรมการมัสยิดแล้ว ได้ชะลอการรื้อย้ายให้แล้ว และการเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินจำนวน 8 ไร่ ตามที่ชาวบ้านนำเสนอ และจะจัดทำโครงการให้ชาวบ้านได้เข้าอยู่อาศัยภายใน 1 ปี
2) ชุมชนเซ็นทรัล กลุ่มพื้นราบมีความต้องการจะย้ายไปอยู่กับชุมชนสันติธรรมในที่ดิน 8 ไร่ที่การเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อ รวมทั้งให้ชาวบ้านติดต่อเจ้าของที่ดินแปลงใกล้เคียงเพื่อการเคหะแห่งชาติจะได้จัดซื้อพร้อมกัน
3) ชุมชนป่าห้า ให้คณะกรรมการฯ ซึ่งได้ตั้งแล้ว พิจารณาเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน
1.4 ชุมชนที่มีปัญหาเรื่องทะเบียนบ้าน
1) กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการแจ้งให้ทุกเขตได้ดำเนินการออกทะเบียนบ้านให้ชาวบ้านแล้วสำหรับชุมชนที่ไม่สามารถออกทะเบียนบ้านได้ให้ทุกเขตสรุปเสนอกรุงเทพมหานครภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2540 และประธานให้กรุงเทพมหานครรายงานผลให้ทราบด้วย รวมทั้งประธานจะมีหนังสือเร่งรัดไปที่กรุงเทพมหานครด้วย
2) กรุงเทพมหานครจะมีการประชุมระดับผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการออกทะเบียนบ้านในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 เวลา 13.00 น. โดยมีรองปลัดกรุงเทพมหานคร (ร.ต.ต. เกรียงศักดิ์ฯ) เป็นประธาน จึงขอให้ชาวบ้านส่งตัวแทนชุมชนจากเขตพระโขนง เขตประเวศ และเขตคลองเตย เข้าร่วมประชุมด้วย
1.5 ชุมชนคลองสวน - อยู่ดี
1) การเคหะแห่งชาติจะดำเนินการจัดซื้อที่ดินบริเวณประชาอุทิศ 88 จำนวน 15 ไร่ และประธานฯ ได้ขอให้การเคหะแห่งชาติ และชาวบ้านได้ไปเจรจาต่อรองราคากับเจ้าของที่ดินอีกครั้งหนึ่ง
2) ตัวแทนชาวบ้านได้ให้ข้อสังเกตในการจัดทำโครงการที่มีขนาดเล็ก การดำเนินการของการเคหะแห่งชาติจะมีต้นทุนสูงกว่าการดำเนินการของกลุ่มสหกรณ์ เนื่องจากระบบภาษีที่ทางราชการต้องจ่ายเต็มจำนวน ค่าการจัดการ และอัตราดอกเบี้ย
1.6 ชุมชนใต้สะพาน
1) มอบให้การเคหะแห่งชาติจัดซื้อที่ดินหลังโครงการอ่อนนุช 40 ไร่ ให้ชุมชนใต้สะพานโซน 2 และโซน 3 โดยจะนำเข้าเสนอเข้าสู่การพิจารณาจัดซื้อที่ดินพร้อมที่ดินโซน 1 และโซน 4
2) สำหรับเรื่องน้ำประปาที่ชาวชุมชนใต้สะพานขอให้มีบริการน้ำประปา ทางการประปานครหลวงขอให้ชุมชนรวมกลุ่มขอมิเตอร์รวม โดยให้ชาวบ้านส่งตัวแทนชุมชนละ 1 คน พร้อมบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านไปยื่นขอ โดยเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งไม่เกิน 10,000 บาท และจะติดตั้งจำนวน 11 สะพาน ผู้แทนชุมชนรับทราบ และยอมรับภาระค่าใช้จ่ายสมทบอื่น ๆ
3) มท. 2 รับจะแจ้งกรมทางหลวง กรมโยธาธิการ ให้ชะลอการรื้อย้ายในสะพานโกวบ๊อ สะพานใหม่และสะพานเคแอลเอ็ม (KLM)
1.7 ชุมชนสี่พระยา
1) ให้กรมตำรวจชะลอการรื้อย้าย
2) ให้ตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อแก้ปัญหาการจัดหาที่อยู่ใหม่ โดยประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร(รองผู้ว่าฯ ประภาภัทร นิยม) เป็นประธาน ตัวแทนชาวบ้านสี่พระยา 3 คน ตัวแทนศูนย์รวมพัฒนาชุมชน 1 คน ตัวแทนชุมชนสหกรณ์เคหะสถาน 1 คน ตัวแทนการเคหะแห่งชาติ 1 คน ตัวแทนองค์กรพัฒนาเอกชน 1 คน ตัวแทนกรมธนารักษ์3 คน ตัวแทนกรมตำรวจ 1 คน ตัวแทนกรุงเทพมหานคร 1 คน ตัวแทนสำนักงานพัฒนาชุมชนเมือง 1 คน นักวิชาการ1 คน นักกฎหมาย 1 คน และมท. 2 จะประสานกับรัฐมนตรีที่กำกับดูแลกรมธนารักษ์อีกครั้ง เพื่อขอใช้พื้นที่ของกรมธนารักษ์
1.8 ชุมชนคลองลำไผ่
1) ให้กรุงเทพมหานครชะลอการรื้อย้าย
2) ให้ตั้งกรรมการเพื่อพิสูจน์กรรมสิทธิ์ และแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย ประกอบด้วย ตัวแทน กรุงเทพ-มหานคร 4 คน ประกอบด้วย ผู้แทนสำนักงานเขตมีนบุรี ผู้แทนสำนักพัฒนาชุมชน ผู้แทนกองกฎหมายและคดี และผู้แทนกองรังวัดที่ดินและที่สาธารณะ ตัวแทนการเคหะแห่งชาติ 1 คน ตัวแทนกรมชลประทาน 1 คน ตัวแทนกรมที่ดิน 1 คน นักวิชาการ 2 คน นักกฎหมาย 1 คน ตัวแทน พชม. 1 คน องค์กรพัฒนาเอกชน 1 คน องค์กรชาวบ้าน 1 คน ผู้แทนชาวชุมชน 3 คน
2.คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบผลการเจรจากลุามปัญหาป่าไม้และที่ดินจำนวน4 เรื่องตามที่รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายประวัฒน์ อุตตะโมต) ประธานการพิจารณาปัญหาของกลุ่มที่ 1 ปัญหาป่าไม้และที่ดิน เสนอ ดังนี้
2.1 กรณีสวนป่ายูคาลิปตัส และหมู่บ้านป่าไม้ ซำจำปา อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่นผลการเจรจา
1) ให้จังหวัดขอนแก่น และสำนักงานป่าไม้เขตขอนแก่น เร่งรัดตรวจสอบพื้นที่จัดหมู่บ้านไม้ โครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง ป่าดงลาน จังหวัดขอนแก่น ให้แล้วเสร็จ เพื่อกรมป่าไม้มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตกรกรรม ภายใน 6 เดือน
2) กรณีราษฏร 8 ราย ที่ถูกสวนป่ายูคาลิปตัสทับที่ทำกิน (บ้านหนองหญ้าปล้อง 6 ราย บ้านนาอุดม 2 ราย) ให้ ส.ป.ก. ดำเนินการสอบสวนสิทธิ และจัดหาที่ทำกิน หรือกรมป่าไม้เสนอคณะรัฐมนตรี ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายค่าชดเชยให้ราษฎร
2.2 กรณีสวนป่าดงเค็ง อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยคณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินงบกลาง ให้ราษฎรฟื้นฟูสภาพสวนป่าดงเค็ง อัตราไร่ละ 3,000 บาท เนิ้อที่ 2,857 ไร่ (ตามที่ราษฎรแจ้ง) รวมเป็นเงิน 8,571,000 บาท และ ให้กรมป่าไม้รับผิดชอบดูแลการดำเนินการปลูกฟื้นฟูสภาพสวนป่าให้เป็นป่าธรรมชาติ และจัดการเรื่องการใช้จ่ายเงินงบประมาณให้กับราษฎรอย่างมีประสิทธิผล รวมถึงทำความตกลงกับราษฎรในการดำเนินการฟื้นฟูสภาพสวนป่า โดยให้สิทธิคณะกรรมการชาวบ้านมีส่วนร่วมในการดูแลรักษา และใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2.3 กรณีสวนป่าไม้บ้านนาอ่าง ตำบลนาตาล อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบดำเนินการตามความเห็นของจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือจังหวัดสกลนคร ด่วนที่สุด ที่ สน 0009/19700 ลงวันที่ 5 กันยายน 2538
2) ให้จังหวัดแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตัวแทนสภาตำบล และตัวแทนราษฎรที่เดือดร้อน (ในสัดส่วนที่เท่ากัน) ออกไปตราวจสอบจัดทำแผนที่แสดงบริเวณพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ให้ชัดเจน แล้วรายงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งมอบให้ ส.ป.ก.นำไปปฏิรูปที่ดิน ต่อไป
3) การดำเนินการตามข้อ 2. พื้นที่สวนป่าส่วนใด ที่ยังคงมีสภาพสวนป่า ให้จัดทำแผนที่แสดงขอบเขตให้ชัดเจนด้วย และให้จังหวัดสกลนครป้องกันดูแลรักษา ไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินอีกโดยเด็ดขาด
4) ให้ความเห็นชอบยกเลิกสวนป่า ในพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ตามข้อ 2. และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่กินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้น ส.ป.ก.ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการปลูกสร้างสวนป่า และค่าบำรุงรักษาสวนป่าให้กรมป่าไม้
2.4 กรณีสวนป่ายูคาลิปตัส บ้านสร้างค้อ กิ่งอำเภอภูพาน จังหวัดสกลนคร
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1) ให้ความเห็นชอบดำเนินการตามความเห็นของจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือจังหวัดสกลนคร ด่วนที่สุด ที่ สน 0009/22029 ลงวันที่ 9 ตุลาคม 2538
2) ให้จังหวัดสกลนครแต่งตั้งคณะกรรมการ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ป่าไม้เขต ป่าไม้จังหวัด ปฏิรูปที่ดินจังหวัด ตัวแทนสภาตำบล และตัวแทนราษฎรที่เดือดร้อน (ในสัดส่วนที่เท่ากัน) ออกไปตรวจสอบจัดทำแผนที่ แสดงบริเวณพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่าให้ชัดเจน แล้วรายงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อส่งมอบให้ ส.ป.ก.นำไปปฏิรูปที่ดิน ต่อไป
3) การดำเนินการตามข้อ 2. พื้นที่สวนผ่าส่วนใด ที่ยังคงมีสภาพสวนป่า ให้จัดทำแผนที่แสดงขอบเขตให้ชัดเจนด้วย และให้จังหวัดสกลนครป้องกันดูแลรักษา ไม่ให้ราษฎรเข้าไปบุกรุก ยึดถือครอบครองที่ดินอีกโดยเด็ดขาด
4) ให้ความเห็นชอบยกเลิกสวนป่า ในพื้นที่สวนป่าที่หมดสภาพสวนป่า ตามข้อ 2. และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. นำไปปฏิรูปที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่กินเพื่อเกษตรกรรม โดยยกเว้น ส.ป.ก.ไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยการปลูกสร้างสวนป่า และค่าบำรุงรักษาสวนป่าให้กรมป่าไม้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ)--วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2540--